ความหมายของหลักสูตร
วิชัย
วงษ์ใหญ่
|
กาญจนา คุณารักษ์
|
กู๊ด (Good)
|
ทาบา
|
สังเคราะห์ของน.ส. สุกัญญา สาเส็ง
|
วิชัย วงษ์ใหญ่
หลักสูตร (Curriculum)มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า
“race-course” หมาย ถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข็งขัน เนื่องมาจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม แห่งอนาคต
และในปัจจุบัน ความหมายของหลักสูตรหมายถึง
มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ
รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ
ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
|
กาญจนา
คุณารักษ์ หลัก สูตรคือ โครงการหรือแผน หรือข้อกำหนด
อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง
กิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ เกิดความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ในสังคม
และในโลกอย่างมีคุณภาพและอย่างมีความสุข
|
กู๊ด (Good ) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้
3 ประการ ดังนี้ คือ
1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง 2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป 3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา |
ทาบา กล่าวว่า
หลักสูตรหมายถึงเอกสารที่จัดทำขึ้น
เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระกิจกรรม หรือประสบการณ์เรียนรู้
และประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย
การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้
|
หลักสูตร หมายถึง โครงสร้างของเนื้อหาวิชา
หรือประสบการณ์ต่างๆ หรือศาสตร์ต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้
ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น