1. ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นภารกิจที่สำคัญและกว้างขวาง
จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้น การพัฒนาหลักสูตรไว้หลายกรณี
เช่น
กู๊ด (Good, 1973: 157-158) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะกับโรงเรียนและระบบโรงเรียนจุดมุ่งหมายของการสอนวัสดุอุปกรณ์วิธีการสอนรวมทั้งประมวลผลส่วนคำว่าการเปลี่ยนแปลงหลัสูตร
หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
เชย์เลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 7) ให้คำจำกัดความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่าหมายถึงการจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน
การพัฒนาหลักสูตรอาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นสำหรับนักเรียนด้วย
ทาบา (Taba, 1962 : 454) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดม่งหมายการจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอนการวัดและการประเมินผลอื่นๆ
เพื่อให้บรรลุถึงจุดม่งหมายอันใหม่ที่วางไว้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ตั้งจุดมุ่งหมายและวิธีการและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบทางด้านความคิดและความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายส่วนการปรับปรุงหลักสูตรหมายถึงการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวความคิดพื้นฐานหรือรูปแบบของหลักสูตร
สงัด อุทรานันท์
(2532:30) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความหมายอยู่ 2ลักษณะคือ 1.
การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น
2.
การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐาน
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525: 10) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรคือการพยายามวางโครงการ
ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู
และสื่อการเรียนต่างๆ
การวัดและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไขและการให้การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
รวมทั้งการบริการและการบริหารหลักสูตร
ในการพัฒนาหลักสูตร
เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 8-9) ชี้ให้เห็นว่า
การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีงานที่ต้องทำสำคัญๆ อยู่ 3 ประการ คือ
1.
การพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นที่สำคัญของหลักสูตรที่จัดทำนั้นว่ามีเป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ
อย่างเด่นชัด
2.
การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและวัสดุประกอบการเรียนการสอน
การเลือกสรรเนื้อหาเพื่อสาระเพื่อการอ่าน การเขียน การทำแบบฝึกหัด
และหัวข้อสำหรับการอภิปรายตลอดจนกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น
3. การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์และการจัดการเรียนการสอน
ตลอดทั้งการทดลองที่เป็นประโยชน์
เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
บางครั้งเราจะพบว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหา
ทางเลือกทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมหรือเป็นที่รวบรวมของทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆเข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้และถ้าหากหลักสูตรมุ่งที่จะกำหนดสำหรับผู้เรียนหลายกลุ่มหลายประเภทโดยใช้วิธีการต่างๆและโอกาสต่างๆกันแล้วนักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนจะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ เป็นวัฏจักร
ทางเลือกทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมหรือเป็นที่รวบรวมของทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆเข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้และถ้าหากหลักสูตรมุ่งที่จะกำหนดสำหรับผู้เรียนหลายกลุ่มหลายประเภทโดยใช้วิธีการต่างๆและโอกาสต่างๆกันแล้วนักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนจะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ เป็นวัฏจักร
คำว่า
“หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “currere” หมายถึง“running
course” หรือ เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง
ต่อมาได้นำศัพท์นี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence of course or
learning experience” เป็นกาเปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชา
หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่าหลักสูตรหลายท่าน ยกตัวอย่างเช่น
ไทเลอร์ (Tyler.
1949: 79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด
โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
กู๊ด (Good.
1973: 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3
ประการ ดังนี้ คือ
1.
หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา
เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2.
หลักสูตร หมายถึง
เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน
ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3.
หลักสูตร หมายถึง
กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537:
12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ
มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล
มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
สงัด
อุทรานันท์ (2538: 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง
ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
1. หลักสูตร
คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา
ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็นขั้นตอนอย่างดีแล้ว
2. หลักสูตร
ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ
3.หลักสูตร
เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นสำหรับให้ประสบการณ์ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน
4. หลักสูตร
ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้
และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของโรงเรียน
จากแนวคิดข้างต้น จึงสรุปได้ว่า
หลักสูตร คือ
แนวทางในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษาตามมาตรฐานสากล
มาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง และความต้องการชุมชนท้องถิ่น
ส่วนคำว่า “การพัฒนาหลักสูตร”
มีนักศึกษาหลายได้ให้ความหมายไว้ ยกตัวอย่างเช่น
กู๊ด ( Carter V. Good,
1973 : 157 -158 ) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า
การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่ง
เพื่อให้เหมาะกับโรงเรียนและระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอนวัสดุอุปกรณ์
วิธีสอนรวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่า การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม
เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนใหม่
วิชัย
วงษ์ใหญ่ (2525 : 10) กล่าวว่า
การพัฒนาหลักสูตร คือ
การพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดหมายที่กำหนดไว้
หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนคือ ระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน
กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู
และสื่อการเรียนต่าง ๆ การวัดและประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไข
และการให้
การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและ การสอน
รวมทั้งการบริหารและบริการหลักสูตร
สงัด อุทรานันท์ (2532
: 33) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ หรือจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
จากแนวคิดข้างต้นจึงสรุปได้ว่า
การพัฒนาหลักสูตร มี 2 ความหมายคือ
1. การนำหลักสูตรที่มีแล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือเรียกว่า
“การปรับปรุงหลักสูตร”
2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน
โดยใช้กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
* ทฤษฏีหลักสูตร
โบแชมป์กล่าวว่า
ทุกทฤษฏีหลักสูตรต้องคำนึงถึงความรู้ 3
ประเภทใหญ่ๆได้แก่มนุษยวิทยา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมวิทยา
โดยทฤษฏีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
* ทฤษฏีออกแบบหลักสูตร ว่าด้วยการวางแผนและจัดการหลักสูตร
ซึ่งการร่างหลักสูตรตามทฤษฏีปรัชญา สังคม และจิตวิทยา
* ทฤษฏีวิศวกรรมหลักสูตร ว่าด้วยกิจกรรมในการพัฒนาหลักสูตร
ซึ่งเกี่ยวข้องกับแผนการเฉพาะทาง หลักการ และวิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ
ส่วนใหญ่แล้วทฤษฏีวิศวกรรมหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการวัดผล และสถิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น