วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศึกษาเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต บทที่ 5



           พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร 6ด้าน และความหมายความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร

    พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร  6ด้าน

1. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา แบ่งออก 5ปรัชญา

                สารัตถนิยม  การศึกษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม และอุดมการณ์ทางสังคม การจัดการเรียนการสอนเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่างๆ ให้กับผู้เรียน

                นิรันตรนิยม  มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล การควบคุมตนเอง การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนจดจำ การใช้เหตุผล และตั้งใจทำสิ่งต่างๆ

                อัตถิภาวนิยม  มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง

                ปฏิรูปนิยม  การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

                พิพัฒนนิยม  การดำรงชีวิตที่ดี อยู่บนพื้นฐานของการคิดและการกระทำ การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือกระทำ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

                อัตถิภาวนิยม   มีเสรีในการคิด ปฎิบัติงาน เสรีในการดดำรงชีวิต แต่อยู่ร่วมกันต้องมีกฎกติกา


2. พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ

 ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

        ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

                1. การเตรียมกำลังคน การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

                2. การพัฒนาอาชีพ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น

                3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม

                4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม

                6. การลงทุนทางการศึกษา คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


3พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม

              ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5 ยุคคือ

        1.ยุคเกษตรกรรม

        2.ยุคอุตสาหกรรม

        3.ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล

        4.ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้

        5. ยุคปัญญาประดิษฐ์

            การศึกษาข้อมูลดังกล่าวนั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ ประการสำคัญอีกประการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมนั้นมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เพราะบางรายวิชา สภาพชุมชนและสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควรก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา  โดยข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมนี้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ

4 พื้นฐานทางด้านการเมือง การปกครอง

                การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น


5. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา

                ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น  4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่    
      
 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 

            2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)

            3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)

            4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism) 


6. พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

               ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
                พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ 

                1.นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม

                2.ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

                ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม


ความหมายความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 95) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร (Curriculum) มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า “race - course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เนื่องมาจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งอนาคต และในปัจจุบัน ความหมายของหลักสูตรหมายถึง มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

กาญจนาคุณารักษ์ ( 2550: 334) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกประเภท เพื่อให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมให้ตรงตามจุดประสงค์ทีกำหนดไว้

สันต์ ธรรมบำรุง (2557 : 152) สรุปความสำคัญของหลักสูตรไว้ 9 ประการ คือ

        1. หลักสูตร เป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้แนวทางปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง

        2. หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนรวมของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาชาติ

        3. หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เป็นบัญญัติของรัฐบาล หรือเป็นธรรมนูญในการจักการศึกษา เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฏิบัติตาม

        4. หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ของการศึกษาของรัฐแก่สถานศึกษาอีกด้วย

        5. หลักสูตรเป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา ที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุม ดูแลติดตามให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลด้วย

        6. หลักสูตรจะกำหนดแนงทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา

        7. หลักสูตรจะกำหนดและลักษณะรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในรูปใด

        8. หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นการพัฒนากำลังซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบะสังคมแห่งชาติที่ได้ผล

        9. หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศใดจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงย่อมได้กำลังที่มีประสิทธิภาพสูง
          
          สงัด อุทรานันท์ (2558 : 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้

       1. หลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็นขั้นตอนอย่างดีแล้ว

       2. หลักสูตร ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ

      3.หลักสูตร เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นสำหรับให้ประสบการณ์ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน

      4. หลักสูตร ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้ และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของโรงเรียน
           
          สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 10) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น

          จากแนวคิดดังกล่าวแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร คือ แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific manament) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต (product approach) ซึ่งได้แก่ Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1981) โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable result) ในรูปแบบของความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ตามแนวคิดของบลูม

          โบแชมป์ (Beauchamp, 2000:107) ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ประการ

1. เนื้อหา

2. จุดมุ่งหมาย

3. การนำหลักสูตรไปใช้

4. การประเมินผล

สำหรับ ไทเลอร์ (Tyler, 1950) ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 4 ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้

1. ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง

2. เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง

3. ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

4. ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว

ทาบา (Taba, 1962 : 422. อ้างถึงในชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์ , 2551 : 48) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ต้องประกอบด้วย

1. จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ

2. เนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้

3. การประเมินผล


ดังนั้นจึงสามารถสรุปองค์ประกอบของหลักสูตร ได้ดังนี้

1. การวางแผนหลักสูตร (curriculum Planning) เป็นการใช้พื้นฐานแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ อย่างแรกต้องทราบจุดมุ่งหมายการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา มีการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ ผู้เรียนและสังคมอาจเพิ่มเติมด้านสาขาวิชาและด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร

2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) การออกแบบหลักสูตรคือ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้  โดยการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร

3. การจัดหลักสูตร (Curriculum Orgaziation) เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยต้องพิจารณาว่าตรงตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ และสอดคล้องกับคำถามที่ 3 ของไทเลอร์ ที่ได้กล่าวว่า จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบริหาร การนิเทศและการจัดการเรียนรู้

4. การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลของหลักสูตร รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต

ทาบา (Taba 2005: 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงเอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้

กู๊ด (Good. 2013 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ
1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
โอลิวา (Oliva. 2011 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้

          1.การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าทีที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะการคิดผู้เรียน เป็นต้น

         2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของหลักสูตร ในลักษณะนี้จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือหลักสูตรที่เน้นการปฏิรูปสังคม เป็นต้น

        3.การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร คือ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร   
                     
ในการจัดมวลประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนนั้นผู้กำหนดหลักสูตร หรือนักพัฒนาหลักสูตรได้อาศัยปัจจัยทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ปรัชญา และจิตวิทยา มาเป็นตัวบ่งชี้จุดมุ่งหมายในหลักสูตร และจุดมุ่งหมายนี้เองก็กลับมาเป็นเกณฑ์ในการจัดมวลประสบการณ์ให้ผู้เรียน  ดังนั้น  หลักสูตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปตามความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. ปัจจัยทางด้านสังคม

หลักสูตรเกี่ยวกับสังคม เพราะ โดยปกติสังคมเป็นตัวกำหนดเป้าหมายการศึกษาด้วยสังคม คาดหวัง
      1.1  การศึกษาจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้สังคม ทั้งที่เป็นปัญหาร่วม อย่างปัญหาการคมนาคม ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สิน และชีวิตหรือปัญหาย่อยเฉพาะของแต่ละสังคม เช่น สังคมเมืองอาจประสบปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การจราจร ขณะที่สังคมชนบทมีปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัย เป็นต้น การกำหนดทิศทางของการศึกษาจึงเพื่อแก้ปัญหาใหญ่อันเป็นปัญหาร่วมของสังคม และยืดหยุ่นให้สังคมย่อยนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมนั้นๆ 
   
1.2  การศึกษาจะช่วยให้คนในสังคมสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ การจัดจึงต้องมีการเตรียมบุคคลให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมในอนาคตด้วย

1.3  การศึกษาจะช่วยให้คนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม จึงต้องปลูกฝังค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม และความสำนึกที่ดีให้แก้ผู้เรียน


2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

การวามแผนทางการศึกษา จำเป็นต้องพิจารณาจึงโครงสร้างและแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เพราะภาวะเศรษฐกิจมีผลต่อการศึกษาของประชาชนอยู่มาก กล่าวคือ

ประการแรกเศรษฐกิจเป็นทุนของการศึกษา ผู้ที่มีฐานะท่งเศรษฐกิจดีจะมีโอกาสได้รับการศึกษาสูง ผู้ที่ยากจนจะไม่มีโอกาสที่จะศึกษาได้

ประการทีสองเศรษฐกิจต้องการกำลังคนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การศึกษาจะช่วยพัฒนาคนเพื่อไปเป็นกำลังแรงงานที่มีความสามารถทางเศรษฐกิจ

          เป้าหมายทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเศรษฐกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน จึงสรุปได้ดังนี้

           2.1 เนื่องจาประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม การศึกษาจึงควรมุ่งพัฒนาเกษตรกรรม เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี

           2.2 เศรษฐกิจของสังคมไทยควรได้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น การศึกษาจะสอนให้รู้จักวิธีดารใช้และเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรกล ให้ความรู้เรื่องการใช้แรงงานตามสภาพความเหมาะสมในท้องถิ่น

           2.3 การจัดการศึกษาต้องพยายามสร้างทักษะอย่างแท้จริงในทุกวิชา และมุ่งปรับปรุงการเกษตรให้มีคุณภาพ และให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           2.4 การศึกษาจะต้องฝึกฝนให้คนรู้จักทำงานร่วมกัน รู้จักจัดซื้อ และการจัดจำหน่าย รวมทั้งการลงทุนที่ประหยัดแต่ให้ผลคุ้มค่าสูงสุด

3. ปัจจัยทางด้านปรัชญา  ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ได้สรุปไว้ดังนี้

          3.1 เนื้อหาสาระของการศึกษา ปรัชญา มีส่วนช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้ได้แนวทางการจัดการศึกษาที่ดีที่สุด เพื่อชีวิตและสังคมปัจจุบันและอนาคต

3.2 ด้านวิทยาการ ปรัชญามีส่วนช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความโดยใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา เกี่ยวกับคำและแนวคิด หลักการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจนในความคิดซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

4. ปัจจัยทางด้านการเมืองการปกครอง

การจัดการศึกษากับการเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กันมาโดยตลอด  รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษา ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้สำนึกและมีความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและตนเอง มีความคิดและความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมพลานามัย ระเบียบวินัย มีความรัก และธำรงศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย หวงแหนแผ่นดินเกิด ตลอดจนมีความซาบซึ้งและสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยจะเร่งดำเนินการดังนี้

1. จะจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภททั้งในและนอกระบบโรงเรียนให้ประสานสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

2. จะปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเทศให้มีเอกภาพประสานสัมพันธ์กัน ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติจะสนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานใช้ทัพยากรรวมกัน เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด

3. จะจัดและส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกระดับเป็นศูนย์บริการด้านการศึกษาวิชาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา พลานามัย นันทนาการและข่าวสาร

4. จะเร่งปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาทุกระดับ  โดยปรับปรุงระบบการวางแผนการบริหาร การเรียนการสอน การกำหนดมาตรฐานและวิทยฐานะ ระบบการติดตามประเมินผล  ตลอดจนการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันทุกระดับและคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

5. จะสงเสริมการพัฒนาหลักสูตร  สื่อการเรียนและเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดจนสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ

6. จะเร่งฝึกและอบรมในด้านระเบียบวินัย คุณธรรมความรู้จักรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง ความรักในศิลปวัฒนธรรมละความสำนึกความเป็นไทยร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ เอกราช อธิปไตยของชาติ  และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นจะส่งเสริมให้สถาบันศาสนาได้เข้ามามีบทบาทในการอบรมสั่งสอนด้านคุณธรรมให้มากขึ้น

7. จะส่งเสริมให้ผู้สอนในทุกระดับการศึกษาละทุกประเภทได้รับการยกย่องเชิดชู มีความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ

8. จะสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย เผยแพร่การวิจัย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้วิจัย ส่งเสริมให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ เพื่อสนองความต้องการของชุมชนและความก้าวหน้าทางวิชาการ

9. จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการขยายการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพ และจะปรับปรุงวิธีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความเสมอภาคทางการศึกษา โดยเน้นการให้โอกาสแก่ผู้เรียน และกลุ่มชนที่มีโอกาสน้อย

10.จะสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาภายในขอบเขต และสัดส่วนที่เหมาะสม  นอกจากนั้นจะพยายามสนับสนุนให้สถานบันทางการเงินเข้าช่วยเหลือสถานศึกษาเอกชน และส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนให้ดีขึ้น

11. จะสนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนร่วม

บรรณานุกรม:
จริยา   จริยานุกุล.  (2527).  หลักสูตรและหนังสือเรียนมัธยมศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 2.
              นครศรีธรรมราช: สำนักพิมพ์วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...