วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศึกษาเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต บทที่2



         ความหมายของทฤษฎี
 ทฤษฎี(Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง(อาภรณ์ ใจเที่ยง.2525:1 อ้างถึงใน รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)

      ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร
 ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน  (รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
   ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ
ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2.ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3.ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
4.ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (กาญจนา คุณารักษ์.2527:5 อ้างถึงใน โกสินทร์ รังสยาพนธ์.2526:25)

 ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ  Hilda Taba


 แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของ Taba มีบางอย่างคล้ายกับของTyler มาก แต่มีข้อรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันออกไป พอสรุปได้ 11 ประการดังนี้
1. ส่วนประกอบของหลักสูตร
2. การศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเป็นเครื่องกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
3. วัตถุประสงค์
4. เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์
5. การเลือกเนื้อหาสาระและการรวบรวมพินิจ
6. เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระ
7. ปัญหาเกี่ยวกับการจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
8. การจัดประสบการณ์การเรียน
9. ลำดับขั้นของการพัฒนาหลักสูตร
10. ยุทธวิธีการสอน
11. การประเมินผล (วิชัย วงษ์ใหญ่.พัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่.2523:20)
สรุป ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ  Hilda Taba
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ Hilda Taba เป็นทฤษฎีที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบและส่วนประกอบด้านต่างๆ ที่สำคัญของหลักสูตร ที่หลอมรวมกันเป็นหลักสูตรคุณภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าต้องการให้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรนำแนวทางนั้นไปทดลองและปรับใช้ในการเรียนการเรียนการสอนให้เห็นจริง จึงจะส่งผลให้หลักสูตรนั้นกลายเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

  หน้าที่ของทฤษฎี
1.  จุดมุงหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา นักปรัชญายังหาคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา ความรู้คืออะไร ความจริงคืออะไร อะไรคือคุณค่า
2.  ทฤษฎีมาจากคำในภาษากรีกว่า theoria connoting แปลว่า “การตื่นตัวของจิตใจ” มันเป็นชนิดของ “มุมมองที่บริสุทธิ์” ของความจริง ทฤษฎี อธิบายความเป็นจริง ทำให้ผู้คนตระหนักถึงโลกของพวกเขาและปฏิสัมพันธ์



การสร้างทฤษฎีหลักสูตร

       ขันตอนการสร้างทฤษฏี     ในการสร้างทฤษฏีมีกฎพื้นฐาน 2 ประเด็นที่ควรคำนึงถึง ได้แก่
 
(1.) การนิยาม หรือการทำความชัดเจนเกี่ยวกับ “คำเฉพาะ” ถ้อยคำที่นำมาสร้างทฤษฎีต้องมีความกระจ่างชัด ในการนิยามต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย

(2.) การจัดหมวดหมู่ โดยนักทฤษฎีจะรวบรวมเนื้อหาสาระให้เป็นระบบระเบียบ และรวบรวมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การสร้างทฤษฏีหลักสูตร

โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)

  1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)

การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 107-109) ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร

2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)

ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร กนได้มากที่สุดการใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถ
ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร
 ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร


โอลิวา” เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าแบบจำลอง (Model) ในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบแนวคิดและเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร โดยที่แบบจำลองนั้นจะแสดงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

1. องค์ประกอบหลักของกระบวนการ

2. การปฏิบัติที่ชัดเจน

3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการสอน

4. จุดหมายเฉพาะที่แตกต่างระหว่างหลักสูตรและการสอน

5. การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง

6. วัฎจักรความสัมพันธ์ต้องไม่แสดงแต่เพียงนัยลำดับขั้นตอน

7. มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ

8. จุดเริ่มต้นสามารถเริ่มที่ตำแหน่งใดก็ได้ในวงจร

9. ความเป็นเหตุเป็นผลและความแน่นอนภายในแบบจำลอง

10. ให้ความคิดที่เรียบง่าย

11. มีองค์ประกอบแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบไดอะแกรมหรือแผนภาพ


แบบจำลองของไทเลอร์


ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย

  1. ข้อมูลผู้เรียน   

  2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่  

  3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
 
 นำข้อมูลจาก 3 แหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้

การพิจารณาโครงสร้างหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler, 1949 :53)

ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ

1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม

2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม

3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล

4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ

นิยาม “ประสบการณ์การเรียนรู้” ของไทเลอร์

ไทเลอร์ให้นิยาม “ประสบการณ์การเรียนรู้” ว่าหมายถึง “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเงื่อนไขปัจจัยภายนอกที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบได้”โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ 4 ประการ คือ

1. พัฒนาทักษะในการคิด

2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม

4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา



บาทามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร  มี 7 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น

ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์

ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ

ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ

ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้

ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้

ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน


แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์อเล็กซานเดอร์และเลวีส



    
  เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา

2. การออกแบบหลักสูตร

3. การนำหลักสูตรไปใช้

4. การประเมินหลักสูตร


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา



เป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร 12 ขั้นตอนของโอลิวา

ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้

ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม

ขั้นที่ 3 กับ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2

ขั้นที่ 5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้

ขั้นที่ 6 กับ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน

ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน

ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน

ขั้นที่ 10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน

ขั้นที่ 12 – การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ

สรุป

การศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร จากแนวคิดของไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ ออร์นสไตน์ และฮันกิน โอลิวา สรุปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. การวางแผนหลักสูตร (Curriculum planning)

2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design)

3. การจัดหลักสูตร (Curriculum organization)

4. การประเมินหลักสูตร (Curriculum evaluation)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...