กิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรนั้น
นักพัฒนาหลักสูตรและนักการศึกษาได้เสนอแนะไว้ดังนี้
สุมิตร คุณานุกร (2520 : 130-132)
ได้เสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ว่าประกอบด้วยกิจกรรม 3 ประเภท
คือ
1.
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ การตีความหมาย
และการกำหนดรายละเอียดของหลักสูตร โดยจะดำเนินการในรูปแบบเอกสารประกอบหลักสูตร
และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่น โครงการสอน ประมวลการสอน คู่มือครู เป็นต้น
2. การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆ
ภายในโรงเรียน
เพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมายผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจดูปัจจัยและสภาพต่างๆ
ของโรงเรียนว่าเหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3. การสอน
ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูประจำการ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้
ครูจึงเป็นตัวจักรที่สำคัญที่สุด
ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเลือกวิธีสอนให้เหมาะสม
โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำ และให้กำลังใจ
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537 : 198)
กล่าวว่า
เอกสารหลักสูตรเมื่อได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะได้ทบทวนตรวจสอบอีกครั้ง
ดังนั้น ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้มีดังนี้
1.
ตรวจสอบทบทวนหลักสูตรตามหลักการของทฤษฎีหลักสูตร
2.
ทำโครงการและวางแผนการศึกษานำร่องเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตร
3. ประเมินโครงการศึกษาทดลอง
4. ประชาสัมพันธ์หลักสูตร
5.
การอบรมครูผู้บริหารผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. นำหลักสูตรไปปฏิบัติจริงหรือเรียกว่าขั้นดำเนินการใช้หลักสูตรเต็มรูป
7.
การอบรมครูเพิ่มเติมในส่วนที่จำเป็นในระหว่างการใช้หลักสูตร
8.
การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
สงัด
อุทรานันท์ (2532 : 263-271) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีงานหลัก 3
ประการ คือ
1. งานบริหารและบริการหลักสูตร
จะเกี่ยวข้องกับ งานเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร
การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน
2.
งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกอบด้วย
การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น การจัดทำแผนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.
งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรประกอบด้วย
การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร และการตั้งศูนย์บริการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมหรืองานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้มีมาก
นับแต่งานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพื่อการเตรียมการใช้หลักสูตร เช่น
การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน
งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้จริง เช่น การจัดการเรียนการสอน หรือ
งานที่ต้องกระทำหลังการนำหลักสูตรไปใช้แล้ว เช่น
การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร การประเมินผลการใช้หลักสูตร ลักษณะงานต่างๆ
นี้จะเห็นได้ชัดเจนตามขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
กิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
สงัด อุทรานันท์ (2532 : 263-271) กล่าวว่า
การนำหลักสูตรไปใช้มีงานหลัก 3 ประการ คือ
1. งานบริหารและบริการหลักสูตร จะเกี่ยวข้องกับ
งานเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร
การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน
2.
งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกอบด้วย
การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น การจัดทำแผนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.
งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรประกอบด้วย
การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรและการตั้งศูนย์บริการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1.
ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
-
การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
-
การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
-
การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
-
การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2.
ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
- การบริหารและบริการหลักสูตร
-การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
-
การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3.
ขั้นติดตามและประเมินผล
- การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
- การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1.
การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2.
การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3.
แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1. การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2. การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3. การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่
และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4. ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1. ผู้บริหารโรงเรียน
2. หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3. ครูผู้สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น