2.การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77)
ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design
theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Curriculum design)
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่
จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
โบแชมพ์
ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการคือเนื้อหาสาระและวิธีการจัดจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอนและการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร
Zais
(1976:431-437) ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2 แบบคือหลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม
(Humanistic design)
หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ4ทางได้แก่ความมีเหตุผล(Rationalism)จะนำไปสู่การค้นพบความจริงการสังเกต(Empiricism)รับรู้จากการมองการได้กลิ่น การได้ยิน การได้สัมผัสฯลฯ
สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าวก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ
และความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจ (Authoritarianism)เช่นความเชื่อในทางศาสนาความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์ผู้รู้ได้กล่าวไว้เป็นต้นส่วนหลักสูตรมนุษยนิยมก็มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรเพื่อความหลุดพ้นแต่การจัดหลักสูตรแบบนี้จะมุ่งเน้นเนื้อหาสาระมากกว่ากระบวนการการจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหาสาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร(Curriculum engineering)
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง
กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่การสร้างหรือจัดทำหลักสูตรกันได้มากที่สุดการใช้หลักสูตรและการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตรหลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบได้แก่รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ
และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลัก
ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มีหลักเกณฑ์หลักการและระบบมากยิ่งขึ้นเช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร
และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร
การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น