วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 8







NPU MODEL   คือ เป็นการพัฒนารูปแบบของการเรียนการสอน เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รู้และเข้าใจในเรื่องนั้นๆ อย่างท่องและเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 N-Need Analysis  
คือ การวิเคราะห์ความต้องการ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการเรียนรู้เพื่อแสดงให้เห็นถึงโครงร่าง กระบวนการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้สอนทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับวิชากับพฤติกรรม ว่าแต่ละเนื้อหาควรเน้นพฤติกรรมในด้านใดมากที่สุด หรือน้อยที่สุด การที่ผู้สอนจะสอนหรือทดสอบจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดของวิชานั้นว่ามีโครงสร้างหรือกรอบให้แก่ผู้เรียนอย่างไร  ซึ่งจะประกอบด้วยจุดมุ่งหมายกับเนื้อหา ซึ้งทั้งหมดนี้จะต้องตรงกับที่วางแผนไว้

ขั้นที่ 2  P-Praxis
คือ เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักเรียน นักศึกษา ศึกษาเรียนรู้ด้วยวิธีการแสวงหาความรู้ การใช้วิธีการต่างๆ ศึกษาหาความรู้ เป็นการพัฒนาด้านการคิดและอารมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของความสามารถ การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การเรียนในชั้นเรียนหรือการฝึกอบรม แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรก็ได้ การรู้ตัว การเข้าใจ การพัฒนาทักษะและพัฒนาตนเอง การได้รู้มากขึ้นเป็นผู้เชียวชาญมากขึ้น การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ ผู้สอนควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้สามารถแสดงความคิดเห็น ได้แสดงความรู้ ความสามารถ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิด เรียนรู้ได้ด้วยตนเองเกิดจากประสบการณ์จริง สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริง

ขั้นที่ 3 U-Understanding
คือ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ



"เก่ง ดี มีสุข"



แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ มีเจตนารมณ์มุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" หรือกล่าวอีกอย่างคือบุคคลที่มีความ "เก่ง ดี มีสุข" ซึ่งหากนี่คือเป้าหมายหลักของภาครัฐ ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนไทยเติบโตอย่างสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านไอคิวและอีคิว ตรงตามเป้าหมายการศึกษา คือ ผู้เรียนเป็น คนดี คนเก่ง และ มีความสุข ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่สังคมไทยโดยสิ่งที่จะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นบุคคลที่มีความเก่ง ดี และมีสุขในการศึกษาคือ
 เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ

ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ

มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต


ซึ่งหากจะให้ความหมาย เก่ง ดี มีสุข ในด้านการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปของผู้คนแล้วนั้นก็จะสามารให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปได้อีก คือ

เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น

ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม

มีสุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข


 จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ มีเจตนารมณ์มุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" หรือกล่าวอีกอย่างคือบุคคลที่มีความ "เก่ง ดี มีสุข” ซึ่ง เก่ง ดี มีสุข ของใครหลายคนอาจจะไม่ครบ บางคนอาจจะไม่ได้อยู่ในความหมายที่กำหนดไว้ สำหรับดิฉัน ในคำว่า “ เก่ง ” สำหรับดิฉันเอง ในความเก่งของตัวดิฉันเอง ดิฉันคิดว่าดิฉันก็เก่งในระดับหนึ่งที่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการด้วยการสอบแอดมิตชั่น โดยใช้คะแนนในการสมัครเรียน ได้ศึกษาใน คณะครุศาสตร์ แขนงวิชาการศึกษาภาษาไทย ซึ่งใครหลายคนฝันอยากจะเข้าแต่ไม่สามารถเข้าได้ สำหรับดิฉันสามารถเข้าเรียนได้ เพราะองค์ประกอบหลายๆอย่าง ดิฉันก็เป็นอีกหนึ่งคนที่โชคดีใน60คนที่ได้มาเรียนในแขนงวิชานี้ ซึ่งผลการเรียนปานกลางไม่น้อยเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ และสามารถเรียนได้มาถึงชั้นปีที่2 ดิฉันภูมิใจในตัวเอง ถึงอาจจะไม่ได้เก่งอย่างใคร แต่ดิฉันก็ถือว่าตนเองเก่งแล้ว และไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน




    สำหรับคำว่า “ ดี ”  ดิฉันคิดว่าตนเองดีพอ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนหรือเป็นปัญหา ในคำว่าดีสำหรับดิฉันอาจจะไม่ได้ถึงขั้นดีเลิศ แต่ที่เป็นอยู่ ปฎิบัติอยู่โดยไม่เป็นภาระ หรือไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ถือว่าดีแล้ว ส่วนสังคม ดิฉันได้ช่วยเหลือ เป็นคนดีของสังคมโดยการ ทำจิตสาธารณะ และช่วยผู้อื่นตามกำลังและความสามารถของตนเอง เช่นการไปค่ายที่โรงเรียนบ้านหนองยาว ที่ได้ไปเป็นจิตอาสา  ช่วยน้องๆทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน การไปจัดกิจกรรมให้กับโรงเรียนโดยอาสาไปจัดกิจกรรม ซึ่งสิ่งที่ทำอาจจะยังไม่มากพอสำหรับสังคม แต่ดิฉันจะทำไปเรื่อยๆเมื่อมีโอกาสและจะทำให้เต็มที่ สุดความสามารถ



    คำสุดท้าย คำว่า “ มีสุข ” ดิฉันมีความสุขในทุกๆกิจกรรมที่ทำ อาจจะไม่ได้มีความสุขมากมาย แต่ความสุขก็เกิดขึ้นได้ทุกๆที่เพียงแค่เปิดใจ และคิดบวก ทุกอย่างก็คือความสุขได้หมดในความคิดของดิฉัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การเรียน  การทำงาน ทุกสถานการณ์มีความสุขได้ เล็กๆน้อยๆ ก็ไม่เป็นไร ขอแค่วันหนึ่งในทุกๆกิจกรรม มีรอยยิ้มก็พอแล้ว เท่านี้ก็มีความสุขกับชีวิต 



ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 กล่าวไว้ว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย  และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C




3R  ได้แก่ 
 Reading (อ่านออก)
(W) Riting (เขียนได้)
 (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น)



7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)


ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น  “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม  การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ  ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)

ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C  และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต  แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง  ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์  และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน  เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู

บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21

การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง   และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ครูที่รักศิษย์  เอาใจใส่ศิษย์  แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม    จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)

ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวข้าสาระวิชา


ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่


สาระวิชาหลัก

• ภาษาแม่ และภาษาโลก

• ศิลปะ• วิทยาศาสตร์

• ภูมิศาสตร์

• ประวัติศาสตร์

• คณิตศาสตร์

• เศรษฐศาสตร์

• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี

 หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21

• ความรู้เกี่ยวกับโลก

• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ

• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี

• ความรู้ด้านสุขภาพ

• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม

• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

• การสื่อสารและการร่วมมือ

 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

• ความรู้ด้านสารสนเทศ

• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

• ความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะชีวิตและอาชีพ

• ความยืดหยุ่นและปรับตัว

• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม

• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ accountability)

• ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)

นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้

• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21

• หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21

• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21

• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21

จากบทความดังกล่าวทำให้เรียนรู้ว่าการเรียนการสอนในชั้นเรียนศตวรรษที่ 21 ต้องมีการรับเปลี่ยนอีกมาก แต่ก็เป็นงานที่ท้าทายนะคะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...