วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

 ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
        
            ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
                  ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
             1.นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ

              2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ

              3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์

              4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ

             5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร

หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
                         - หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
                         - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
                         - หน่วยนิเทศและประสานงาน
                         - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
                         - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน

การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
            เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ

1. เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น

2.เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อให้เกิดความภูมิใจ

3.เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น

4. เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น

     วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน

              1. สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น

ตัวอย่าง: จังหวัดนครพนม

1. จุดเด่นของจังหวัดนครพนมที่จะมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้

            1) ภาคภูมิศาสตร์ เป็นจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว และใกล้กับประเทศเวียตนาม

            2) ประวัติศาสตร์ จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง ได้ถูกเปลี่ยนเป็น "มรุกขนคร" และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครพนม" แขวงคำม่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่

3) ศาสนา มีศาสนาสำคัญ คือ ศาสนาพุทธ คริสต์ ที่ทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติ

            4) สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่นๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู  พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้  5) คำขวัญ ได้แก่: พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภางามตาฝั่งโขง

5) ต้นไม้ประจำจังหวัด: กันเกรา (Fagraea fragrans)

              2. นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ใดตัวอย่างจังหวัดนครพนม

         สาระการเรียนรู้                               เนื้อหาท้องถิ่น เช่น
1. ภาษาไทย                                           ภาษา 7 ชนเผ่า
 2. คณิตศาสตร์                                       การคำนวณประชากร
 3. วิทยาศาสตร์                                      วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าต่างๆ
4. สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม                  วัฒนธรรมของคน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ                    
5. สุขศึกษา พลศึกษา                               คุณค่าทางโภชนาการ
6. ศิลปะ                                              การทอผ้ามัดหมี่ ลายผ้าทอ
7. การงาน อาชีพ และเทคโนโลยี                 เน้นอาชีพของคนนครพนม การเกษตร
8. ภาษาต่างประเทศ                                ภาษาอังกฤษ

3. นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น

            ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เมื่อสอนเรื่อง ตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา

            ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นมีกี่อาชีพ อะไรบ้าง มีผู้ทำร้อยละเท่าไร

            ค) ใช้เป็นโครงงาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข

            ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข

            จ) ใช้เป็นประเด็น ให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น นครพนม แปลว่า มีลักษณะอย่างไร มากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้างหรือไม่ ถ้าสูญหายทำไมจึงสูญหายไป

            ฉ) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น พระธาตุต่างๆ

สรุป(Summary)
              การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ในที่นี้เป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ใช้ข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กล่าวคือ  การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น มาบูรณาการการจัดกระบวนการทางการศึกษาการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวางแผนพัฒนาหลักสูตรจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ หลักสูตรเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อนแล้วว่ามีผลต่อการใช้ปัจจุบันอย่างไรหากหลักสูตรเดิมไม่สนองต่อความต้องการของสังคมและผู้เรียนในปัจจุบันอันจะส่งผลไปสู่อนาคตเพื่อการผลิตคนสู่อนาคตแล้วก็ให้นำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวางแผนสร้างหลักสูตรใหม่

การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น  เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจและจัดทำข้องมูลเกี่ยวกับบุคลากร  องค์กรทางสังคม  แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเนื้อหาต่างๆ ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  ครูอาจจะพาผู้เรียนไปศึกษาและฝึกการทำงานในสถานที่จริงที่บ้านหรือ หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น  ครูอาจจะเชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ  หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆ มาเป็นวิทยากรในโรงเรียน   การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน  จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความแปลกแยกกับท้องถิ่น  สามารถนำเนินชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงรอบๆ ตัว  การเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นการประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน  เป็นการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาการศึกษาและท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตามความต้องการและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน



หลักการจัดหาแหล่งการเรียนรู้



หลักการจัดหาแหล่งการเรียนรู้
           
ในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีแหล่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป  การจัดหาแหล่งการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน  มีหลัก 6 ประการดังนี้ (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสำนักงาน 2524 :9-10)

            1.ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนควรเหมาะสมกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาชีพหลักของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจเป็นต้น

            2.ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อ แหล่งการเรียนรู้ที่ดี ต้องเป็นแหล่งที่เดินทาง  ไปมา และสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า
           3.ความประหยัดและประโยชน์ การใช้แหล่งเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงเวลาและเงินที่ต้องใช้ในการดำเนินการและประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับด้วย ถ้านำมาใช้แล้วเสียเงินและเวลามากแต่ได้ประโยชน์น้อยก็ไม่สมควรใช้ เช่น พาไปศึกษาที่ซึ่งห่างไกลจากโรงเรียนมาก ครูและนักเรียนต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก ทำให้นักเรียนเหนื่อยจึงไม่มีความสนใจเท่าที่ควร

           4.ความเหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่สลับซับซ่อนนัก หรือให้ดูโดยรวม ไม่ต้องดูส่วนย่อยๆ เช่น พาไปดูโรงงานทอผ้าควรให้ดูเกี่ยวกับ สถานที่ วัตถุดิบ และผลผลิต ไม่ควรดูกระบวนการผลิต นอกจากนี้ วิทยากรควรใช้ภาษาง่ายๆ ที่เด็กในวัยนี้เขาใจได้ดี

            5.ความปลอดภัยและความถูกต้อง หมายถึง ความปลอดภัยทั้งในการเดินทาง ในขณะศึกษาหาความรู้ และในการนำไปใช้ด้วย   ส่วนความถูกต้องนั้น หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องถูกต้อง ตรงตามหลักวิชา

            6.ความรู้และประโยชน์ที่หลากหลากหลาย  เช่น  พานักเรียนไปดูการทำและจำหน่ายเครื่องจักสาน  นักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวัสดุดิบที่ใช้  กระบวนการผลิต  รูปแบบของชิ้นงาน การประดิษฐ์ลวดลายต่างๆ ประโยชน์ในการใช้งานการจัดจำหน่าย  ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการดัดแปลงวัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์  ได้เห็นวิธีการจัดร้าน วิธีการคิดราคาสินค้า เป็นการศึกษาแบบบูรณาการทั้งในด้านการทำงาน การประกอบอาชีพในชุมชน  การประกอบธุรกิจ  การรวมกลุ่ม  ความคิดสร้างสรรค์  และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น  เป็นต้น



การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้

การใช้แหล่งความรู้มีความสำคัญในกระบวนการการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ ธรรมชาติ หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอื่นๆซึ่งผู้เรียน ผู้สอนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้หรือเรื่องที่สนใจได้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ชุมชนและธรรมชาติเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่เราสามารถค้นพบความรู้ได้ไม่รู้จบ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรุ้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ คือ
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
2.ผู้เรียนได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่มร่วมคิดร่วมทำแก้ไขปัญหาต่างๆซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ
3. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายและการสรุปความ คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
4. ผู้เรียนได้ประเมินผลการทำงานด้วยตนเอง
5.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ได้
6. ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุนแนวคิดของจัดการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ได้ปฏิบัติงานด้วยเอกลักษณ์ของตัวเอง
 แนวคิดที่สำคัญก็คือ               
1.การจัดการเรียนรู้เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดในหระบวนการเรียนรู้                2.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการฝึกทักษะการใช้กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติจริง ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น               
3.ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ได้คิด แสดงออกอย่างอิสระ บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตร              
 4.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งระบบ               
5.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนให้มาเป็นผู้รับฟัง ผู้เสนอแนะผู้ร่วมเรียนรู้ เป็นที่ปรึกษา ผู้สร้างโอกาส สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นนักออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผุ้เรียนมีบทบาทมากที่สุด              
 6.ต้องการให้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจากง่ายหายาก จากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นสื่อ ประสบการณ์ชีวิต ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาเป็นฐานการเรียนและประยุกต์ใช้กับการป้องกันและแก้ปัญหา               
7.ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกจัดกิจกรรมได้เรียนรู้ตามความต้องการความสนใจใฝ่เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง                
8.ถือว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่               
9.ปลูกฝังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในทุกสาระการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้                 
1.ขั้นสำรวจ ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษา สำรวจแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และชุมชนของผู้เรียน                       2.ขั้นการเรียนรู้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ และมีการวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติงาน               
3.ขั้นประเมินผล เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในการจัดการเรียนรู้ โดยมีผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมิน                4.ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามรถนำความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน                5.ขั้นประยุกต์ความรู้และเผยแพร่ผลงาน ขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนต่อไป 
บทบาทของผู้สอน
 1.รวบรวมข้อมูลที่มีในโรงเรียนและชุมชนของผู้เรียน
2.ให้คำปรึกษา แนะนำผู้เรียน ในการศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้
3.จัดหา ประสานงาน วัสดุอุปกรณ์ เอกสารเพิ่มเติมให้การแนะนำ และสร้างขวัญกำลังใจในภาพรวม
4.ติดตามช่วยเหลือการดำเนินการ แนะนำความถูกต้อง
5.ประยุกต์ใช้ เผยแพร่ผลงาน สรุปผลและประเมินผล
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับใช้
1.การเตรียมการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน                
1.ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์ และความสัมพันธ์ของเนื้อหา               
2.จัดทำแผนการเรียนรู้               
3.กำหนดสื่อจากแหล่งเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม ของจริง (ธรรมชาติ)              
          4.กำหนดวิธีการ และเครื่องมือวัดผลประเมินผล               
5.วางแผนการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้

2.การกำหนดสถานที่แหล่งเรียนรู้                
1.การไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในระยะทางใกล้ๆ หมายถึง การพาผู้เรียนไปยังสถานที่อื่นนอกห้องเรียนแต่ยังคงอยู่ในโรงเรียน เช่น การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน การศึกษาระบบนิเวศบริเวณโรงเรียน               
2.การไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในระยะทางไม่ไกลมากนัก หมายถึง การศึกษาแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงเรียนที่สามารถเดินทางได้สะดวก เช่น การพาผู้เรียนไปศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่มีอยู่จริง               
3.การไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในระยะทางไกล หมายถึง การศึกกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่ไกลจากโรงเรียน ต้องใช้ยานพาหนะ และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันขึ้นไป 

3.การปฐมนิเทศผู้เรียนก่อนไปศึกษานอกชั้นเรียน                
1.แหล่งที่ไปศึกษาและเหตุผลที่จะไปอธิบายถึงลักษณะของสถานที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ หรือโรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ประเภทเดียวกันที่มีอยู่บริเวณใกล้เคียง               
2.วิธีการเดินทาง พาหนะในการเดินทางและค่าเดินทางที่ผู้เรียนต้องใช้จ่าย
3.ประโยชน์ของการศึกษานอกสถานที่เป็นการทบทวนหรือการเริ่มต้นหน่วยการเรียนและกิจกรรมประเภทนี้ดีกว่ากิจกรรมอื่นๆในชั้นเรียนอย่างไร
4.ขั้นตอนการพาผู้เรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่  
             
1.ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย จะต้องก่อให้เกิดคุณค่าทางวิชาการได้ผลคุ้มค่า และไม่มีกิจกรรมอย่างอื่นทดแทนได้ผู้สอนต้องคำนึงว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพาไปศึกษานอกชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับวิชาที่เรียนจริงหรือไม่ ต้องการไปศึกษาอะไร สภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่
              
 2.ขั้นเตรียมการ ผู้สอนวางแผนการร่วมกับผู้เรียนไปสำรวจแหล่งที่จะไปเสียก่อน อภิปรายถึงเหตุผลที่จะไปผู้สอนต้องแจ้งกับผู้เรียนว่าจะเตรียมอะไรบ้าง จะไปวิธีไหน อย่างไร เวลาไหนและต้องแจ้งกำหนดการให้เจ้าของสถานที่ทราบถ้าเดินทางระยะไกลต้องขออนุญาตผู้ปกครองและปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่               

3.ขั้นเดินทางและศึกษาแหล่งเรียนรู้ ออกเดินทางศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามกำหนดหมายถ้าเป็นหน่วยงานเมื่อถึงสถานที่ศึกษาดูงานแล้วผู้สอนควรพาผู้เรียนไปทำความรู้จักกับเจ้าของสถานที่ เจ้าของสถานที่อาจกล่าวต้อนรับและแนะนำสถานที่หรือแบ่งกลุ่มให้วิทยากรเจ้าของสถานที่เป็นผู้พาไปดูและอธิบายให้ทราบบางแห่งอาจมีการแจกเอกสารประกอบด้วยก็ได้ผู้สอนให้นักเรียนสังเกต ซักถาม ถ่ายภาพ หรือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้มากที่สุด4.ขั้นประเมินผล เมื่อผู้เรียนกลับมาแล้วผู้สอนควรให้ผู้เรียนประเมิณว่าได้ผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ประชุมปฏิบัติการ ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ อภิปราย จัดนิทรรศการ เขียนรายงาน เป็นต้น                     



แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...