1. การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
โลกในยุคมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก
และไม่หยุดยั้ง ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ
แพร่ถึงกันทั่วโลกได้อย่าสะดวกและรวดเร็วโลกในปัจจุบันจึงเป็นโลกไร้พรมแดน
การจัดการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคัดสรรหรือนำความรู้ ข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆอันเป็นสากลมาพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของตน สังคม
และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
การจัดการศึกษานอกจากจะพัฒนาผู้เรียนให้มีความสากลแล้วยังจะต้องคงทนความเป็นท้องถิ่นของผู้เรียนไว้ด้วย
ผู้เรียนจึงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข
มีความรัก มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน
สามารถไก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับท้องถิ่น
เป็นทวิภาคีร่วมกันในการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น
ความหมายของแหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้หมายถึง
แหล่งข้อมูลข่าวสาร
สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้
แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
(กระทรวงศึกษาธิการ : 43)
จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น
อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
โรงเรียนที่มีฐานะรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษา
จึงต้องสร้างหรือจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นในโรงเรียน นอกจากนี้
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 29
ได้เน้นให้สถานศึกษาร่วมกับบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
จัดกบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาและความต้องการ ดังนั้น
การจัดการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษาครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากการเรียนในหนังสื่อหรือในห้องเรียนไปสู่การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนหรือท้องถิ่น
จึงจะเอื้อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดหรือพัฒนาการศึกษา
และเอื้อต่อสถานศึกษาหรือผู้เรียนในกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
2.
แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถจัดดำเนินการเพื่อให้ครู อาจารย์
และผู้เรียน ได้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์
มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของโรงเรียนแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น
ห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดหมวดวิชา
ห้องสมุดเคลื่อนที่
มุมหนังสือในห้องเรียน
ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องมัลติมีเดีย ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเตอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ
ศูนย์วิทยาบริการ
ศูนย์สื่อการเรียนการสอน
ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน
สวนพฤกษศาสตร์ สวนวรรณคดี สวนสมุนไพร
สวนสุขภาพ สวนหนังสือ สวนธรรมะ ฯลฯ
3.
แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอนมี
6 ประเภท ดังนี้
1.บุคคล
หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะสาขาหรืองานอาชีพต่างๆ
ซึ่งโรงเรียนอาจเชิญมาเป็นวิทยากรในบางชั่วโมง หรืออาจจ้างสอนเป็นรายวิชาหรือเชิญเป็นอาสาสมัครสอน เป็นพิเศษ ได้แก่ เกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
นักธุรกิจ พระสงฆ์ ช่างฝีมือ เกษตรตำบล
ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
ผู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น
2. สถาบัน
หน่วยงาน หรือองค์กรทางสังคม แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
2.1
สถานศึกษา พัฒนาและให้บริการประชาชน
หมายถึง หน่วยงานที่ให้การศึกษา พัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ได้แก่ โรงเรียน
วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด วัด สถานีทดลองข้าว
สถานีประมง พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ฝึกอบรม ฯลฯ เป็นต้น
2.2
สถานประกอบการทางธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และอาชีพอิสระ ได้แก่ ร้านค้า โรงงาน
ฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ ร้านซ่อมรถจักรยาน ร้านขายอาหาร ไร่ข้าวโพด นาเกลือ
สวนมะม่วง ฯลฯ เป็นต้น
3.
สถานที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ เป็นต้น
4. วัสดุและเศษวัสดุต่างๆที่มีในท้องถิ่น แบ่งได้
2 ประเภทคือ
4.1
วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ แร่ธาตุ ดิน หิน ทราย พืช เปลือกไม้
เมล็ดข้าว ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ฯลฯ เป็นต้น
4.2
วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากการผลิตหรือการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ ได้แก่ กระดาษ
กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เศษไม้ เศษผ้า เศษกระดาษ เศษกระจก กระป๋อง ฝาขวดน้ำอัดลม ฯลฯ เป็นต้น
5. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น แผ่นพับ วารสาร
หนังสือพิมพ์หนังสือ รูปภาพ ฯลฯ
6. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น อินเตอร์เน็ต แผ่นซีดี – รอม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI) วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ฯลฯ
แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความหมาย / ความเป็นมา / ลักษณะทั่วไปของแหล่งเรียนรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้
หมายถึง
แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ วิทยากร ภูมิปัญญาชาวบ้านและประสบการณ์อื่นๆ
ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนกา รเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ภูมิปัญญา
(Wisdom)
หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม
และความสนใจในการแก้ปัญหาของมนุษย์
ความหมายของภูมิปัญญาไทย
จากการศึกษาความหมายที่ผู้เชี่ยวชาญ
นักวิชาการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมคำว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ได้ให้ความหมายพอสรุปได้ ดังนี้
ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน(Popular
Wisdom) หมายถึง องค์ความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา
อันเป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงแก้ปัญหา
การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่
เพื่อการดำรงอยู่รอดของเผ่าพันธุ์จึงตกทอดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของธรรมชาติ
เผ่าพันธุ์ หรือเป็นวิธีของชาวบ้าน ( ยิ่งยง เทาประเสริฐ)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมายถึง
กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการดังกล่าว
จะมีรากฐานคำสอนทางศาสนา คติ จารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา
ปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละสมัย
ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล
ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม
ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสังคมหรือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
ภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบการผลิตหรือประกอบอาชีพที่มีลักษณะมุ่งเน้นระบบการผลิตเพื่อตนเอง
ภูมิปัญญาไทย
หมายถึง
องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจาก
การสะสมประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประกอบกับแนวความคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเอง
จนเกิดหลอมตัวเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เป็นลักษณะของตนเอง
ที่สามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ในการแก้ปัญหาของการดำรงชีวิต
( เสรี พงศ์พิศ)
ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ จัดได้ 3
ประเภท คือ
1.
แหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษชาติ ภูเขา
แม่น้ำ ทะเล น้ำพุรอน ปรากฏการทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก แดดออก น้ำท่วม ความแห้งแล้ง
2.
แหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้นหรือสร้างขึ้น ซึ่งมีในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ได้สะดวกและรวดเร็ว
3.
แหล่งเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง พ่อแม่ พระภิกษุสงฆ์
ตลอดจนผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพแขนงต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งสถานที่ประกอบการ
ร้านค้า หน่วยงาน
หรือองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่น
ความเป็นมาและความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายทั่วถึงกันได้อย่างรวดเร็ว
ไร้อาณาเขตขวางกั้น สภาพดังกล่าวมีส่วนกระทบถึงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองโดยทั่วไป
เพราะเป็นสภาพที่เอื้ออำนวยในการรับและถ่ายโยงเอาศาสตร์หรือภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาในการพัฒนาประเทศและพัฒนาผลผลิต
ตลอดจนการดำเนินชีวิต
อย่างมิได้มีการปรับปนกับภูมิปัญญาไทยที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ทำให้ชุมชนชนบทประสบปัญหาดังที่กล่าวว่าชุมชนล่มสลาย
อันมีผลรวมไปถึงความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง
การพยายามใช้กลไกลทางการศึกษาจากเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักสูตร
ตามความต้องการ ของท้องถิ่น เป็นช่องทางในการประยุกต์เอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีจุดเด่น
ที่สามารถพิสูจน์ตัวเองในการยืนหยัดอยู่รอดได้ ท่ามกลางกระแส
การล่มสลายของชุมชนและการทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว
มาสู่หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางของการคิดปฏิบัติจริง
จากการประยุกต์ปรับปน ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทยกับปัญญาสากล
เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบคุณค่าภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน
และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นำมาซึ่งดุลยภาพที่สงบสันติสุขของบุคคล ชุมชนและชาติ
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
1.เป็นแหล่งเสริมสร้างจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.เป็นแหล่งศึกษาตามอัธยาศัย
3.เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.เป็นแหล่งสร้างความรู้
ความคิด วิชาการและประสบการณ์
5.
เป็นแหล่งปลูกฝังค่านิยมรักการอ่านและแหล่งศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6.เป็นแหล่งสร้างความคิดเกิดอาชีพใหม่สู่ความเป็นสากล
7.เป็นแหล่งเสริมประสบการณ์ตรง
8.เป็นแหล่งส่งเสริมมิตรภาพความสัมพันธ์ระหว่าคนในชุมชนหรือผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดกระบวนการเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้
การเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อสารความรู้
ประสบการณ์ ทักษะ ความคิดเห็น ตลอดจนเจตคติ ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี
และอาจใช้เครื่องมือประกอบการสอนต่างๆ อีกมากมาย
โดยมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้
คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม
ได้โดยปกติสุข จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของ ผู้เรียนอย่างเต็มที่
เพื่อให้มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การนำแหล่งเรียนรู้ใน
ชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจนวิทยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการจัดกระบวน
การเรียนการสอน จึงเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยให้การะบวนการเรียน
การสอนบรรลุจุดมุ่งหมายได้ตามที่ต้องการ การนำภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้
มาใช้ในหลักสูตรการเรียน เป็นกิจกรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้
เป็นชุดความรู้ในชุมชนที่มีการใช้เพื่อการดำเนินวิถีชีวิตที่ได้ผลมาในอดีต
สามารถดำรงความสันติสุขแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน
ตลอดจนความมีดุลยภาพอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างผสมกลมกลืน
เป็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ได้เน้นการมีส่วนร่วมของ ชุมชน
โดยเฉพาะปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นผู้เชื่อมโยงชุดความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
ร่วมกับสถานศึกษาเข้าสู่หลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนของสถานศึกษา
ในแต่ละท้องถิ่น
แนวทางในการนำแหล่งเรียนรู้
และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการเรียนการสอน
แนวทางการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้
1.
กำหนดจุดประสงค์จากผลการเรียนที่คาดหวังให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ใดบ้างจากบทเรียนนั้น
เพื่อจะได้สร้างสื่อ หรือเลือก แหล่งเรียนรู้
ให้สัมพันธ์กับจุดมุ่งประสงค์และกิจกรรมการเรียนการสอน
2.
ศึกษาผู้เรียน โดยพิจารณาถึงวัย ระดับชั้น ความรู้ ประสบการณ์
และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้แหล่งเรียนรู้
3.
ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา สาระ ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แต่ละเรื่อง
อาจมีลักษณะเฉพาะบางเรื่องด้วยการปฏิบัติจริง หรือเรียนรู้จริง ดูการสาธิตจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และบางเรื่องต้องอาศัยจากการสืบค้นข้อมูล การฟัง การดู
และการอ่าน
4.
พิจารณาประโยชน์และความคุ้มค่าของแหล่งเรียนรู้ว่าสามารถเร้าความสนใจ
สื่อความหมายและประสบการณ์การเรียนการสอนแก่ผู้เรียน การจัดประสบการณ์ เรียนรู้แก่
ผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
5.
หาประสิทธิภาพของสื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยการปรับปรุงสื่อที่จัดไว้
เพื่อเป็นการปรับคุณภาพของสื่อว่าเหมาะสม ในการนำไปใช้
วิธีการใช้แหล่งเรียนรู้
วิธีการใช้แหล่งเรียนรู้
คือ
การนำผู้เรียนไปสู่แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในบริเวณโรงเรียนและนอกบริเวณโรงเรียน
เพื่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์จริง และสอดคล้อง
กับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักดังนี้
1.
การใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ต้องเริมจากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ในบ้าน
ในห้องเรียน นอกบริเวณโรงเรียน เช่น ไร่ นา แปลงเกษตรสาธิต ไร่นาสวนผสม โบราณสถาน
โบราณวัตถุ สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบการ เป็นต้น
2.
การใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อฝึกปฏิบัติ ทดลอง ศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง
เช่น การปฏิบัติการเกี่ยวข้าว การทำนา การทำไร่ งานเชื่อมโลหะ งานปูน งานไม้
และการฝึกงานในสถานที่ราชการ สถานประกอบการ เป็นต้น
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนรู้
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสู่การเรียนการสอน
เป็นการนำคตินิยม ความเชื่อหรือหลักการพื้นฐานที่เกิดจากการสั่งสมหรือสืบทอดกันมา
หรือขนมธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและจริยธรรม
ที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงามและความเป็นระเบียบแบบแผนที่เคยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบโรงเรียน
มี 3 ลักษณะ คือ
คน
แนวคิดชาวบ้าน
ผลงานชาวบ้าน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
-
การเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน
-
การนำนักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้หรือสถานประกอบการของภูมิปัญญาท้องถิ่น
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน
โรงเรียน ครูผู้สอนหรือผู้ที่รับผิดชอบจะต้องศึกษาและจัดทำรายละเอียด
ข้อมูลในการจัดทำ โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ
ศึกษาหลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตรแกนกลางจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น
( เอกสาร ศน. ที่ 5/2545)การนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีแนวทางดังนี้
ศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้
จัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จัดทำแผนการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
ขอความร่วมมือกับชุมชนและตัววิทยากรท้องถิ่น
เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาถ่ายทอดความรู้ หรือนำนักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้
ทำการวัด ประเมินผล
รายงานผล สรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
ข้อดีในการนำแหล่งเรียนรู้
และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริง
ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน
ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อชุมชน
และกระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เรียนเกิดความรักท้องถิ่นและเกิดความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าในท้องถิ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น