วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แบบฝึกหัดบทที่ 10



1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร

          ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษาหรือปรัชญาการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นหากเราสามารถสร้างหลักสูตรที่ได้ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาบรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้ การที่จะทราบได้ว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นไว้นั้นเหมาะหรือเพียงใดจึงจำเป็นมีการประเมินผล การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพของการศึกษาหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา กำกับดูแล จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรใหม่ให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง ดังนั้นการประเมินผลหลักสูตรจึงเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และเนื่องจากหลักสูตรนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ไม่สามารถกำหนดไว้ตายตัวได้
 การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปตั้งแต่การสร้างหลักสูตรจนถึงการนำไปใช้ในโรงเรียน โรงเรียนใดมีการประเมินหลักสูตรก็จะมีการพัฒนาทางวิชาการต่างๆได้ดีขึ้นตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางด้านวิชาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


2. การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้มีจุดประสงค์สำคัญอะไร

     ตอบ. จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
          1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่าหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่ สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร
          2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆของหลักสูตรในแง่ต่างๆ เช่นหลักการจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียน การสอนและวัดผลว่าสอดคล้องต้องการหรือไม่
          3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่เหมาะหรือไม่เหมาะกับการนำหลักสูตรไปใช้ มีข้อบกพร่องในการที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง การประเมินในลักษณะนี้มักจะดำเนินไปในช่วงที่การพัฒนาหลักสูตรยังคงดำเนินอยู่เพื่อที่จะพิจารณาว่าองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตรมีคุณภาพอย่างไร
         4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตรเป็นไปในทางที่ถูกต้อง
         5. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆในหลักสูตร การประเมินจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นคุณภาพการศึกษาของสังคมซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของประชากรในการพัฒนาสังคมและอนาคตต่อไป


รายงานหลักสูตรท้องถิ่น

ประวัติความเป็นมาบ้านกลาง

          บ้านกลางก่อตั้งเมื่อใด ไม่มีการบันทึกไว้ชัดเจน แต่ทราบว่าวัดกองมณี บ้านกลาง สร้างเมื่อ พ..2344 (จากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 15 กองพุทธสถาน กระทรวงศึกษาธิการ.2539) บ้านกลางน่าจะมีการตั้งในช่วงนี้ จากหนังสืออนุสรณ์หลวงปู่ตา ขนติโก วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน (พ..2527)หน้า 48 ว่าด้วยประวัติไทญ้อ เมืองท่าอุเทน โดย นายเมธี ดวงสงค์(ครูคำไหล) กล่าวไว้ว่า
เมื่อปีมะโรง สัมฤทธิ์ จุลศักราช 1170  พุทธศักราช 2351 ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีชาติพันธุ์ไทยเผ่าหนึ่งเรียกว่า “ไทญ้อ” อยู่ที่เมืองหงสาวดี ทางตอนเหนือของหลวงของหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาวปัจจุบัน เมืองนี้ตั้งบนฝั่งแม่น้ำโขง ในครั้งนั้นมีหัวหน้าชื่อ “ท้าวหม้อ” ภรรยาชื่อ”สุนันทา” ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ประมาณ 100 น ล่องแพตามลำน้ำโขง เนื่องจากถูกเนรเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง เมือมาถึงนครเวียงจันทร์ เจ้าอนุวงค์ ผู้ครองนครเวียงจันทร์ จึงอนุญาตให้พาครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานที่ปากแม่น้ำสงคราม เจ้าอนุวงค์ เห็นว่าท้าวหม้อเป็นหัวหน้าที่ดีจึงแต่งตั้งให้เป็น “พระยาหงสาวดี” เมืองที่ตั้งขึ้นให่อยู่ริมแม่น้ำสงครามข้างเหนือ อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ให้นามเมืองว่า “เมืองไชยสุทธิ์อุตตมบุรี” (บ้านไชยบุรีในปัจจุบัน) และอพยพคนมาอยู่ที่บ้านท่าอุเทน ซึ่งเป็นเมืองร้าง เมืองปีมะเส็ง จุลศักราช 1195 ..2376 ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทญ้อดั้งเดิมกลุ่มใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครพนม
บ้านกลางเป็นกลุ่มชนชาติไทญ้อดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งที่มีการสร้างบ้านเรือนอยู่มาเป็นเวลานาน มีวัดที่เก่าแก่ จึงน่าเชื่อว่าการก่อตั้งบ้านกลาง คงอยู่ประมาณ พ.ศ.2340-2376 เพราะวัดกับหมู่บ้านเป็นสัญลักษณ์ที่คู่กัน และกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อท่าอุเทนและไทญ้อบ้านกลางเป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มิมีผิดเพี้ยน
บ้านกลางมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และ ทำเลดีที่สุดแห่งหนึ่งมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำช้ตลอดปี คือ หนองแวง หนองกุดค้าว และมีลำห้วยคือ ห้วยน้อยทวย ห้วยบ่อ ห้วยไฟไหม้ ห้วยทราย ซึ่งสามารถใช้น้ำทำการเกษตรและจับสัตว์น้ำได้ตลอดปี มีอาชีพคือ การทำนา การทำสวนสับปะรด อาชีพรองคือ ปั้นไห ครก แอ่ง ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาองชาวบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งสืบทอดมานานกว่า 150 ปีมาแล้ว

พื้นที่ตั้งและการคมนาคม
บ้านกลาง หมู่ที่ 15 ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ทั้งส้น 4,520 ไร่ ที่ดินทำกิน 4,000 ไร่ ที่อยู่อาศัย 520 ไร่ และมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ         ติดกับ หมู่ที่ 11  บ้านน้อยท้วย ตำบลโนนตาล
ทิศใต้               ติดกับ หมู่ที่ 2 บ้านตาล ตำบลโนนตาล
ทิศตะวันออก      ติดกับ หมู่ที่ 12  บ้านดงยาง  ตำบลโนนตาล
ทิศตะวันตก        ติดกับ หมู่ที่ หมู่ 1 บ้านกลาง ตำบลโนนตาล

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับกับที่ดอนเหมาะกับการปลูกข้าว สับปะรด ยางพารา
มีครัวเรือนทั้งหมด 81 ครัวเรือน

          จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ จำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุประชากร
จำนวนเพศชาย (คน)
จำนวนเพศหญิง (คน)
จำนวนรวม (คน)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม
3
1
4
1 ปีเต็ม-2 ปี
3
2
5
3 ปีเต็ม-5 ปี
12
5
17
6 ปีเต็ม-11 ปี
14
13
27
12 ปีเต็ม-14 ปี
9
6
15
15 ปีเต็ม-17 ปี
6
11
17
18 ปีเต็ม-25 ปี
11
16
27
26 ปีเต็ม-49 ปี
47
59
106
50 ปีเต็ม-60 ปี
18
22
40
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป
26
32
58
รวมทั้งหมด
149
167
316

   สภาพทางสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคมมีการตั้งบ้านเรือนตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีที่ดินทำกินแยกออกต่างหากจากหมู่บ้าน ซึ่งไม่ไกลจากหมูบ้านหนัก ประชากรส่วนใหญ่มีจิตใจเอื้ออารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย พึ่งพาช่วยเหลือกันสูง แบ่งปัน ในลักษณะ “พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้” เรียกหา พูดปรึกษาหารือกันมีความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ คนแก่เฒ่า
การอยู่ร่วมกันครัวเรือน ส่วนใหญ่จะมีเด็กและผู้สูงอายุอยู่ร่วมกันในครีวเรือส่วนประชากรวัยแรงงานจะออกไปทำงานหากินในต่างถิ่นเช่นต่างจังหวัดกรุงเทพมหานครและการไปขายแรงงานในต่างประเทศเป็นต้น
การรับประทานอาหาร จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อาหารส่วนใหญ่จะไม่ใช้กะทิในการประกอบอาหาร เช่น ลาบ ก้อย หม่ำ แกง อ่อม ย่าง ปิ้ง คั่ว ป่น แจ่ว ส้มตำ เป็นต้น และใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารประจำครัวเรือน

ค่านิยมชุมชน
1) ดำเนินเศรษฐกิจพอเพียง
2) ขยัน ประหยัด อดออม
3) พึ่งตนเองก่อนพึ่งตนเอง
4) มีความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
5) มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย
6) การลด ละ เลิก อบายมุข

 
ประวัติความเป็นมาการทำครก
         ครกเป็นของคู่ครัวและครอบครัวไทยมานานหลายร้อยปี เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่สืบต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า  ครกมิใช่เป็นเพียงอุปกรณ์การทำครัวซึ่งมีความสำคัญต่อการปรุงอาหารให้มีรสชาติแบบไทยเท่านั้น 
แต่ยังมีความหมายทางวัฒนธรรมที่เราควรรู้จักและเห็นคุณค่า  ก่อนที่ครกจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบดแบบฝรั่งและสูญหายไปเสียหมด    
         บ้านกลาง ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นชุมชนที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อขายเป็นอาชีพเสริมเพราะบ้านกลางเป็นพื้นที่ที่มีบ่อดินเหนียวที่หนองกุดค้าวแห่งเดียวในจังหวัดนครพนม โดยตอนแรกผลิตเป็นกิจการของครัวเรือน ซึ่งการทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง สำหรับการทำเครื่องปั้นดินเผามีการสืบทอดกันมานานนับได้ประมาณ ๑๕๐ ปี ซึ่งมีคนที่เริ่มทำเป็นคนแรกมีชื่อว่า ปู่ไห เป็นชาวอุบลราชธานี ที่ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านกลางในสมัยนั้น และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด ๔๓ คน ในการรวมกลุ่มก็เป็นการต่อรองราคาสินค้า และที่มีนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  คนในชุมชนก็เลยให้ความสนใจในเรื่องนี้ และชุมชนเองก็ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาที่ตนเองหรือชุมชนมีอยู่ จึงนำสินค้าด้านเครื่องปั้นดินเผามาเป็น สินค้า (
OTOP)  และได้รับการยอมรับ

    
ขั้นตอนการทำครก

วัตถุดิบ


ดินเหนียว

อุปกรณ์
1.แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ   และฟืนสำหรับใช้เผาครก


2. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ

    



3. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ

 




 
4. น้ำสำหรับล้างมือและขึ้นรูปเพื่อให้ความเลื่อนง่ายต่อการขึ้นรูป



5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย




6. ด้ายหรือลวด เอาไว้สำหรับตัดดินหรือตัดก้นของผลิตภัณฑ์หลังจากที่ขึ้นรูปเสร็จ




7. เครื่องนวดดิน





กระบวนการ/ขั้นตอน

1.       นำดินที่สามารถนำมาทำเครื่องปั้นดินเผามาตากแดดให้แห้ง   





2. จากนั้นนำมาผสมกับน้ำ แล้วนำไปหมักในอ่างประมาณ 1-2 วัน ให้นำดินเข้ามาเตรียมนวด และเครื่องเครื่องนวดดินจะรีดดินออกมาเป็นท่อนๆ ห่อด้วยพลาสติกเก็บไว้ 2 วัน
 




 
3. นำก้อนดินเหนียวมานวดให้อ่อนตัว นำวงลงบนแป้นหมุน ปั้นขึ้นรูปทรงของครกตามที่ต้องการ
 





4.  ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด


5. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
 




6. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800c ถึง 1,000c ใช้เวลาเผาประมาณ  7 วัน  งานแต่ละชิ้นจะใช้เวลาประมาณ 22 – 25  วัน
 



7. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านกลาง
         



จุดประสงค์ในการปั้นครก

             1.       เพื่อนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร
             2.       เพื่อเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้คงอยู่
             3.       เพื่อหารายได้เสริมให้ครอบครัว
             4 .       เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  
             5.       เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

     โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นคนนอกจังหวัดมากกว่าคนในพื้นที่ เนื่องจากคนในพื้นที่นั้นต่างก็ประกอบอาชีพเดียวกันคือการปั้นครก ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสาขานอกหรือนายทุนหลักมาซื้อสินค้ามากกว่า

ราคาที่จัดจำหน่าย

     ครกที่มีการวางจำหน่ายนั้นจะมี 3 ขนาด ดังนี้

1.       ขนาดเล็ก  ราคาขายส่งประมาณ 25 บาท
               ราคาขายปลีกประมาณ 35 บาท

2.       ขนาดกลาง ราคาขายส่งประมาณ  50 บาท
                ราคาขายปลีกประมาณ 70 บาท

3.       ขนาดใหญ่  ราคาขายส่งประมาณ 160 บาท
                ราคาขายปลีก 230-250 บาท

    
ตลาดรองรับ/ช่องทางการจัดจำหน่าย
      มีพ่อค้าคนกลางจากสถานที่ต่าง ๆ มารับซื้อถึงที่และกระจายสินค้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยพ่อค้าที่รับซื้อส่วนใหญ่นั้นอยู่จังหวัดชลบุรีและกลุ่มพ่อค้าในพื้นที่ใกล้เคียงตามลำดับ

รายได้จากการจำหน่ายครก/เดือน
      การปั้นครกบ้านกลางนั้นทำกันเป็นกลุ่มอาชีพและเป็นอาชีพเสริม โดยเตาหนึ่งจะทำร่วมกันประมาณ 4-5 ครัวเรือน ซึ่งรายได้ในแต่ละเดือนที่หลังจากมีการขายครกส่งให้พ่อค้าคนกลางแล้วประมาณ 800,000 บาท โดยเงินส่วนหนึ่งจะถูกหักเข้ากลุ่มอาชีพก่อน หลังจากนั้นก็จะแบ่งให้ตามครัวเรือนที่เข้าร่วมกลุ่ม

ประโยชน์ของครกและลักษณะการใช้งาน
     โดยส่วนใหญ่แล้วครกนั้นจะมีทุกครัวเรือน ซึ่งใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย และลักษณะการใช้งานเป็นหลักของครกคือการตำสารพัด เช่น ตำส้มตำ ตำข้าว ตำพริก เป็นต้น

ระยะเวลาในการปั้นครก
             1.       10 นาที ต่อ ครก 1 ใบ เนื่องจากมีเครื่องช่วยปั้น
             2.       อย่างต่ำ 1 วันจะได้ครกประมาณ  50-60 ใบ
             3.       อย่างมาก 1 วันจะได้ครกประมาณ 100 ใบ

ปัญหาและอุปสรรคในการปั้นครก
            1.       ดินไม่ละเอียดและแข็ง
            2.       รูปทรงบิดเบี้ยว







แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...