แบบฝึกหัดท้ายบทที่
9
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่องการนำหลักสูตรไปใช้
ตอบ
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร
เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ
แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น
หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ
นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร
การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้
และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้
นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ
ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย
และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย
และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp, 1975: 169)
กล่าวว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย
1.
ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร
2.
ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จได้
ผู้นำที่สำคัญที่จะรับผิดชอบได้ดี คือครูใหญ่
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4.
คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น
ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ
ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
กิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
สงัด อุทรานันท์ (2532 : 263-271)
กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีงานหลัก 3 ประการ คือ
1. งานบริหารและบริการหลักสูตร จะเกี่ยวข้องกับ
งานเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร
การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน
2.
งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกอบด้วย
การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น การจัดทำแผนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.
งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรประกอบด้วย
การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรและการตั้งศูนย์บริการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
-
การบริหารและบริการหลักสูตร
-การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
- การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
- การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
- การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1.
การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2.
การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3.
แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1. ผู้บริหารโรงเรียน
2. หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3. ครูผู้สอน
สรุป
(Summary)
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
และเป็นกิจกรรมที่เป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน
วิธีการของกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ น่าจะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรมีผู้กล่าวว่า
แม้เราจะมีหลักสูตรที่ดีแสนดี
แต่ถ้านำหลักสูตรไปใช้อย่างไม่ถูกต้องแล้วหลักสูตรนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร
เพราะฉะนั้นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ จะต้องศึกษา
ทำความเข้าใจกับการนำหลักสูตรไปใช้ตามบทบาทหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ที่สุด
เพื่อให้การใช้หลักสูตรนั้น สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก
สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : การจัดหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร”
ตอบ การพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลัก
สูตร/ความรู้-ทักษะ-ความ สามารถ
1.การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
2.
การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
3.
ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
·
แนวคิดการจัดหลักสูตรของออร์นสไตล์และฮันคินส์
แบบจำลอง 3P ของ Biggs (Biggs’s 3 presage-process-product)
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
แนวคิดการจัดหลักสูตรของออร์นสไตล์และฮันคินส์ออร์นสไตล์และฮันคินส์
อธิบายว่า การจัดหลักสูตร หมายถึง การจัดโครงสร้างขององค์ประกอบของหลักสูตร4
ส่วนหลัก คือ
- เป้าหมาย
จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เนื้อหาสาระ
- กิจกรรมการเรียนการสอน
- การประเมินผล
นอกจากนี้การจัดหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา
6 ประการ ดังนี้
1. การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร หมายถึง
การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ แนวคิด ค่านิยม
หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างโดยจะต้องคำนึงถึงเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
-วุฒิภาวะ
ประสบการณ์ ความสามารถของผู้เรียน
-ความยากง่ายของเนื้อหา
-ความทันสมัยและความเป็นสากลของเนื้อหาวิชา
-ความสมดุลระหว่างความกว้าง
ความลึกของเนื้อหาวิชา
-คุณค่าของเนื้อหาที่ผู้เรียนจะนำไปใช้
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ เป็น
การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคญต่างๆ
ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ความต่อเนื่อง เป็นการจัดเนื้อหา
ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่างให้มคความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
4.ความสอดคล้องเชื่อมโยง ทั้งแนวตั้งเช่น
เนื้อหาภูมิศาสตร์ สอดคล้องกลับประวัติศาสตร์ และแนวนอน เช่น เนื้อหา
วิทยาศาสตร์ป.6 สอดคลองกับ ม.1
5. การบูรณาการ กับหัวข้อหรือวิชาอื่น
6. ความสมดุล
โอลิวาเสนอแนวทางในการพิจารณาความสมดุลของหลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและหลักสูตรที่เน้นรายวิชา
-ความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของสังคม
-ความต้อการเกี่ยวกับวิชาสามัญและวิชาเฉพาะด้าน
-ความกว้างและความลึกของเนื้อหาวิชา
-เนื้อหาเก่าแบบเดิมกับเนื้อหาที่ทันสมัย
-รูปแบบการเรียนของนักเรียนแต่ละคน
-ความแตกต่างระว่าวิธีสอนแบบต่างๆและประสบการณ์ทางการศึกษาของครูแต่ละคน
-ความสมดุลระหว่างการเรียนกับการเล่น
-แรงผลักดันของชุมชนและโรงเรียน
•
แบบจำลอง 3P ของ Biggs
(Biggs’s 3 presage-process-product)
แบบจำลองนี้แสดงการสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียน
แบบจำลองแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสอนของผู้สอนและกระบวนการการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในขั้น presage
เป็นการเรียนการสอนโดยทั่วไป
เป็นการประยุกต์การเรียนรู้ในการทำหน้าที่ของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
โดยผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาด้วยความคาดหวังในความและพฤติกรรมในการพัฒนาบุคลิกภาพอันเนื่องมาจากประสบการณ์การศึกษา
ในขั้น process เป็นการปฏิบัติภาระงาน
ภายใต้การรับรู้ในบริบทของการสอน แรงจูงใจในการเรียนรู้ และการไขว่คว้า
รวมถึงการตัดสินใจในการปฏิบัติโดยไม่ชักช้า
ทั้งหลายทั้งปวงเป็นการเรียนรู้ตามภาระงาน ในขั้น product ผู้เรียนเรียนรู้ที่เป็นทั้งความคิดในระดับต่ำและระดับสูง
แบบจาลอง 3P ของ Biggs แสดงความสัมพันธ์
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
อยู่บนกรอบแนวคิดของทฤษฎี constructivist ที่เน้นความสำคัญของผู้เรียนและเห็นคุณค่าของความคิดริเริ่มและความเป็นอิสระในความคิดของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
มี3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
เช่น การระดมความคิด การอภิปราย
2.การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
เช่น การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เก่า
3.การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
เช่น การนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ไปใช้ในสถานการณ์จริง หรือชีวิตประจำวัน
ความหมายของการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรหมายถึง
กระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประเมินผลของหลักสูตรรวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต
แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
2.
การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
3.
เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
4.
เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
1.
ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร
จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล
การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน
เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
3.
ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล
พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด
และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่
เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1. ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด
ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ
และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ
ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี
ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ
และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8. ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้
ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร
ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น