ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า
“การพัฒนาหลักสูตร” ไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า
“การพัฒนา” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development”
มีความหมายอยู่ 2ลักษณะ คือ 1) การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น 2) การทำให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ
คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น
กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba)
ได้กล่าวไว้ว่า
“
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล
และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน
หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
กู๊ด (Good)
ได้ให้ความเห็นว่า
“
การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล
ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม
เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร
อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น
ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร(Curriculum
Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล
และสภาพสังคม
ทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum
Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน (รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ
โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ
ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ
กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2.ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา
กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3.ทฤษฎีจุดประสงค์
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ Hilda
Taba เป็นทฤษฎีที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบและส่วนประกอบด้านต่างๆ
ที่สำคัญของหลักสูตร
ที่หลอมรวมกันเป็นหลักสูตรคุณภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ
ดังนั้นถ้าต้องการให้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ใช้ควรนำแนวทางนั้นไปทดลองและปรับใช้ในการเรียนการเรียนการสอนให้เห็นจริง
จึงจะส่งผลให้หลักสูตรนั้นกลายเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
หน้าที่ของทฤษฎี
1.
จุดมุงหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา
นักปรัชญายังหาคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา ความรู้คืออะไร ความจริงคืออะไร
อะไรคือคุณค่า
2.
ทฤษฎีมาจากคำในภาษากรีกว่า theoria connoting แปลว่า “การตื่นตัวของจิตใจ” มันเป็นชนิดของ
“มุมมองที่บริสุทธิ์” ของความจริง
ทฤษฎี อธิบายความเป็นจริง ทำให้ผู้คนตระหนักถึงโลกของพวกเขาและปฏิสัมพันธ์
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
SU Model
SU
Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม
ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3ประการ คือ
1 พื้นฐานทางปรัชญา
2.พื้นฐานทางจิตวิทยา
3.พื้นฐานทางสังคม
โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3ด้าน ได้แก่
ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2
ปรัชญา คือ
ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
ประเพณี
ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล
เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
ด้านผู้เรียน
กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)
ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม
เนื่องจากสังคมมีปัญหา
ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน
ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ
พื้นฐานทางสังคม
พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆสี่ภาพ
ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย
4 ขั้นตอน ดังนี้
-
ขั้นตอนที่หนึ่ง คือ การวางแผนหรือ Planning ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์
คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
- ขั้นตอนที่สอง คือ การออกแบบหรือ Design
ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์
คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา
เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา
เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
-
ขั้นตอนที่สาม คือ การจัดการหลักสูตรหรือ Organize ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้
(Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์
คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ
เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
- ขั้นตอนที่สี่ คือ การประเมินหรือ Evaluate
ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์
คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การออกแบบหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเริ่มต้นจากระบบการร่างหลักสูตร
ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.
ระบบการร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การกำหนดหลักสูตร โดยดูความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง หลังจากนั้นเริ่มกำหนดรูปแบบหลักสูตร ได้แก่
การกำหนดหลักการโครงสร้างองค์ประกอบหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา
ประสบการณ์การเรียนและการเมินผลหลังจากนั้นดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ
หรือการสัมมนา และมีการทดลองนำร่อง
พร้อมทั้งรวบรวมผลการวิจัยและปรับแก้หลักสูตรก่อนนำไปใช้
2. ระบบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย
การขออนุมัติหลักสูตรจากหน่วยงานหรือกระทรวงดำเนินการวางแผนการใช้หลักสูตร
โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของบุคลากร จัดงบประมาณและวัสดุหลักสูตร
บริการสนับสนุนจัดเตรียมอาคารสถานที่ ระบบบริหารและจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
และติดตามผลการใช้หลักสูตร หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบการบริหารหลักสูตร
โดยการดำเนินการตามแผนกิจกรรมการเรียนการสอนแผนการสอน คู่มือการสอน
คู่มือการเรียน เตรียมความพร้อมของผู้สอน
ความพร้อมของผู้เรียนและการประเมินผลการเรียน
3.
ระบบการประเมินผล ประกอบด้วย การวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร
ทั้งการประเมินย่อย การประเมินรวบยอด การประเมินระบบหลักสูตร
ระบบการบริหารและสัมฤทธิ์ของผู้เรียน หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานข้อมูลตามลำดับ
1.พื้นฐานในการจัดทำหลักสูตร
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา
หมายถึงอุดมคติ อุดมการณ์อันสูงสุดซึ่งยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษา
มีบทบาทในการเป็นแม่บทเป็นต้นกำเนิดความคิดในการกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา และเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษา ช่วยกำหนดหลักการและ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร รวมทั้งสิ่งอื่นที่จะตามมาคือ
การเลือกเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลเป็นต้น
ปรัชญาการศึกษาต่าง ๆ มีดังนี้
ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism)
ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด
และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมเพราะเห็นว่า สิ่งที่นำมาสอนนั้น ดีงาม ถูกต้อง
และกลั่นกรองมาดีแล้ว เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี
เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิต ประวัติศาสตร์วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น
การจัดการเรียนรู้ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เน้นการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียน
รับรู้และจำ คำนึงถึง เนื้อหาสาระมากกว่าความแตกต่างระหว่างบุคคล
วิธีสอนที่ใช้มากคือการบรรยายหรือการพูดของครู
ผู้เรียนต้องอยู่ในระเบียบวินัยจนสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้
การประเมินผลเน้นด้านความรู้
ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism)
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า การจัดการศึกษาควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม
มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ
เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ไวทยากรณ์ศิลปะการพูด คณิตศาสตร์
ดาราศาสตร์ และดนตรี วิธีสอนใช้การฝึกฝนทางปัญญา เช่น การอ่าน การเขียน
การฝึกทักษะ การท่องจำ การคำนวณ และการถามตอบ
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือปรัชญาพิพัฒนนิยม
หรือปรัชญาวิวัฒนาการนิยม (progressivism) ปรัชญาการศึกษานี้ถือว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือของสังคมในการถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง
การจัดการศึกษาตามแนวนี้จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน เน้นการปฏิบัติจริง
และความสัมพันธ์กับสภาพจริง การจัดการเรียนรู้ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง วิธีการใช้มากคือ การทำโครงการ การอภิปรายกลุ่ม
และการแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล
ปรัชญาอัตนิยม หรือปรัชญาอัตถิภาวนิยม
หรือปรัชญาสวภาพนิยม (existentialism) ปรัชญานี้ มีความเชื่อว่า
ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองจึงเน้นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม
เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ การจัดการศึกษาจึงให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้
การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน
และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง
การจัดการเรียนรู้เน้นพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน
วิชาที่เรียนเป็นวิชาที่พัฒนาความสามารถของบุคคลเฉพาะ ลงไป เช่น ศิลปะ ปรัชญา
วรรณคดี การเขียน การละคร เป็นต้น
ปรัชญาปฏิรูปนิยม (reconstructionism)
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแลงสังคมโดยตรง
เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม
ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก
การจัดหลักสูตรยึดอนาคตเป็นศูนย์กลาง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น
เนื้อหาวิชาเน้นหนักในหมวดสังคมศึกษา ด้านพฤติกรรมศาสตร์ อิทธิพลของชุมชน
ใช้วิธีสอนแบบให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เน้นการอภิปราย
การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาของสังคม
พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปสังคมด้วย ตารางสอนจัดแบบยืดหยุ่น (flexible
schedule) การประเมินผลวัดพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนและทัศนคติเกี่ยวกับสังคม
2. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น
นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกบตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร
มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะ จิตวิทยาพัฒนาการ (developmental
psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology of
learning) ซึ่งจิตวิทยาทั้ง 2
สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรโดยตรง นอกจากนี้
นักพัฒนาหลักสูตรยังให้ความสำคัญกับจิตวิทยาทั่วไป (generalpsychology) ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
จิตวิทยาพัฒนาการกับการพัฒนาหลักสูตร ทำให้ทราบถึงความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ
เจตคติ และศักยภาพด้านต่าง ๆ
ที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคนองค์ประกอบของพัฒนาการของมนุษย์ มี 2 ประการคือ
1. วุฒิภาวะ (maturity) หมายถึง กระบวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายที่ทำให้เกิดความพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ใด
ๆ หรือเป็นไปโดยธรรมชาติ
2.
การเรียนรู้ (learning) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก
ประสบการณ์ การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นด้วยการจูงใจ หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจก็ได้
พัฒนาการและการเจริญเติบโตของมนุษย์
แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย (physical
development) เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างทั้งขนาดรูปร่าง
และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (mental
development) เป็นความเจริญงอกงามที่บ่งบอกถึงการเพิ่มพูนความสามารถในการประกอบกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
และรวบรวมความรู้ความเข้าใจไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นพัฒนาการทางด้านความคิด ความจำ
และความเข้าใจ
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ (emotion
development) เป็นพัฒนาการทางด้านความรู้สึกและทัศนคติของบุคคล
4. พัฒนาการทางด้านสังคม (social
development) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของบุคลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
เป็นความสามารถของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคม
และวัฒนธรรมที่อาศัยอยู่ตลอดถึงการพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพ
และพัฒนาการทางด้านศีลธรรมด้วย
3. พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของการศึกษา
คือการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามและสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมให้สอดคล้อง
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้ง
สนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษา
จึงเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา
การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอ
จึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาว่าใช้หลักฐานกับคนในสังคมใดก็ต้องคำนึงถึงลักษณะของคนในสังคมนั้นว่าจะให้มีลักษณะแบบใด
ลักษณะใดที่ต้องการให้เกิดขึ้นและลักษณะใดไม่พึงประสงค์
แล้วกำหนดใช้ในหลักสูตรและแนวดำเนินการของหลักสูตร
การศึกษาจึงทำหน้าที่ทำนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมเก่าที่ดีงาม
คัดสรรค์วัฒนธรรมใหม่ที่เข้ามาว่าวัฒนธรรมใดควรรับไว้
วัฒนธรรมใดควรปรับปรุงแก้ไข่ให้เหมาะสมกับสภาพของสังคม วัฒนธรรมใดควรสกัดกั้น
โดยการบรรจุวัฒนธรรมที่สังคมต้องการถ่ายทอดและสงวนรักษาไว้ในหลักสูตร
สกัดกั้นวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่จะเข้ามาทำลายความเป็นเอกลักษณ์ของชาติของสังคม
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมประจำชาติ
ความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม การยอมรับและปรับปรุงวัฒนธรรมในสังคมให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปในทางที่เหมาะสมกับสังคม
นอกจากนี้ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรจะต้องฝึกให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณในการพิจารณาวัฒนธรรมต่าง
ๆ ที่มีอยู่และที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาในสังคมว่าดีหรือไม่ดีอย่างไรควรตัดสินใจรับไว้หรือไม่
รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานต่อวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและพัฒนาสังคมไปพร้อมกัน
การพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ
ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง
ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา
ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม
เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
2.
การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน
โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ
มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา
ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ
ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
3.
การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ
ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้
จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า
เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง
แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม
ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
4.
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ
มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน
และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร
ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ
ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร
การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร
ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1.มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2.มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี
ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ
ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ
วัสดุอุปกรณ์ เอกสารหลักสูตรต่าง ตลอดจนสถานที่ต่างๆ
ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี
และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
4.ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้
ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น
5.การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ
เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้
และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
6.หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความ
สามารถ
7.การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทุกหน่วยงาน จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ
มาประเมินวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
1.การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ
การตีความหมายและกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของเอกสารประกอบหลักสูตร
และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่นโครงการสอน ประมวลการสอน คู่มือครูเป็นต้น
2.การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย
ผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่า
เหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3.การสอนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูประจำการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้
ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม
โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำและให้กำลังใจ
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ 9 ปัจจัย
โดยแบ่งเป็นปัจจัยหลัก 3 ประการ และปัจจัยสนับสนุน
6
ประการซึ่งแต่ละปัจจัยสรุปดังนี้
1. แรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผู้บริหารโรงเรียนและผู้มีส่วนร่วมจะมีอิทธิพลอย่างมากที่จะจูงใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเพื่อนร่วมงานให้มีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งแรงจูงใจเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ
ถ้าเริ่มต้นด้วยการจูงใจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น
ไม่มีการสนับสนุนด้านเวลา ทรัพยากร ข้อมูล
แต่ให้ทำงานใหญ่
หรือถ้าบรรยากาศของโรงเรียนที่ไม่เอื้ออำนวยก็จะเป็นอุปสรรคในการทำงานได้
ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ครูในโรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นในความพอใจที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้ซึ่งช่วยกระตุ้นทีมงานให้วางงานประจำโดยใช้การจูงใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ซึ่งต้องใช้เวลาระยะยาวในการพัฒนาทีมงานทั้งหมดของโรงเรียน
2. ความสนใจในแนวคิดของนวัตกรรม
แนวคิดของนวัตกรรมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ถ้าครูหรือผู้บริหารไม่สามารถนำเสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ
ครูจะไม่เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ดังตัวอย่าง
ในประเทศอังกฤษผู้บริหารโรงเรียนจะเริ่มต้นโครงการโดยการเชิญบุคคลภายนอก เช่น
ผู้อำนวยการทางการศึกษามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3. การควบคุมการทำงานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ควรทำให้ผู้มีส่วนร่วมในทีมงานพัฒนาหลักสูตรรู้สึกว่าไม่ถูกควบคุม
แต่สร้างให้มีความรับผิดชอบต่องานและได้แสดงความเป็นเจ้าของในงาน หากมีการควบคุมมากจากส่วนกลางที่มาจากนักพัฒนาหลักสูตร
จะเป็นการเสี่ยงอย่างมากต่อความล้มเหลวในการทำงาน
4.รูปแบบของกิจกรรม
กิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
สามารถจัดได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเวลา งบประมาณ และวัตถุประสงค์ กิจกรรมจะเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลผลิต เช่น
เน้นที่การจัดระบบองค์กรที่ดี
การสื่อสารที่เหมาะสม
ความสามารถของทีมงานที่จะร่วมกันแก้ปัญหา และขวัญกำลังใจของทีมงาน
เพราะการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทีมงานทั้งหมดของโรงเรียนหรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกับหมวดวิชา
5.
บรรยากาศของโรงเรียน
บรรยากาศของโรงเรียนหรือบรรยากาศขององค์กรเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยดูที่การให้การสนับสนุนของผู้บริหาร
การจูงใจครู ความสัมพันธ์ของสังคม
พิจารณาที่ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศขององค์กรและสรุปว่าการสนับสนุนของผู้บริหารเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดในความสำเร็จของกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
6. บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
จำนวนของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรูปแบบการมีส่วนร่วมมีความสำคัญยิ่งต่อกิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งจากการศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ควรพัฒนาสิ่งต่อไปนี้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ ทักษะเกี่ยวกับหลักสูตร ได้แก่
ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา
ทักษะการสร้าง การใช้ และประเมินหลักสูตร และ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ การเป็นผู้นำในการประชุม/อภิปราย การสื่อสาร
การประสานงาน การให้คำปรึกษา
เสนอแนะเพื่อนร่วมงาน
การสอนเพื่อนร่วมงาน
การบำรุงรักษาขวัญกำลังใจและลดความวิตกกังวลของเพื่อนร่วมงาน
และการจัดการกับความขัดแย้ง
7. เวลาทำกิจกรรมของการพัฒนาหลัก
สูตรสถานศึกษาในแต่ละโรงเรียนที่จะสามารถขับเคลื่อนการทำงานของทีมงานและมีการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาว
เพราะต้องมีการสะท้อนความคิด และช่วงการอภิปรายของสมาชิกตลอดเวลา
8.
ทรัพยากรทรัพยากรของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ประกอบด้วย
เงินบริจาค วัสดุ อุปกรณ์ เช่น
เอกสารในการทำกิจกรรม เครื่องมือต่างๆ หลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก
การสาธิตและการเยี่ยมเยียนเสนอแนะในการประชุมปฏิบัติการ การช่วยเหลือด้านเวลา เช่น
ลดคาบการสอน จัดระบบชั้นเรียนใหม่
การให้เงินช่วยเหลือครู และการช่วยเหลือด้านข้อมูลต่าง ๆ
9. การสนับสนุนจากภายนอกหน่วยงานองค์กรจากภายนอก
เช่น รัฐ จังหวัด หน่วยงานด้านการศึกษาในท้องถิ่นเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยเปลี่ยนแปลง
มีนโยบายให้ทีมของโรงเรียนมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีหน้าที่วางแผนด้านหลักสูตรด้วยผู้บริหารโรงเรียน
และครู ประสานงานกับหน่วยศึกษานิเทศก์ และนักการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งจ้างโดยคณะกรรมการของโรงเรียน
จากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาข้างต้น
สรุปได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานั้นต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ
การสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนร่วม การเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจและการให้ผู้มีส่วนร่วมได้รับผิดชอบและมีความเป็นเจ้าของ
ซึ่งจะมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้รูปแบบกิจกรรมต่างๆ
การสร้างบรรยากาศของโรงเรียนที่เอื้ออำนวยมีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกโรงเรียนสนับสนุน
มีทรัพยากร/ข้อมูลที่เพียงพอมีการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งมีการวางแผนที่จะพัฒนาความรู้
ความสามารถของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับ
ทักษะการพัฒนาหลักสูตรและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้จะส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น