วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การพัฒนาหลักสูตร



3.การพัฒนาหลักสูตร


              การพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทำนั้นมีเป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม วัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ กิจกรรมทั้งในทั้งนอก  ห้องเรียน การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
              การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือก การเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้ นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ อย่างละเอียด และรอบคอบก่อน ตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ การพัฒนาหลักสูตรมีข้อควรคำนึงหลายประการที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องหาคำตอบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจจัดทำหลักสูตร Tyler (1949) ได้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
                   1. จุดมุ่งหมายการศึกษาของโรงเรียน คืออะไร?
                   2.การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาของโรงเรียนนั้น ต้องใช้ประสบการณ์การศึกษาอะไร?
                   3. ประสบการณ์การศึกษาดังกล่าวจะจัดอย่างไร?
                   4. คุณภาพของหลักสูตรได้มาอย่างไร?
              สำราญ คงชะวัน (2456: 13-14) ได้สรุปว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน (Marsh and Willis. 1995:129)
              การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ระยะเวลา ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดำเนินการได้ทุกระยะเวลา และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสม และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน
              บุญชม ศรีสะอาด (2546: 21-46) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรว่าต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
              1. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical foundation) อิทธิพลขอพื้นฐานดังกล่าวมี                    2 ลักษณะ
                   - หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบ และแนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
                   - ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตรใหม่
              2.  พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical foundation) ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตร เนื่องจากปรัชญามีส่วนในการช่วยกำหนดจุดประสงค์และการจัดการสอน ซึ่งมีแนวปรัชญาต่างๆ มากมาย
                   - ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism) เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ ทักษะ อุดมการณ์ที่เป็นแกนกลาง หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่ หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบสหสัมพันธ์ (Broadfields curriculum)
                   - ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้เหตุผล การตัดสินแยกแยะ และความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า การจัดหลักสูตรจึงเน้นความสำคัญของวิชาพื้นฐานได้แก่ การอ่าน เขียน และการคิดคำนวณ
                   - ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์ ผู้สอนแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
                   - ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เน้นเรื่องชีวิตและสังคม ได้แก่ หลักสูตรที่ยึดหลักสังคมและการดำรงชีวิต (Social process and life function curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core curriculum)
                   - ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกำหนดของชีวิตของตนเองได้แก่ หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด
              3. พื้นฐานจากสังคม (Sociogical foundation) หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุด สมาชิกในสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน รากฐานทางสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทำให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
              4. พื้นฐานจากจิตวิทยา (Psychologial foundation) จิตวิทยามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการสอน โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้
                    4.1 จิตวิทยาพัฒนาการ การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล         วุฒิภาวะทางกาย พัฒนาการ และ สัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผลการวิจัยของนักทฤษฎีพัฒนาการ Hevighurst development theory กล่าวว่า งานพัฒนาการแต่ละวัยนั้น ถ้าหากประสบความสำเร็จในการพัฒนาในงานใด ก็จะทำให้มีความสุขและส่งผลต่อความสำเร็จในงานต่างๆ มาก ทฤษฎีพัฒนาการ Eriksons psychosocialtheory ที่เชื่อว่าพัฒนาการแต่ละชั้นถ้าได้รับการส่งเสริมตามต้องการจะเกิดความพึงพอใจและมั่นใจ สามารถพัฒนาการขั้นตอนต่อไปได้อย่างสมบูรณ์เป็นผลให้มีบุคลิกภาพดี แต่ถ้าขั้นใดไม่ได้รับการส่งเสริมจะเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พึงพอใจและเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา Cognitive development theory ที่เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึงวัยที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์
                   4.2 จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมการสอน ทฤษฎีที่สำคัญ ได้แก่
                        - ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีการเสริมแรง และทฤษฎีเงื่อนไข นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner
                        - ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญมากจะต้องมาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีมนุษย์นิยม
                        - ทฤษฎีผสมผสาน (lntegrated theory) มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม
                        - ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ Bloom เป็นทฤษฏีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และ คุณลักษณะของแต่ละคน
              5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่างๆ (Disciplines of knowledge foundations) ความรู้ของวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งความรู้ทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ (Concept) และวิธีการของวิชานั้นๆ
              นักวิทยาการด้านหลักสูตรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งรูปแยกการพัฒนาหลักสูตรแต่ละรูปแบบ ไม่ว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือการนำหลักสูตรเก่ามาพัฒนา  ประกอบด้วยขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันพอสรุปเป็นขั้นตอน (ยุทธนา ปฐมวรชาติ. 2545 : 15-18 ; Saylor and Aleylor and Alexander. 1974 : 6) ดังนี้ การออกแบบและการสร้างหลักสูตร (การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดทำรายละเอียดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้กำหนดเวลา (การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินหลักสูตร Tyler (1949 : 1) ได้กำหนดกระบวนการวางแผนหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อผู้เรียน โดยเสนอแนะว่าสิ่งที่ต้องคำนึงในการวางแผนหลักสูตร อะไรคือจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาปฏิบัติ? ทำอย่างไรจึงจัดประสบการณ์การศึกษาให้สอดคล้องกับจุดหมายมุ่งกำหนดไว้? ทำอย่างไรจึงจะจัดการประเมินประสบการณ์การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ?
              Taba (1962 : 345-425) ได้เสนอรูปแบบการวางแผนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนตามความเชื่อเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันโดยกำหนดกระบวนการวางแผนพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอนดังนี้
                   1. การวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียน ต้องเริ่มจากการค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดยวิเคราะห์ช่องว่าง จุดบกพร่องและหลังของผู้เรียน
                   2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย หลังจากวิเคราะห์หาความต้องการของผู้เรียนแล้ว ผู้วางแผนพัฒนาหลักสูตร ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยใช้คำว่าเป้าหมายหรือจุดหมาย
                   3. การเลือกเนื้อหา เนื้อหาที่กำหนดในแต่ละหัวข้อจะต้องมาจากจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
                   4. การเรียงลำดับเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ จะต้องตัดสินใจว่าจะจัดลำดับเนื้อหาอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ความพร้อม และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
                   5. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้วางแผนหลักสูตรจะต้องเลือกหรือกำหนดวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้
                   6. การเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องหาวิธีการที่จัดและเรียงลำดับให้กิจกรรมการเรียนรู้ผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
                   7. การกำหนดรู้แบบการประเมินผลและแนวทางในการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงการบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น รู้แบบการประเมินที่ดี คือ การที่ครูผู้สอนใช้เทคนิควิธีการหลายวิธีเหมาะกับผู้เรียน
              Stenhouse (1975 : 4-5) ได้เสนอหลักการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 4 ประการ ดังนี้
                   1. การเลือกเนื้อหา (Selec tof cotent) เป็นการคัดเลือกเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตร
                   2. การกำหนดยุทธวิธีการสอน (Teaching strategy) เป็นการกำหนดว่าจะทำวิธีการสอนด้วยวิธีใดและมีกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการใด
                   3. การเรียงลำดับเนื้อหา (Make decisionse about seqence) เป็นการนำเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตร มาเรียงลำดับก่อนหลังอย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
                   4. การพิจารณาจุดอ่อนจุดแข็งของผู้เรียนรายบุคคลและหลักการที่กำหนดมาแล้ว (Diagnose the strengths and weakness of individual students and general principles)
              ชูศรี สุวรรณโชติ (2542: 97-99) ได้หาแนวคิดกระบวนการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้
                   1. การศึกษาปัญหาหรือกำหนดปัญหา เป็นขั้นแรกของการวางแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตรซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรต้องรู้ถึงสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมในทุกๆ ด้าน
                   2. การกำหนดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา เป็นสิ่งที่ช่วยในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแน่นนอน ข้อมูลที่กำหนดจะต้องเป็นข้อมูลที่สนองตอบปัญหาที่ได้รับจากการศึกษา
                   3. การกำหนดสมมุติฐาน การวางแผนพัฒนาหลักสูตรทุกครั้งต้องกำหนดสมมุติฐานไว้เสมอว่า หลักสูตรจะต้องพัฒนาจะบังเกิดผลอย่างไรต่อผู้เรียน สมมุติฐานของการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นทางบวกมากกว่าทางลบ
                   4. การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเป็นขั้นตอนที่ต้องกำหนดการพัฒนาหลักสูตรโดยกำหนดกระบวนการตั้งแต่ต้นจนสำเร็จลุล่วง ขั้นตอนเหล่านี้ต้องกำหนดเวลาที่แน่นอน
                   5. การเลือกบุคลากรมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ผู้กำหนดแผนต้องกำหนดตัวบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี


แบบจำลองการพัฒนา

 SU Model
    SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3ประการ คือ 1 พื้นฐานทางปรัชญา 2.พื้นฐานทางจิตวิทยาและ3.พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3ด้าน ได้แก่
ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
  ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆสี่ภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
 - ขั้นตอนที่หนึ่ง คือ การวางแผนหรือ Planning ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
 ขั้นตอนที่สอง คือ การออกแบบหรือ Design ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
            - ขั้นตอนที่สาม คือ การจัดการหลักสูตรหรือ Organize ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner)ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
 - ขั้นตอนที่สี่ คือ การประเมินหรือ Evaluate ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม



 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...