วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปสิ่งที่ได้จากวีดีโอ สัปดาห์ที่1





สรุปจากการดู VDO คิดยกกำลังสองทักษะแห่งโลกอนาคต

การเรียนแบบท่องจำและการเรียนเพื่อรู้แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียวนั้นจะใช้ไม่ได้กับยุคสมัยนี้เนื่องมาจาก AIหรือปัญญาประดิษฐ์ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั่งแต่สาขาการวิจัย AI ก่อตั้งขึ้นในวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ (Dartmouth College)ในช่วงฤดูร้อนของปีค.ศ.1956 ซึ่งในยุคนั้นมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ จนกระทั่งมาถึงยุคนี้ AI มีความสามารถที่เหนือกว่ามนุษย์ก็ว่าได้ เป็นสาเหตุที่ทักษะของมนุษย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป ทักษะเก่าถือว่าล้าสมัยไป AIสามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้อย่างไม่ยากเพื่อทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้และดูเหมือนว่าจะทำได้ดีกว่ามนุษย์อีกเสียด้วย
ดิฉันจะยกตัวอย่าง AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถต่างๆ ให้ผู้อ่านได้อ่านแบบคราวๆกันนะคะ
 
Alphago ZeroและAlphaZero  นี้คือชื่อของ AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Alphabet Inc.’s Google DeepMind in London. เป็น AI ที่มีทักษะด้านการเล่นหมากล้อม ซึ่งแฝงตัวเข้าไปแข่งขันหมากล้อม ซึ่งสามารถเอาชนะมนุษย์ที่เก่งที่สุดได้



     
Chinookเป็นชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่ถึงขั้นปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาในช่วงปีค.ศ.1989-2007ที่มหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตา โดยคณะของ Jonathan SchaefferและPaul Lu Martin Bryant,Norman Treloar. ซึ่งมีทักษะการเล่นเกมหมากรุกฝรั่งและยังสามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันหมากรุกระดับโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย


ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่เสี้ยวเดียวของปัญญาประดิษฐ์และผลที่จะตามมาเพราะการเจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีนั้น จะทำให้เกิดงานใหม่ๆขึ้นในโลกใบนี้ ฉะนั้นการเตรียมตัว “เพื่องานที่ยังไม่เกิดโดยใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิดเพื่อแก้ปัญหางานที่ยังไม่รู้” นี้เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับคนยุคใหม่อย่างเราๆมากที่เดียว ฉะนั้นการเรียนการสอนในยุคใหม่จำเป็นต้องสอนให้เด็กรู้จัก “การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” ก็คือการเรียนรู้ตั่งแต่เด็กจนไปถึงวัยชรา และนำไปใช้ได้จริง

สำหรับทักษะแห่งสตวรรษที่21 คือ  
            ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
          ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
          ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
          ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
          ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
        ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        ความรู้ด้านสารสนเทศ
        ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
    ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
    การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
    ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
    การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
    ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
    7C ได้แก่ 
        Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
        Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
        Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
        Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
        Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
        Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
        Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21  ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต


การเตรียมตัวของคนในยุคต่อไปที่จะศึกษาและพัฒนาไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง โดยคนที่เตรียมพร้อมจะต้องมีหลักการเรียนรู้ หลักการคิด โดยอาศัยหลักการ4I ดังนี้
 

        1. Imagination (จินตนาการ) คือการสร้างภาพขึ้นในใจ
        2.Inspiration (แรงดลใจ) คือสิ่งที่ทำให้มีแรงขับเคลื่อน
        3.Insight (ความเข้าใจลุ่มลึก) คือ รู้อย่างลึกซึ้ง
        4.Intuition (ญาณทัศน์) คือ ความรอบรู้จัดเจน สามารรู้โดยอัตโนมัติ


ซึ่งการเรียนในยุคต่อไปต้องอาศัยทักษะเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือหรือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะผลักการศึกษาให้มีความทันสมัย และต้องอาศัยทักษะแห่งโลกอนาคตควบคู่ไปด้วยนั่นก็คือ ASK
 




 
สรุปความรู้ที่ได้รับ

การให้การศึกษาในศตวรรษที่21 เป็นการศึกษาที่ให้ความยืดหยุ่น สร้างสรรค์และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยสิ่งที่ท้าทายและปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น  โรงเรียนในศตวรรษที่21 เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง และไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครูและนักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้และเป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้และต้องการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น

       ; http://pirun.ku.ac.th/~feduirt/?page_id=373







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...