9. หลักสูตรสูญ ( Null Curriculum)
หลักสูตรสูญหรือ Null Curriculum เป็นความคิดและคำที่บัญญัติขึ้นโดยไอส์เนอร์
(Eisner,1979)แห่งมหาวิทยาลัยแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาหลักสูตรสูญเป็นชื่อประเภทของสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในระหว่างนักการศึกษา และนักพัฒนาหลักสูตรด้วยกัน
เขาได้นิยามหลักสูตรสูญว่าเป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน
เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่าสิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่ในตัวหลักสูตรและสิ่งที่ครูไม่ได้โดยให้เหตุผลว่าความรู้หรือการขาดสิ่งที่ควรจากรู้ไม่ได้เป็นแต่เพียงความว่างเปล่าที่หลายคนอาจคิดว่าไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การขาดความรู้ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบที่สำคัญมากในแง่ที่ทำให้ผู้เรียนขาดทางเลือกที่เขาอาจนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของเขาได้
นั้นก็คือการขาดความรู้บางอย่างไปอาจทำให้ชีวิตของคนๆ
หนึ่งขาดความสมบูรณ์ได้
นอกจากนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า หลักสูตรสูญได้แก่
ทางเลือกที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียน
ความคิดและทรรศนะที่ผู้เรียนไม่เคยสัมผัสและเรียนรู้สิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปประยุกต์ใช้ได้แต่มีไว้ไม่พอรวมทั้งความคิดและทักษะที่ไม่ได้รวมไว้ในกิจกรรมทางปัญญา
1. ประเด็นที่ควรพิจารณา
ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น
ประเด็นแรกได้แก่ กระบวนการทางปัญญา(Cognitive process)
ที่โรงเรียนเน้นและละเลยประเด็นที่สองได้แก่เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร
ในประเด็นของกระบวนการทางปัญญานั้น ไอส์เนอร์ หมายถึงกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรู้สิ่งเร้าต่างๆไปจนถึงการคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบเขาได้มองลึกลงไปว่าแนวความคิดทางด้านศึกษาศาสตร์ได้จำกัดความหมายของกระบวนการทางปัญญาให้แคบลงไปและโรงเรียนก็พยายามเน้นและพัฒนาความคิดของนักเรียนให้อยู่ภายในขอบเขตที่กำจัดโดยเขาเชื่อว่ายังมีรูปแบบการคิดที่เป็นประโยชน์อีกมากแต่ไม่เปิดเผยออกมาทางวาจารวมทั้งการคิดที่ขาดเหตุผลเชิงตรรกะรูปแบบเหล่านี้จะทำหน้าที่ของมันผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเห็น
การฟังการเปรียบเทียบและการสังเคราะห์กระบวนการคิดแนวนี้ทางโรงเรียนให้ความสนใจน้อยมากทั้งๆที่การติดตามรูปแบบนี้จะต้องเกิดขึ้นและพัฒนาตัวมันเองขึ้นมาแน่ๆ นอกโรงเรียน
จากข้อเท็จจริงตามประเด็นแรกนี้ สรุปได้ว่าโรงเรียนสร้างผลกระทบให้เกิดแก่ผู้เรียนได้โดยไม่เพียงแต่จากสิ่งที่สอนเท่านั้นแต่จากสิ่งที่ควรสอนแต่ไม่นำมาสอนอีกด้วยเพราะสิ่งที่นักเรียนไม่มีโอกาสพิจารณาสิ่งที่เขาไม่มีโอกาสรู้และกระบวนการที่เขาไม่มีโอกาสใช้
จะมีผลต่อการดำรงชีวิตของนักเรียน
ประเด็นที่สองที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น ไอส์เนอร์ชี้แจงว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ว่าในสหรัฐอเมริกาหรือที่ไหนๆ ในโลกนี้มักจะสอนเนื้อหาเก่าๆเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นในระดับประถมศึกษาก็จะสอนเกี่ยวกับการสอนเกี่ยวกับการอ่านการเขียนและการคิดเลขเป็นหลักแล้วมีสังคมศึกษาวิทยาศาสตร์ทั่วไปสุขศึกษาพลศึกษาและอื่นๆในเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีและรูปแบบการดำรงชีวิตทำไมจึงไม่นำวิชาหรือเนื้อหาอื่นๆใหม่ๆที่จำเป็นมาสอนบ้างเขาได้ให้ความเห็นในจุดนี้ว่าเนื้อหาวิชาที่สอนกันเรื่อยมาจนเป็นประเพณีของโรงเรียนนั้นไม่ใช่เป็นเพราะขาดการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งถึงความเป็นไปได้ของการนำเนื้อหาอื่นๆใหม่ๆมาสอนแต่มักจะเป็นเพราะพวกเขาถูกสอนมาอย่างนั้น ครูโดยทั่วไปจะสอนในสิ่งที่เคยสอนกันมาตามนิสัยและความเคยชินและโดยกระบวนการนี้ทำให้เกิดการละเลยสาขาวิชาใหม่ๆ ที่พิสูจน์แล้วว่า
มีคุณประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
จากเหตุผลและแนวคิดดังกล่าวนี้ ถือได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์
กฎหมาย จิตวิทยาและมนุษยวิทยา เป็นหลักสูตรสูญ
ของหลักสูตรระดับประถมและมัธยมศึกษา
การพิจารณาหลักสูตรสูญในเชิงเนื้อหานั้น
มีการมองตั้งแต่การขาดเนื้อหาในระดับวิชาไปจนถึงระดับรายละเอียดหรือหรือหัวข้อย่อยๆของวิชานั้นๆในกรณีของหลักสูตรสูญในระดับประถมและมัธยมศึกษาสามารถอธิบายให้เห็นได้ว่าการขาดเนื้อหาในระดับวิชาจะปรากฏออกมาในรูปของเนื้อหาที่ขาดหายไปจากรายวิชาของวิชาหลัก เช่น
วิชาประวัติศาสตร์ที่สอนกันอยู่โดยทั่วไปมักจะละเลยการสอน“ประวัติของวิทยาศาสตร์”ซึ่งถือว่าเป็นรายวิชาหนึ่ง หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์
นอกจากนี้การที่รายวิชาหนึ่งๆ
ขาดหรือละเลยหัวข้อหัวเนื้อหาหนึ่งเนื้อหาใดไปก็ถือว่าเป็นหลักสูตรสูญเช่นเดียวกันตัวอย่างของการขาดเนื้อหาในระดับนี้ได้แก่การที่ย่อยลงไปกว่านี้ได้แก่การที่หลักสูตรสูญชีววิทยาขาดการบรรจุเรื่อง “ความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ”
เอาไว้ระดับย่อยลงไปกว่านี้ได้แก่ การละเลยรายละเอียดเฉพาะของเนื้อหา เช่น
หัวข้อเนื้อหาเรื่อง “ผัก” อาจจะครอบคลุมไม่ถึง “ผักกวางตุ้ง.” หรือ “ผักชี” เป็นต้น
ทั้งสองประเด็นที่กล่าวมานี้
เป็นมิติที่ไอส์เนอร์ซึ่งเป็นเจ้าของความคิดเรื่องหลักสูญได้กำหนดเอาไว้เป็นหลักในการพิจารณาสิ่งที่ขาดหายไปจากหลักสูตรต่อมาฟลินเดอร์และคณะ(Finders,et.al,1986)ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์สอนอยู่ในสถาบันเดียวกันกับไอส์เนอร์ได้เสนอประเด็นการพิจารณาเพิ่มขึ้นมาอีกประเด็นหนึ่งอันเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาทางด้านอารมณ์และความรู้สึก
(affect) อันประกอบด้วยค่านิยม เจตคติ และอารมณ์ โดยนัยเดี่ยวกันหลักสูตรสูญตามประเด็นที่สามนี้ ได้แก่
การที่หลักสูตรไม่ได้คำนึงหรือบรรจุความรู้สึก เจตคติ
และค่านิยมในบางด้านและบางเรื่องเอาไว้
2. การนำความคิดของหลักสูตรสูญไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
ถึงจุดนี้ ผู้เรียนเข้าใจแล้วว่า
หลักสูตรสูญได้แก่สิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอนหรือสิ่งที่ไม่ได้บรรจุไว้ในหลักสูตร และสิ่งที่ขาดหายไปจากหลักสูตรจำแนกออกได้เป็น3ด้านคือสิ่งที่ขาดหายไปในรูปของกระบวนการทางปัญญา เนื้อหา และด้านความรู้-ค่านิยม
คงไม่ยากที่จะทำความเข้าใจแนวคิดของเรื่องนี้แต่ปัญญาหาที่อยู่ในใจของเราก็คือว่าเราจะใช้อะไรเป็นตัวกำหนดหรือเป็นกรอบในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นส่วนที่ขาดหายไปจากหลักสูตร
(หรือหลักสูตรสูญ) เช่น ในกรณีที่เราไม่ได้เปิดสอนวิชาตรรกวิทยาในระดับชั้นอนุบาลจะถือว่าวิชาตรรกวิทยาเป็นหลักสูตรสูญของหลักสูตรอนุบาลหรือไม่คำตอบก็คือไม่ใช่ที่ตอบเช่นนี้ก็โดยเหตุผลที่ว่าตามปกติเวลานักพัฒนาหลักสูตรจะกำหนดเนื้อหาลงไปในหลักสูตรนั้นเขาจะคำนึงถึงความจำเป็นความเหมาะสมและความสอดคล้องของเนื้อหาที่มีต่อผู้เรียนดังนั้นเมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใดหรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตรก็จะต้องมีการกำหนดกรอบ (frame of
reference) ที่เป็นกลางๆ เอาไว้อ้างอิง ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆ
ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของเรียนแล้วหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันทีจากตัวอย่างการพิจารณานำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น
ต้องถือว่า หลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษาจะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา
สรุป(Summary)
ความคิดเกี่ยวกับ “ประเภทของหลักสูตร” ที่กล่าวมานี้
จะมีประโยชน์ต่อการประเมินผลและการวิเคราะห์หลักสูตรเป็นการช่วยในนักพัฒนาหลักสูตรได้หันมาพิจารณาหลักสูตรให้ครบอีกครั้งว่าจุดหมายและเนื้อหาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้วนั้นเหมาะสมแล้วหรือยัง มีเนื้อหาใด
กระบวนการคิด และความรู้สึกประเภทใดที่เป็นประโยชน์ และสำคัญควรที่ผู้เรียนรู้แต่ไม่มีในหลักสูตรก็จะได้ประชุมหารือกันระหว่างนักพัฒนาหลักสูตร และผู้รับผิดชอบ
เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น