กิจกรรมคำถามท้ายบท บทที่ 3
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เรื่องประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
ตอบ ประเภทของหลักสูตร
1.หลักสูตรบูรณาการ
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ
มาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะของหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ
คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา
มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ
โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา
การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ
นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ
วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
2.
หลักสูตรกว้าง
มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ
ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา
เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
3.
หลักสูตรประสบการณ์
เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม
และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน
เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง
ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและเค้าโครงหลักสูตร
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน
คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจเรียนกัน
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
4.
หลักสูตรรายวิชา
เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม
โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร
จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่
หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2.จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้
และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3.จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ
เป็นสำคัญ
4.โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น
และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้
ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้
มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา
5.
หลักสูตรแกน
เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ
และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรแกน
หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน
อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้
จุดเน้นของหลักสูตร จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม
โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก
6.
หลักสูตรแฝง
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า
และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
7.
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้
เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ
นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อห้าที่ต้องการ
สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี ได้แก่
1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง
คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์
เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว
หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม
และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า
แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม
และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง
8.
หลักสูตรเกลียวสว่าน
เป็นการจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น
แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ
ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก
และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
9.
หลักสูตรสูญ
เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
โดยไอส์เนอร์ เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้
และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
คำสำคัญ (Key words)
· - หลัก 7
ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles in curriculum design)
· - ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่
21 (3Rs+7Cs)
· - สี่เสาหลักทางการศึกษา (Four
Pillars)
· - World Class Education
“ทุกสิ่งโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
โลกเปลี่ยนจึงทำให้สังคมเปลี่ยน
สังคมเปลี่ยนทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์จึงต้องเปลี่ยน เมื่อทักษะเปลี่ยนมนุษย์จึงต้องเปลี่ยน
เมื่อมนุษย์เปลี่ยนการเรียนรู้ของมนุษย์จึงเปลี่ยนตาม
และเมื่อการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเรียน การสอน
จึงต้องเปลี่ยนตาม”
จากคำกล่าวข้างต้นนี้สามารถเป็นคำตอบได้ดีสำหรับคำถามที่ว่า
“เพราะเหตุใดจึงต้องมีการออกแบบหลักสูตร”
ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งบนโลกล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน
หรือในอนาคตนั้น ครูผู้สอนจะต้องไม่เน้นการสอน แต่ต้องเน้นออกแบบการจัดการเรียนรู้
เน้นการสร้างแรงบันดาลใจ เน้นเป็นโค้ชไม่ใช่ผู้สอน
ครูต้องเรียนรู้ทักษะและทฤษฎีว่าด้วยการเป็นครูอย่างต่อเนื่อง เช่น
ทักษะการวินิจฉัย ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจศิษย์
ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้
และสร้างความรู้ใหม่ จึงเป็นที่มาว่าทำไมหลักสูตรจึงต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
จากการศึกษาในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรพบว่าในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร(Curriculum Design)
เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาที่มีความสำคัญโดยจากการศึกษารูปแบบโมเดลการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
(Tyler’s Model of Curriculum Development)
ทำให้ได้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆในการจัดทำหลักสูตร
โดยหนึ่งในนั้นมีขั้นตอนในการออกแบบหลักสูตรรวมอยู่ด้วย
เบื้องต้นในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงแนวคิดสำคัญที่ใช้เป็นหลักยึดในการออกแบบหลักสูตร
ตลอดจนอธิบายถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วยรูปแบบโมเดลของไทเลอร์ (Tyler’s
Model Curriculum Development)
หลักการสำคัญในการออกแบบหลับสูตร
การออกแบบหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องมีหลักการต่างๆขึ้นมาเพื่อรองรับ
เพื่อให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับการนำไปใช้
และเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สำหรับหลักการสำคัญสิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ
ความเป็น World Class Education เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นไปอย่างสากล
และยังมีหลักการที่ใช้เป็นหลักยึดในการออกแบบหลักสูตรนั้นอื่นๆอีก ได้แก่
- หลัก 7
ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles of curriculum design)
เป็นหลักคิดเพื่อการสร้างหลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ
โดยได้กล่าวว่าการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือหลักสูตรนั้นต้องประกอบด้วยพื้นฐาน 7
ประการ คือ
- - Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข)
คือ หลักสูตรต้องได้รับการออกแบบให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในการเรียนรู้
- - Breadths (ความกว้าง)
คือ หลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้
เพราะการเรียนรู้มีได้หลากหลายแนวทาง
- - Progressions (ความก้าวหน้า)
คือ หลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
- - Depths (ความลึกซึ้ง)
คือ
หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญคือ
หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
- -Coherence (ความเกี่ยวข้อง)
คือ
หลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
- Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือ
เนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
- - Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก)
คือ
หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
2.
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่
21 (3Rs+7Cs)
ศ.
น.พ.วิจารณ์ พานิชได้กล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ว่า การศึกษาต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker และเป็น
learning person ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่
21 ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge
worker แม้แต่ชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็น learning person และเป็น knowledge worker ดังนั้นทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่
21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)
ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต
ด้วยเหตุนี้ทักษะดังกล่าวจึงเป็นที่สำคัญที่ผู้เรียนพึ่งมีในศตวรรษที่21
ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญและสามารถใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยก่อนหน้านี้การศึกษาของเรายึดหลัก 3Rs คือ
เน้นการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น
และต่อมาจึงได้เพิ่มเติมรวมหลัก 7Cs ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
เข้าด้วยกัน จึงกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs
· - Reading (อ่านออก)
· - Writing (เขียนได้)
· - Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
· - Critical Thinking & Problem solving คือ
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการคิดแก้ปัญหา
· - Creativity & Innovation คือ ทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว
คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
· - Cross-Cultural understanding คือ
ทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
· - Collaboration Teamwork & leadership คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ
· - Communication information and media literacy คือ
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ
· - ICT literacy คือ ความสามารถในยุคของ Digital
age ความสามารถในการใช้เครื่องเทคโนโลยี
· - Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต
คือทักษะการประกอบอาชีพ หรืออาจหมายถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคมของเรา
ดังที่ได้กล่าวมาเมื่อนำกหลัก 7Cs มาจัดกลุ่ม
สามารถแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ
· การพัฒนาด้านความคิด ได้แก่ Critical
Thinking, Creativity, Collaboration, และ
Cross-Culture
· ความสามารถความเข้าใจ
(Literacy) ได้แก่ Information, Communication, Media, และ
ICT
· ทักษะการใช้ชีวิต (Life Skill) ได้แก่
การมองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลางไม่ใช่มองตนเองเป็นศูนย์กลาง
3.
สี่เสาหลักของการศึกษา
(The four Pillars of
Education)
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔
ประการของการศึกษาตลอดชีวิต
ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑
ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning
: The Treasure Within ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕
ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่
1. การเรียนเพื่อรู้ (Learning to Know)
การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง
และยังหมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง (Learning to Do) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง
ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ
3. การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน (Learning to Live Together) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า
มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน
ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ
ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต
(Learning to Be) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น
ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น
การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ
การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย
ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล. 2545 : 97
– 98) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย
จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ
การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น
สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา
การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ
โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น
วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน
และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว
เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ การกำหนดรูปแบบต่าง
ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน
ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ
สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร
เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้
โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร
และการนำหลักสูตรไปใช้
5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น
การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก
การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
1) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
2) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
3) แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์
อเล็กซานเดอร์และเลวีส
4) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
5) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
6) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU
Model
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แบบจำลองของไทเลอร์ ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร
ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา
การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
(ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แสดงดังภาพประกอบที่1
ภาพประกอบ 1 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ภาพประกอบ 1 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ที่มา : Allan C. Ornstien & Francis P. Hunkins, (1998 : 198).
ไทเลอร์มองว่า
นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม
ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต
ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม
ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน
เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ
หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา
ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น
หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย
ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร
3 ประเด็น คือ
การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้
และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น
โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่
1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่
2 การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่
3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่
4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่
5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่
6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่
7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร
ดังนี้
1. จุดหมาย
วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก
เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม
และอื่นๆ
2. การออกแบบหลักสูตร
นักวางแผนลักสูตรต้องดำเนินการออกแบบหลักสูตร
ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึง
ธรรมชาติของวิชา
รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
3. การนำหลักสูตรไปใช้
ผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน
โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร
นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย
การประเมินมีจุดเน้น 2 ประเภท คือ 1) การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน
ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน
ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 2) การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ
ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์
อเล็กซานเดอร์และเลวีส ดังภาพประกอบ 3
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ
นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด
จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง
และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์
แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา
คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้
จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก
ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง
และแก้ไขข้อบกพร่อง
4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร
และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5. ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4
ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ
สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู)
วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ
ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4 การประเมินผล
ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ
การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ
“การพัฒนาหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตร
ตอบ การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
การออกแบบหลักสูตรอาศัยแนวคิดจากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์
คือ
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
(Tyler, 1969)
การออกแบบหลักสูตร คือ
การตัดสินใจเกี่ยวกับรูปร่างหรือการจัดเค้าโครงในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร
อันจะนำไปสู่การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระ
ช่วยให้ครูเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาระงาน 4
เรื่อง คือ จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ
ประสบการณ์การเรียนรู้การสอน และการประเมิน
การออกแบบหลักสูตรที่แตกต่างกันให้คุณภาพที่หลากหลายทั้งความรู้และประสบการณ์
การออกแบบหลักสูตรต้องพิจารณาเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรกและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดการสอน
การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระและงานที่มอบหมาย เรื่องของเวลาและการจัดสรรทรัพยากร
จะต้องตอบให้ได้ว่าผู้เรียนจะเรียนอะไร จะจัดโครงสร้างที่เรียนอย่างไร
หลักสูตรจะแสดงในรูปแบบใดและจะจัดโครงสร้างอย่างไร
ผู้ออกแบบหลักสูตรต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
หลักสูตรโดยทั่วไปถูกออกแบบตามสาขาวิชา (Discipline) เช่น วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์
หรือออกแบบตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ (Field) เช่น ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง สังคมศึกษา
หรือออกแบบเป็นหน่วย (Unit) เช่น หน่วยดนตรีแจ๊ส หน่วยสื่อสารมวลชน หรือออกแบบตามศูนย์กลางการจัดระเบียบ (Organizing
Centers) เช่น กระบวนการ โครงการ ภาระงาน หรือออกแบบตามการติดตามความสนใจ (Personal Persuits) เช่น ชมรมแอร์โรบิก ชมรมประกอบอาหาร
ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein and Hunkins, 1998) ได้สรุปการจัดกลุ่มแนวคิดการออกแบบหลักสูตรไว้
3 กลุ่ม ได้แก่
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา
(Subject-centered
Design) ซึ่งอาศัยแนวคิดปรัชญา
การศึกษาที่สำคัญ คือสารัตถะนิยมและนิรัตรนิยมเป็นหลัก ได้แก่
หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject Design)หลักสูตรแบบสาขาวิชา (Discipline Design) หลักสูตรแบบหมวดวิชา
(Broad Fields Design) หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (Correlation
Design) และ หลักสูตรเน้นกระบวนการ (Process Design)
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered
Design) เป็นหลักสูตรที่มอง
ประโยชน์ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ได้แก่ หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-centered Design) หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (Experience-centered Design) หลักสูตรแบบจิตนิยม (Romantic/ Radical Design) และ
หลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic Design)
3. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
(Problem-centered
Design) เป็นหลักสูตร
ที่มุ่งเน้นภาระหน้าที่ ชีวิตภายในสังคม สถานการณ์ในสังคม เน้นสภาพของสังคม
ปัญหาสังคมเป็นหลัก ได้แก่ หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (Life-situation
Design) หลักสูตรแกนกลาง (Core Design) และหลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม
(Social Problems and Reconstructionist Design)
การออกแบบหลักสูตรตามแนวคิดของปริ้นส์ ลาลวานี (Princess Lalwani, 2012)
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ
(Subject-centered
Curriculum Design)
มุ่งเน้นเนื้อหาสาระเป็นฐาน
ให้ความสำคัญกับการจัดการในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ
กลยุทธ์และทักษะชีวิต เช่น การแก้ปัญหา
การตัดสินใจหรือทีมงาน
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Learner-centered
Curriculum Design) มี
สาระสำคัญอยู่ที่ความคาดหวังเกี่ยวกับผู้เรียนที่จะได้สำรวจความต้องการในชีวิตของตนเอง
ครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ผู้เรียนจะไม่ถูกกำหนดให้เป็นผู้กระทำ
แต่จะได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้โดยการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนและสิ่งแวดล้อม
การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้เรียน ได้เรียนรู้แบบเปิดและเป็นอิสระ
โดยเลือกกิจกรรมจากครูจัดให้หลากหลาย
3. การออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน
(Learner-centered
Curriculum Humanistic Design) การเรียนรู้ในอุดมคติของของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความคิด
ความรู้สึกและการกระทำ แนวคิดในการพัฒนาตนเองในทางบวก (Positive
self-concept) และทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal skills)
4. การออกแบบหลักสูตรแบบปัญหาเป็นฐาน
(Problem-centered
Curriculum Design) เป็น
การสนับสนุนชีวิตจริงของผู้เรียน
เพราะต้องเสาะแสวงหาความรู้และแก้ปัญหา ปัญหาต่าง
ๆเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง
โดยการฝึกการแก้ปัญหาในโรงเรียนด้วยการเลือกประเด็นปัญหาในเชิงปรัชญาหรือเชิงจริยธรรมในแต่ละท้องถิ่น
5. การออกแบบหลักสูตรตามกระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
(Curriculum
Development
Models Design) มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้
หลักสูตรแบบนี้ให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เป็นการออกแบบโดยกลุ่มนักวางแผนการศึกษา
มีการตัดสินใจที่มาจากฝ่ายการเมืองและกลุ่มตัวแทนสังคมต่าง ๆ
แนวคิดการออกแบบหลักสูตรมีดังนี้
5.1 การออกแบบหลักสูตรกลุ่ม (Deductive Models) ให้ความสำคัญกับการกำหนดจุดมุ่งหมายของ
การศึกษาและการระบุวัตถุประสงค์เฉพาะที่แสดงความสำเร็จ
ไทเลอร์กล่าวว่าการออกแบบหลักสูตรด้วยธรรมชาติและโครงสร้างความรู้ต้องมุ่งตอบสนองความต้องการจำเป็นของผู้เรียน
5.2 การออกแบบหลักสูตรกลุ่ม (Inductive Models) เป็นการออกแบบตามแนวคิดของทาบาซึ่งเชื่อ
ว่าผู้สอนจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการด้วยการสร้างหน่วยการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนในโรงเรียนด้วยตนเอง
หลักการออกแบบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ (Griffith University)
สถาบันการศึกษาควรจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับกิจกรรมการสอนซึ่งจะมีผลการเรียนรู้ทางบวก
ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ความรู้ เจตคติและพฤติกรรม มีหลักการดังต่อไปนี้
1.สร้างประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม
มีแรงจูงใจและมีแรงกระตุ้นทางปัญญา
2. ส่งเสริมการสืบค้นและตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
3. เน้นการเชื่อมโยง
การบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ด้วยการปฏิบัติอย่างมืออาชีพเพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง
4. ให้ประสบการณ์ที่พัฒนาความสามารถระหว่างวัฒนธรรม
สังคมของนักเรียนที่แตกต่างและการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
5. ให้ความสำคัญกับคุณค่า ความทรงจำและวัฒนธรรมที่หลากหลายของบุคคล
6. เพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง
การออกแบบหลักสูตรของสก็อตแลนด์
หลักการพื้นฐาน 7 ประการ
ซึ่งต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและการพัฒนาการของแต่ละคน
1. กระตุ้นความท้าทายและความพอใจ
(Challenge and
enjoyment)โดยผู้เรียนจะได้รับ
ประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้พัฒนาและแสดงความคิดสร้างสรรค์
2. ขยายขอบเขตความรู้ (Breadth) ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและ
เหมาะสมภายใต้บริบททั้งภายในชั้นเรียนและบรรยากาศของโรงเรียน
3. ความก้าวหน้า (Progression) ผู้เรียนจะมีอัตราความก้าวหน้าที่เป็นไปตามความต้องการและ
ความถนัด
4. ความคิดลึกซึ้ง (Depth) ให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถตามความแตกต่างและการคิดของแต่ละ
คน
5. บุคลิกภาพและทางเลือก
(Personalisation
and choice) หลักสูตรต้องตอบสนองความต้องการ
จำเป็นของบุคคล โดยเฉพาะและความเป็นเลิศของผู้เรียน
6. การเชื่อมโยง (Coherence) กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้เรียน
7. ความสัมพันธ์ (Relevance) ผู้เรียนต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายของกิจกรรม
โดยเห็นคุณค่าในการ
เรียนรู้และความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
การออกแบบหลักสูตรรายวิชา
เวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์
มหาวิทยาลัยเวสมินส์เตอร์ให้ข้อเสนอแนะในการออกแบบหลักสูตรรายวิชาโดการตอบคำถามต่อไปนี้
1. ผู้ออกแบบคาดหวังว่าอะไรที่จะช่วยให้หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จ
2. สถาบันการศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรรายวิชา
3. การประกันคุณภาพมีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอย่างไร
4. อะไรเป็นแบบจำลองที่ตรงกับความประสงค์ในการออกแบบหลักสูตร
5. อะไรเป็นจุดหมายและผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
6. ประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างไร
7. อะไรเป็นกลยุทธ์ในการเรียนรู้
การสอนและการประเมิน
8. จะต้องปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเรียนรายวิชาหรือไม่
9. จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร
จะวางแผนการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรอย่างไร
10. หลักสูตรจะพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลายหรือไม่
การออกแบบหลักสูตร : การเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้
ออร์นสไตน์และฮันกิน (1998) กล่าวว่าการออกแบบหลักสูตรมีสิ่งที่เกี่ยวข้อง
4 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ
ประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
ฮาเด็น (Harden, 1986) ได้นำแนวคิดว่า
ผลการเรียนรู้เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการวางแผนหลักสูตร
แนวคิดนี้ยังปรากฏในงานของบลูม (1956) ซึ่งเขาได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็น
3 ปริเขต ได้แก่ ปริเขตพุทธพิสัย (Cognitive
Domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ปริเขตจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นวัตถุประสงค์เกี่ยวกับทัศนคติ
และปริเขตทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะเคลื่อนไหว
ปริเขตพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) อนันต์ ศรีโสภา (2520)
สรุปไว้ว่าตามแนวคิดของบลูมและคณะ
จุดมุ่งหมายด้านนี้จำแนกออกเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ 6 ชั้นซึ่งเรียงจากง่ายไปยากดังนี้
1. ความรู้ (Knowledge) ซึ่งแบ่งเป็น
ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาโดยเฉพาะ ความรู้เกี่ยวกับวิธีและการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะหรือความรู้ที่เกี่ยวกับการรวบรวมแนวคิดและโครงสร้างของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2. ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก
การแปลความ การตีความ การขยายความ
3. การนำไปใช้ (Application) นำสาระสำคัญต่าง
ๆไปใช้ในสถานการณ์จริง
4. การวิเคราะห์ (Analysis) คือการแยกเรื่องราวเป็นส่วนย่อย
ๆ
5. การสังเคราะห์ (Synthesis) การรวมส่วนประกอบต่าง
ๆเข้าด้วยกัน
6. การประเมินค่า (Evaluation) การตัดสินคุณค่า การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายในและภายนอกมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
บลูมและคณะได้แบ่งความคิดออกเป็นระดับต่ำและระดับสูง ดังนี้
ความคิดระดับต่ำ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 : ความรู้ (ระลึกและสามารถเรียกข้อมูลกลับ)
ระดับ 2 : ความเข้าใจ (แปลความหมายและการแสดงออกว่ามีความเข้าใจ)
ระดับ 3 : การนำไปใช้
(การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่)
ความคิดระดับสูง 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 : การวิเคราะห์ (ระบุความสัมพันธ์และเหตุจูงใจ)
ระดับ 2 : การสังเคราะห์
(เชื่อมโยงข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลหรือในรูปแบบใหม่)
ระดับ 3 : การประเมิน (ใช้เกณฑ์และสถานการณ์เพื่อวินิจฉัยและการตัดสินผล)
ปริเขตจิตพิสัย (Affective Domain) บลูมและแครทโฮล
แบ่งจิตพิสัยเป็นลำดับดังนี้
1. การรับรู้ (Receiving or attending) การยอมรับหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งเร้า
เช่น ความตั้งใจเรียน การ
ฟังอย่างตั้งใจ การรับรู้จำแนกเป็นพฤติกรรมย่อย ได้แก่
การรู้ตัว (ไม่อยู่ในสภาพใจลอย) การเต็มใจ (ไม่หลีกเลี่ยง)
และการควบคุมหรือคัดเลือกการรับรู้ (การควบคุมสมาธิ การติดตามสังเกต)
2. การตอบสนอง (Responding) การแสดงออกด้วยความสนใจ
ความเต็มใจในสิ่งเร้า เต็มใจที่จะมี
ส่วนร่วม เช่น เต็มใจอ่านหนังสือหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ
การตอบสนองจำแนกเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ ได้แก่ การยอมทำตาม การตอสนองด้วยความยินดี และการตอบสนองที่มีความพึงพอใจ
3. ค่านิยม (Valuing) ความรู้สึกหรือความสำนึกจนกลายเป็นความเชื่อและทัศนคติ
ค่านิยมจำแนก
เป็นพฤติกรรมย่อย ๆ ได้แก่ การยอมรับในค่านิยม
ความรู้สึกชื่นชอบในค่านิยมนั้น
การยึดมั่นในค่านิยมนั้น
4. การจัดระบบ (Organization) ค่านิยมหรือคุณค่า
เน้นคุณค่าทางจิตใจโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์
และโครงสร้างของค่านิยม เป็นระดับพฤติกรรมด้านจิตใจที่สูงขึ้น จำแนกเป็น 2 ข้อย่อย ได้แก่ การสร้างมโนทัศน์ของคุณค่า คือ
การมีความรู้เกี่ยวกับค่านิยม
การมองเห็นความสัมพันธ์ของคุณค่ากับสิ่งที่ตนเองยึดถือ และ การจัดระบบคุณค่า คือการนำเอาคุณค่ามาจัดเป็นระบบ
5. การสร้างลักษณะนิสัย
(Characterization
by a value or value complex) เมื่อแต่ละคน
ค่านิยมใดแล้วก็จะควบคุม ให้บุคคลนั้นแสดงออกเป็นพฤติกรรม
จำแนกย่อย ๆ ได้แก่การมีหลักยึดในการตัดสินใจหรือพิจารณาสิ่งต่าง ๆ
และการแสดงลักษณะนิสัยที่เป็นไปโดยสมบูรณ์
การออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน
(Objective-Based
Approach)
ข้อดี
1. วัตถุประสงค์ที่เขียนดีและมีรายละเอียดผลการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเห็นภาพ
พฤติกรรมที่คาดหวังชัดเจนเมื่อเรียนจบซึ่งจะช่วยในการจัดทิศทางและเกิดเสถียรภาพในรายวิชา
2. ผลการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องชัดเจนหรือการพรรณนาความสามารถช่วยในการปรับวิธีสอนให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผู้สอนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์
ต้องเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการประเมินเพราะผู้สอนทราบ
ดีว่าควรประเมินพฤติกรรมใด
พฤติกรรมที่แตกต่างกันต้องใช้การประเมินที่แตกต่างกัน
4. การเขียนรายงานผลการเรียนรู้หรือการพรรณนาความสามารถมีประโยชน์ที่สุดในการพัฒนา
แบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง
ข้อจำกัด
1. วัตถุประสงค์อาจให้สถานภาพ
(Status) มากกว่าที่เป็น ไม่ควรทำราวกับจุดประสงค์เป็นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ (Sacrosanct) แต่มันเป็นการพิจารณาคุณค่าบางส่วนของผู้เรียนคนหนึ่งเท่านั้น
2. การสอนและการเรียนรู้อาจถูกกำหนดมากเกินไปจนทำให้ความคิดริเริ่มชะงัก
3. ผลการเรียนรู้และการพรรณนาความสามารถยากและใช้เวลา
ผู้สอนหลายคนอาจรู้สึกไม่ค่อยมี
เวลาเขียนวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่ดี
4. การพัฒนารายวิชาหรือหลักสูตรเป็นกระบวนการวัฎจักรต่อเนื่อง
ทั้งวัตถุประสงค์และผลการ
เรียนรู้ควรมีการทบทวนบ่อย ๆ
หากไม่ได้สะท้อนการตีความที่ถูกต้องของการเน้นและทิศทางของรายวิชาก็ควรเปลี่ยนวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้นั้น
ปริเขตทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คิบเลอร์ได้จัดลำดับทักษะพิสัยดังต่อไปนี้
1. ระดับการเลียนแบบ เช่น
การคัดลายมือตามตัวอย่าง
2. ระดับการลงมือทำตาม
เช่น การเขียนแบบ การวาดรูป
3. ระดับความแม่นยำ
เช่น การฝึกพิมพ์ดีดให้เร็วและถูกต้อง
4. ระดับความต่อเนื่อง
เช่น การขับรถยนต์
5. ระดับการกระทำจนเคยชิน
เช่น การซ่อมมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โดยสรุป ประเภทของวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้มี 5 ประเด็น ดังนี้
1. ความคิดระดับต่ำ
(ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ)
2. ความคิดระดับสูง
(การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน)
3. จิตพิสัย
(การรวมวัตถุประสงค์ทั้งหมดและผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ทัศนคติและ
คุณค่า)
4. ทักษะ
(การรวมวัตถุประสงค์ทั้งหมดและผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ความคล่องแคล่ว
ในการทำงานด้วยตนเอง การประสานงานของมือและตา
ความสามารถในการฝึก)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ครอบคลุมทักษะชีวิตที่หลากหลายที่ไม่มีใน 3 ปริเขตตามแนวคิด
ของบลูม
รวมทั้งวัตถุประสงค์ทั้งหมดและผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร(การเขียนและการพูด)
การฟัง การทำงานเป็นทีม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การแสดงภาวะผู้นำ
อ้างอิง
สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นครปฐม :
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น