1.หลักสูตรแฝง
หลักสูตรแฝง
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า
และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
หลักสูตรแฝงกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้
ทางด้านพุทธิพิสัย ละทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย
แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัย
เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยการบรรยาย
เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่
และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู
และนักการศึกษาได้แง่คิด และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม
พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน
โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้
ตามตัวหลักสูตรปกติมากเกินไป แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น
ชิลเบอร์เมน
(Silberman,1970:9) ได้ยืนยันความจริงในข้อนี้ว่า สิ่งที่นักการศึกษาจะต้องตระหนักให้มากก็คือวิธีการที่เขาสอนและการกระทำของพวกเขามีความสำคัญมากกว่าสิ่งที่เขาสอน นั่นก็คือว่าวิถีทางที่เรากระทำกับสิ่งต่างๆจะสร้างค่านิยมได้ตรงกว่าและมีประสิทธิผลมากกว่าที่เราได้สอนหรือพูดคุยกับเขาโดยตรงการปฏิบัติการในเชิงการบริหารที่มีลักษณะเฉพาะประเภทการเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติการแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสามารถ การแบ่งแยกผิวพรรณและเชื้อชาติหรือการสอบแข่งขันเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาจะมีผลต่อหน้าที่พลเมืองมากกว่าการเรียนโดยตรงในหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาเด็กๆจะถูกสอนให้เรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมจริยธรรมศีลธรรม บุคลิกภาพ และความประพฤติทุกวันจากการจัดและดำเนินการของโรงเรียนเช่นวิถีทางที่ครูและพ่อแม่ประพฤติวิถีทางที่พวกเขาพูดกับเด็กและระหว่างผู้ใหญ่ด้วยตนเองชนิดของพฤติกรรมที่พวกเขายอมรับและให้รางวัลและชนิดของพฤติกรรมที่พวกเขาไม่ยอมรับ และมีการลงโทษ มากกว่าการเรียนรู้จากเนื้อหาที่บรรจุไว้ในหลักสูตรปกติ
โคลเบอร์ก (kopiberg, 1970:120) ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ผู้ซึ่งล่วงไปแล้วได้มีความเชื่อและจุดยืนเดียวกันเกี่ยวกับความสำคัญและอิทธิพลของหลักสูตรแฝงในรูปแบบของการเรียนรู้ทางสังคม(socialization)ของนักเรียนเขามองว่าหลักสูตรแฝงมีลักษณะและธรรมชาติที่จำเป็นและเอื้อต่อการพาไปสู่ความเจริญงอกงามทางจริยธรรม เพราะในโรงเรียนประกอบไปด้วยฝูงคน การยกย่องและอำนาจ
แจ๊คสัน (jackson, 1968 : 36)
ได้ศึกษาลักษณะที่สำคัญของห้องเรียนและได้ชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติของการกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและความสำคัญของหลักสูตรแฝงว่าในขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนักเรียนเรียนรู้ที่จะปรับตนเองให้สอดคล้องกับเจตจำนงของครู แล้วควบคุมการกระทำของตนเองให้เป็นที่ยอมรับ เขาเรียนรู้ที่จะยอมรับตามและปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรต่างๆที่ได้กำหนดไว้เขาเรียนรู้ที่จะอดทนกับความไม่พอใจเล็กๆ น้อยๆและยอมรับนโยบายและแผนงานของผู้บริหาร แม้ว่าจะขาดเหตุผลไปบ้างก็ตาม แจ๊คสัน (Jackson,
1972 : 81 ) ถือว่ากฎระเบียบและกิจวัตรประจำวันเป็น 3 R’s (rules,regulaons,
and routines )ของหลักสูตรแฝงเพราะเป็นสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้และปฏิบัติตาม มิฉะนั้นพวกเขาจะไม่สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นได้
หลักการ 3 R’s คือ
Rules
คือ กฎระเบียบ
Regulaons
คือ การควบคุม
Soutines
คือ กิจวัตรประจำวัน
2.หลักสูตรบูรณาการ
1.หลักสูตรบูรณาการ
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ
มาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ
คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย
คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ
โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้
ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ
วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
รูปแบบการบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา
เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2.บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้
ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3.บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม
ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้
หลักสูตรกว้าง
2.การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์
เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน
3.หลักสูตรกว้าง
หลักสูตรกว้าง
มีจุดหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ
ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งให้มีการพัฒนาการในด้านต่างๆทุกด้าน
วิวัฒนาการหลักสูตร
หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
โดยวิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น
เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี
ค.ศ.1914 โดยวิทยาลัยแอมเฮิรส
จัดทำเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่า สถาบันสังคมและเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้นำหลักสูตรมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ.2503 โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่างๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันเข้าไว้ในหลักสูตร
และให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้างครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.
จุดหมายของหลักสูตรมีขอบข่ายกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2.
จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ก.ส่วนดี
1. เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆ
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีความสัมพันธ์กันดีขึ้น
2. ในการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดวามเข้าใจ
และมีทัศนะคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
3.
เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง
เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ข.ส่วนเสีย
1.ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง
เข้าทำนองรู้รอบ มากกว่ารู้สึก
เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม (The Activity Curriculum)และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน เกดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรืหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
วิวัฒนาการของหลักสูตร
หลักสูตรประสบการณ์ถูกนำมาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนทดลอง
ของมหาวิทยาลัยซิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1896 โดยจอห์นและแมรีดิวอี้
พื้นฐานของหลักสูตรตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า
ถ้าจะให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน จะต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4
อย่างคือ
1.แรงกระตุ้นทางสังคม
2.แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์
3.แรงกระตุ้นทางการค้นคว้าทดลอง
4.แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคำพูด
การกระทำ และทางศิลปะ
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. ความสนใจของผู้เรียน
เป็นตัวกำหนดเนื้อหา และเค้าโครงหลักสูตร
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน
คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจรวมกัน
3.
โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4.
ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
ปัญหาของหลักสูตรประสบการณ์
1.
ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร
หลักนี้นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้แทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา
แต่กับมองความสนใจในปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลักการกำหนดเนื้อหาจึงทำได้ยาก
2.
ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ
ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาระหว่างวิชาเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆกันทุกปี
ได้มีการแก้ไขโดยจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้น
แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะตารางสอนพวกนั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในแต่ละปีใหม่
ควรทำอะไรกัน
5.
หลักสูตรรายวิชา
เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม
โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร
จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
ไม่ว่าด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่
หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆ เป็นเครื่องมือ
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
อาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้
และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3.
จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตร
เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ
เป็นสำคัญ
4.
โครงสร้างของเนื้อหาวิชา
ประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น
และจะถูกจัดไว้อย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน เพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5.
กิจกรรมการเรียนการสอน เน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้
ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา การส่งเสริมพัฒนาการในด้านอื่นๆ
ถือว่าเป็นเรื่องกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือไม่ก็เป็นผลพวงจากการเรียนรู้เนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้
มุ่งในเรื่องความรู้และทักษะในวิชาต่างๆ ที่ได้เรียนมา
ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ก.ส่วนดี
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรซึ่งเน้นเนื้อหาวิชา
ช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
2.
เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบ
เป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
3.
การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบ ทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
4.
การประเมินผลการเรียนทำได้ง่ายเพราะมุ่งประเมินความรู้ที่ได้รับเป็นสำคัญ
ข.ส่วนเสีย
1.
หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ
ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
2.หลักสูตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลักเหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
3.
หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้
เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกดการเรียนรู้ที่ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
การปรับปรุงหลักสูตร
1.
จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องกัน คือ
จัดเนื้อหาที่อยู่ในชั้นเดียวกันหรือระหว่างชั้น ให้ต่อเนื่องกัน
โดยรักษาความเป็นวิชาของแต่ละวิชาไว้ การจัดมีอยู่ 2 แบบ คือ
ก. จัดให้ต่อเนื่องตามแนวนอน คือ
การจัดเนื้อหาของวิชาหนึ่งให้สัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับของอีกวิชาหนึ่ง
ซึ่งอยู่ในชั้นเดียวกัน
ข. จัดให้ต่อเนื่องในแนวตั้ง คือ
การจัดเนื้อหาที่อยู่ต่างชั้นกัน
2.
จัดโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน คือจัดเนื้อหาของแต่ละวิชาให้เชื่อมโยงกันในลักษณะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการที่ผสมกลมกลืนไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกัน
การเชื่อมโยงโดยวิธีการดังกล่าวนี้ทำได้ 2 ระดับ คือ
ก.
ระดับความคิดจุดหมายของหลักสูตรข้อหนึ่งที่เราต่างก็ยอมรับกัน คือ
การพัฒนาความสามารถทางปัญญา
อันได้แก่ความรู้ความเข้าใจ
ทักษะ เจตคติ ความพึงพอใจ
ข. ระดับโครงสร้าง คือ
การจัดให้เนื้อหาในแต่ละวิชาเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน
และเกิดประโยชน์ต่อวิชาอื่นๆ ด้วย
6.หลักสูตรแกน
เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ
และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
วิวัฒนาการของหลักสูตร
เริ่มจากการใช้วิชาเป็นแกนกลางโดยเชื่อมเนื้อหาของวิชาที่สามารถนำมาสัมพันธ์กันได้
เข้าด้วยกัน แล้วกำหนดหัวข้อขึ้นให้มีลักษณะเหมือนเป็นวิชาใหม่ เช่น
นำเอาเนื้อหาของวิชาชีววิทยา สังคมศึกษาและสุขศึกษามาเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อ
“สุขภาพและอนามัยของท้องถิ่น”โดยหลักสูตรแกน คือ หลักสูตรที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน
และเป็นหลักสูตรที่เน้นให้เรื่องปัญหาสังคมและค่านิยมของสังคม
โดยกำหนดเค้าโครงของสิ่งที่จะสอนไว้อย่างชัดเจน
หลักสูตรแกนในเอเชีย
ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใช้หลักสูตรแกนอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายประเทศ
เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์
เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของหลักสูตรแกนของประเทศต่างๆ
ในเอเชียชัดเจนยิ่งขึ้นขอนำเอาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องมาสรุปเปรียบเทียบให้เห็นดังต่อไปนี้
ระดับการผสมผสานวิชาในหลักสูตร
ที่มีการผสมผสานกันอย่างมากมายได้แก่ หลักสูตรของประเทศศรีลังกา ไทย
เวียดนามและนิวซีแลนด์ ผสมผสานระดับปานกลาง ได้แก่ของจีน อินเดีย อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
ส่วนหลักสูตรของเนปาลนั้นมีการผสมผสานกันน้อยมาก
ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรแกน
หลักสูตรแกน
เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียนอาจเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท
หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม
โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือเน้นการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก
7. หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาใช้ เช่น
ให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ
นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่ต้องการ
สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชาเท่าที่ปฏิบัติกันมามีอยู่ 3 วิธีคือ
1.
สัมพันธ์ในข้อเท็จจริงกล่าวคือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2.
สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์การสร้างความสัมพันธ์วิธีนี้เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราวหรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3.
สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรมและหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่ 2 แค่แตกต่างกันตรงที่ว่า
แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรมและหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง
หลักสูตรสัมพันธ์วิชาช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
และกว้างขวางกว่าเดิม และเปิดทางให้สามารถขยายงานด้านตำราเรียนได้กว้างขึ้น
แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องที่แก้ไม่ได้ คือ รูปแบบของหลักสูตรยังคงเป็นหลักสูตรรายวิชาอยู่นั้นเอง
8. หลักสูตรเกลียวสว่าน
เป็นการจัดเนื้อหาหรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น
แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ่งแตกต่างกัน กล่าวคือในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยๆเพิ่มความยากและความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
ที่มาของแนวความคิดเรื่องหลักสูตรเกลียวสว่าน
บรูเนอร์
เป็นนักการศึกษาท่านหนึ่งที่มีบทบาทมากในการเผยแพร่ความคิดเรื่องหลักสูตรเกลียวสว่านบรูเนอร์มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้างและการจัดระบบที่แน่นอน จึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบ จากง่ายไปหายากจากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวน หรือเกลียวสว่านคือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆตามอายุและพัฒนาการของเด็ก
หลักสูตรเกลียวสว่านตามแนวคิดของดิวอี้
ดิวอี้
เชื่อว่า
การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอกและในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญากับการแก้ปัญหาเหล่านี้เขาจะได้ความคิดใหม่ๆและพลังในการทำงาน
9. หลักสูตรสูญ
เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
โดยไอส์เนอร์ เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่าเป็นหลักสูตรที่ไม่มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน
ประเด็นที่ควรพิจารณา
ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่
2 ประเด็น คือ
1. กระบวนการทางปัญญาที่โรงเรียนเน้นและละเลยเป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยเริ่มจากการรับรู้สิ่งต่างๆไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
2.
เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร
การนำความคิดของหลักสูตรสูญไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใดหรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตรก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิงถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของเรียนแล้วหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันทีจากตัวอย่างการพิจารณานำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้นต้องถือว่า
หลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษาจะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น