1.หลักสูตรบูรณาการ
1.
เหตุผลและพื้นฐานความคิด
1.1 เหตุผลทางจิตวิทยาและวิชาการ
โดยธรรมชาติเด็กหรือผู้เรียนจะมีความสนใจ ฉงนสนเทห์และมีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหาความรู้และสร้างความเข้าใจในสิ่งต่างๆอยู่เสมอสมองของเด็กจะไม่จำกัดอยู่กับการเรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นส่วนๆโดยเฉพาะเมื่อมีการแสวงหาความรู้ก็จะเรียนรู้หลายๆอย่างพร้อมๆกันด้วยเหตุนี้หลักสูตรบูรณาการจึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมเพราะจะสามารถสนองความต้องการของเด็กหรือผู้เรียนได้
1.2 เหตุผลทางสังคมวิทยา
เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การศึกษาจะเกิดผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อให้ผู้เรียนสามารถตอบปัญหาในชีวิตประจำวันได้
ด้วยเหตุนี้หลักสูตรจึงต้องเป็นหลักสูตรสนับสนุนสิ่งดังกล่าวซึ่งคุณสมบัตินี้มีอยู่ในหลักสูตรบูรณาการกล่าวคือประสานสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาต่างๆใช้ปัญหาหรือกิจกรรมเป็นศูนย์กลางของหลักสูตรอันจะมีผลให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะและเจคติความต้องการของชีวิต
1.3 เหตุผลทางการบริหาร
หลักสูตรบูรณาการช่วยให้ลดตำราเรียนได้ คือแทนที่จะแยกเป็นตำราสำหรับแต่ละวิชา
ซึ่งทำให้ต้องใช้ตำราหลายเล่ม
ก็อาจรวมเนื้อหาของหลายวิชาไว้ในตำราเล่มเดียวกันและยังสามารถทำให้เป็นที่น่าสนใจมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ในกรณีที่ขาดแคลนครูหลักสูตรบูรณาการซึ่งอาศัยการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นหลักจะช่วยให้ครูหนึ่งคนสามารถสอนได้มากกว่าหนึ่งชั้นในเวลาเดียวกัน
ลักษณะของหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่นการบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ
คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา
มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจโดยเฉพาะในด้านจริยศึกษาการเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆนำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการโดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ
วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
รูปแบบของบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2. บูรณาการภายในหัวข้อและโครงการคือการนำเอาความรู้ทักษะและประสบการณ์ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3.บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคมผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา
รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น