กิจกรรมคำถามท้ายบท บทที่ 1
1.สืบคันจากหนังสือหรือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่องการพัฒนามนุษย์ การศึกษา
การเรียนรู้และหลักสูตร
ตอบ เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่เน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและก็ขยายไปถึงพัฒนาสังคม เป็นการมองอย่างเป็นทุน เป็นเครื่องมือ เป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบที่จะใช้ในการพัฒนาสังคม ซึ่งต่อมาเราเห็นว่าการพัฒนาโดยมุ่งเน้นเศรษฐกิจนั้นไม่ถูกต้อง สิ่งสำคัญคือ คนเรานี่เองซึ่งควรจะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ดังนั้นเราจึงควรหันมาเน้นเรื่องการพัฒนาคน การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ มีความหมายต่อการศึกษาเพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคนเป็นการฝึกอบรมคนให้มีความสามารถใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ มุมมองใหม่
ตอบ เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่เน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและก็ขยายไปถึงพัฒนาสังคม เป็นการมองอย่างเป็นทุน เป็นเครื่องมือ เป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบที่จะใช้ในการพัฒนาสังคม ซึ่งต่อมาเราเห็นว่าการพัฒนาโดยมุ่งเน้นเศรษฐกิจนั้นไม่ถูกต้อง สิ่งสำคัญคือ คนเรานี่เองซึ่งควรจะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ดังนั้นเราจึงควรหันมาเน้นเรื่องการพัฒนาคน การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ มีความหมายต่อการศึกษาเพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคนเป็นการฝึกอบรมคนให้มีความสามารถใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ มุมมองใหม่
การศึกษา การเรียนรู้
การศึกษาในซานะที่เป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์มุ่งจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การดำเนินการภายในเวลาที่จำกัด
เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เกิดความสำเร็จและเจริญเติบโตของงาน
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553
มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นการย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งร่างกาย สติปัญญา ความรู้และมีคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หลักสูตร แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า curriculum มาจากรากศัพท์มาจากภาษาละตินที่ว่า currere หมายถึง
running course หรือเป็นเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง
การที่เปรียบหลักสูตรกับสนามหรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งอาจเนื่องจาการที่ผู้เรียนจนสำเร็จการศึกษาในระดับใดหรือหลักสูตรใด
ผุ้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชาหรือประสบการณ์การเรียนรู้ตามลำดับขั้นที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
เช่นเดียวกับนักวิ่งที่ต้องวิ่งแข่งและฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่ชัยชนะและความสำเร็จได้
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากสุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร:นิยาม ความหมาย”
ตอบ ความหมายของหลักสูตรมีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ หลักสูตร ” แตกต่างกันออกไป ดังนี้
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 95) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรไว้ว่า
หลักสูตร (Curriculum) มีรากศัพท์จากภาาาลาตินว่า
“race - course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เนื่องมาจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญืที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำรวชีวิตอยู่ในสังคมแห่งอนาคต
และในปัจจุบัน ความหมายของหลักสูตรหมายถึง
มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ
ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทาบา (Taba 1962: 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงเอกสารที่จัดทำขึ้น
เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ
กิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย
การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ
แผนงานหรือโครงการในการจัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน โดยแผนงานต่างๆ
จะระบุเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ระบุไว้
มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย ดังนั้น หลักสูตรเป็นได้ทั้งหน่วยการเรียน รายวิชา
หรือ หัวข้อย่อยในรายวิชา ทั้งนี้แผนงานหรือโครงการดังกล่าว
อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียน ภายใต้การบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา
จากการศึกษา นิยาม “ หลักสูตร ” สรุปได้ว่า “หลักสูตร (Curriculum) ” หมายถึง
ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้
ซึ่งจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. หลักสูตรเป็นผลผลิตในรูปแบบ
เอกสาร สื่ออิเล็คทรอนิกส์ หรือมัลติมีเดียเป็นต้น
2. หลักสูตรเป็นโปรแกรมการศึกษา
โดยปกติเขียนในรูปแบบหลักสูตรรายวิชา
การจัดลำดับของมาตรฐานในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
3. หลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อการเรียนรู้
จะบอกจุดหมาย เนื้อหาสาระ มโนทัศน์ หลักการทั่วไป และผลการเรียนรู้
4. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน
มีกิจกรรม ทั้งทีมีการวางแผนและไม่ได้วางแผนไว้
5. หลักสูตรแฝง
ไม่ได้เป็นหลักสูตรโดยตรง แต่จะเป็นสิ่งใดหรืออะไรก็ตาม
ที่ผู้เรียนเรียนรู้ที่ไม่ได้วางแผนไว้ หรือถึงแม้จะไม่ได้เป็นความคาดหวังไว้
แต่เป็นไปได้
ที่มา: สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร:
ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
3.อุปมาอุมัย : เมื่อการศึกษาเปรียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์
หลักสูตรเปรียบได้กับสิ่งใด
ตอบ หลักสูตรเปรียบเสมือนสายน้ำ น้ำเปรียบเสมือนความรู้ สายน้ำมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา สายน้ำแยกย่อยเป็นแม่น้ำหลายสาย สายน้ำแยกย่อยเป็นคูคลองมากมาย สายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปตามสภาพภูมิประเทศและเหตุการณ์ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้น้ำก็จะพบว่ามีความเจริญงอกงามดี สภาพพื้นที่ ที่ต่างกันมีความจำเป็นที่ต้องการน้ำต่างกันด้วยเช่นกัน สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากรูปแบบทางธรรมชาติ สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ มนุษย์ขุดคลองเพื่อใช้ทำการเกษตร มนุษย์รู้จักการทำชลประทาน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานหรืออย่างไร มนุษย์รู้จักการจัดการกับระบบเพื่อให้ระบบจัดการกับตนเองและได้ประโยชน์สูงสุด ระบบในการจัดการนี้จึงเปรียบเสมือนหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากความต้องการจำเป็นในเหตุผลต่างๆนานาประการ
ตอบ หลักสูตรเปรียบเสมือนสายน้ำ น้ำเปรียบเสมือนความรู้ สายน้ำมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา สายน้ำแยกย่อยเป็นแม่น้ำหลายสาย สายน้ำแยกย่อยเป็นคูคลองมากมาย สายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปตามสภาพภูมิประเทศและเหตุการณ์ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้น้ำก็จะพบว่ามีความเจริญงอกงามดี สภาพพื้นที่ ที่ต่างกันมีความจำเป็นที่ต้องการน้ำต่างกันด้วยเช่นกัน สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากรูปแบบทางธรรมชาติ สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ มนุษย์ขุดคลองเพื่อใช้ทำการเกษตร มนุษย์รู้จักการทำชลประทาน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานหรืออย่างไร มนุษย์รู้จักการจัดการกับระบบเพื่อให้ระบบจัดการกับตนเองและได้ประโยชน์สูงสุด ระบบในการจัดการนี้จึงเปรียบเสมือนหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากความต้องการจำเป็นในเหตุผลต่างๆนานาประการ
เราอาจเรียกต่างกันว่าสายน้ำ ลำน้ำ คูน้ำ
ห้วย หนอง คลอง บึง
ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นสิ่งใดก็ตาม
แต่ก็จะประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญก็คือน้ำ
น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต หากเปรียบดั่งความรู้
ความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต ซึ่งหากปราศจากความรู้ ชีวิตคงไม่สามารถก้าวเดินไปเบื้องหน้าได้อย่างมั่นคง
หลักสูตรเป็นดั่งสายน้ำที่จัดรูปไปตามริ้วขบวนที่ความต้องการทางธรรมชาติเป็นผู้กำหนด
สายน้ำแต่ละสายลดเลี้ยวไปในที่ๆต่างกันไปตามแรงสภาวะของธรรมชาติ
คล้ายกับการออกแบบหลักสูตรเพื่อเป็นไปตามความต้องการของเป้าประสงค์ อาทิ
การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือการเรียนรู้แบบสังคมเป็นศูนย์กลางเป็นต้น
เมื่อธรรมชาติได้กำหนดทิศทางของสายน้ำแล้ว
น้ำที่ไหลเรื่อยไปจึงถูกนำไปใช้เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุด
การนำหลักสูตรไปใช้หรือการที่น้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์จึงอยู่ในมิติความหมายเดียวกัน
เมื่อถึงขั้นตอนแห่งการประเมินผล
ในทางหลักสูตรอาจดูจากผลที่ได้จึงสามารถประเมินค่าในการใช้หลักสูตรนั้นๆออกมาได้ หากแต่การเปรียบประเมินผลถึงสายน้ำแล้วคงไม่พ้น
ดอก หรือผลของต้นไม้ในธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ต้นไม้แต่ละต้นยังเปรียบเสมือนผู้เรียนแต่ละคน
ต้นที่รับน้ำน้อยอาจมีลำต้นไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดลักษณะบกพร่องไป
นอกเสียจากว่าต้นไม้บางประเภทอาจมีความต้องการบางอย่างที่ต่างออกไป
แต่อย่างไรก็แล้วแต่คงไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ
เพียงแต่มากน้อยต่างกันไปตามองค์ประกอบของตนเท่านั้น
บทสรุปของการอุปมาอุปมัย
จากที่กล่าวมาข้างต้นสายน้ำสามารถเปรียบได้ถึงหลักสูตรที่จะนำพาน้ำอันเปรียบเสมือนความรู้ที่ถูกจัดอยู่ในกรอบกำหนดของขอบเขตสิ่งที่ไหลไปอย่างเป็นระบบมีและจุดหมายปลายทาง
การออกแบบจะเป็นไปตามความต้องการของสภาพแวดล้อมและความต้องการนั้นๆ
ส่วนการประเมินผลสามารถรับรู้ได้จากผลของพืชและสิ่งมีชีวิตที่ได้ประโยชน์จากน้ำและสายน้ำนี้
หากมีความอุดมสมบูรณ์ดีหรือมีความผิดปกติบางประการอาจตรวจสอบได้จากน้ำที่ให้ประโยชน์หรือตรวจสอบจากดินและสภาพแวดล้อมรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขไปตามความถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความเจริญงอกงามนั่นเอง
สายน้ำ เปรียบเสมือน หลักสูตร
น้ำ เปรียบเสมือน
ความรู้
พืชพรรณและสิ่งมีชีวิต เปรียบเสมือน
ผู้เรียน
ดอกผลที่ได้ เปรียบเสมือน ผลที่ได้จากการประเมิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น