ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรเปรียบเสมือนตัวแม่บทหรือหัวใจของการศึกษาที่ถือเป็นแก่นสำคัญในการวางแนวทางการจัดการศึกษา
เป็นตัวกำหนดทิศทางของการศึกษาในการที่จะให้ความรู้ การเสริมสร้างเจตคติ
ตลอดทั้งการฝึกฝนในด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนารอบด้าน
สุมน อมรวิวัฒน์ (2530:92)
ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนว่า
หลักสูตรเป็นตัวกำหนจุดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
นั่นคือกำหนดจุดหมายปลายทางหรือลักษณะของผู้เรียนที่จะเป็นผลผลิตของการศึกษา
อย่างไรก็ตามหลักสูตรจะถูกกำหนดโดยเป้าหมายทางการศึกษาอีกที่หนึ่ง
อุทัย
บุญประเสริฐ (2531:179)
ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ว่า
หลักสูตรเป็นธงชัยในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
เป็นแผนแม่บทกำกับการทำงานทุกด้านของโรงเรียน
ปรียาพร
วงศ์อนุตรโรจน์ (2535:38-39)ให้แนวคิดว่า
หลักสูตรเป็นหลักและหัวใจของการจัดการเรียนการสอน
ทำให้การศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้และทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพ
หลักสตรจึงเป็นเสมือนแบบแปลนสำหรับการเรียนการสอน
อาจกล่าวได้ว่า
หลักสูตรนั้นมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนโดยตรง จะแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการสอนที่ต้องการมีอะไรบ้าง
จะสอนอะไร เป็นต้น
จากความสำคัญข้างต้น
อาจสรุปความสำคัญของหลักสูตรได้ดังนี้
1.
หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้เรียนหรือประชาชน คือ ผลผลิตของการศึกษา
ดังนั้น คุณภาพของประชาชนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรว่าต้องการให้ผู้ผ่านการศึกษามีคุณสมบัติอย่างไร
2.
หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา
เพราะหลักสูตรจะบอกให้ทราบว่าการจักการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร
จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการศึกษาของชาติว่ามุ่งทิศทางใด
ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายกับการจัดการเรียนการสอยจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
3.
หลักสูตรเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะบอกให้ครูรู้ว่าควรพัฒนาผู้เรียนด้านใด
จะสอนด้วยเนื้อหาสาระอะไร
และควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
4.
หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
4.1 มาตรฐานประการแรก สถาบันการศึกษา
หรือโรงเรียนจะต้องสอนให้ถึงมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดไว้ คือ
สอนให้ครบตามหลักสูตรที่วางไว้
4.2 มาตรฐานประการที่สอง
หมายความว่า
หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้ทุกสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นด้วนวัตถุประสงค์เดียวกัน
ได้จัดการศึกษาที่เป็นแบบแผนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการจัดการเรียนการสอน
5.
หลักสูตรเป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญของประเทศ เนื่องจาการศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคน
ดังนั้น ประเทศใดจัดหารศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์
และการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ย่อมได้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้การพัฒนาสังคมและชาติเป็นไปอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
1. หลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข
เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการเรียนที่สำคัญๆ
มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล มีโอกาสใช้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร
หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น สร้างความมั่นใจและให้กำลังใจในการเรียนรู้และเป็นบุคคลที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม
และวัฒนธรรมโดยเฉพาะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน
ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อบุคคลและสังคมสถานศึกษาควรต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน
มีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระเข้าใจในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวม
สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้ความเป็นธรรม มีความเสมอภาค มีความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับที่ตนดำรงอยู่ได้
ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระบบส่วนตน ระดับท้องถิ่น
ระดับชาติ และระดับโลก
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่จะนำมาใช้ดำเนินการการนำแนวคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27
วรรคสองที่กำหนดให้กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของสาระของหนักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น
เป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ
5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการเรียนการสอน
รวมทั้งสิ่งที่คาดหวังให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์
1.1
ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน
โรงเรียนมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ปลูกฝังเยาวชนในชุมชนให้เป็นพลเมืองที่ดีเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไป
จึงต้องทราบข้อมูลชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนนั้นๆ
ข้อมูลของชุมชนที่สำคัญมีดังนี้
1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน
เช่นแผนที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา จำนวนประชากร เพศ อายุ ศาสนาฯลฯ
2.ข้อมูลด้านการศึกษา
จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับต่างๆ จำนวนนักเรียนในระดับต่างๆ ฯลฯ
3.ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม
เช่นภาษาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
4.ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
เช่นรายได้ อาชีพ
5.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
6.ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน
เช่นยาเสพย์ติด มิจฉาชีพ โจร เป็นต้น
วิธีการศึกษาชุมชน
สามารถดำเนินการได้ดังนี้
-ศึกษาแบบทุติยภูมิ
(เอกสาร,งานวิจัย,สื่อสิ่งพิมพ์)
-ศึกษาแบบปฐมภูมิ
(สำรวจ,ลงพื้นที่,สอบถาม,สังเกต)
1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์
และสื่อต่างๆ ห้องต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม
1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
1. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2533) ให้พิจารณาจาก
1.1
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1.2
จุดประสงค์ของรายวิชา (ความมุ่งหวังที่ต้องการ)
1.3
เนื้อหาสาระ (โครงสร้างหลักสูตร)
1.4
กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
2. หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้พิจารณาจาก
2.1
มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
2.2
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
- 8 กลุ่มสาระ
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.3
การจัดการเรียนรู้
2.4
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
ปรับมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
3.1
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
- 8 กลุ่มสาระ (เท่าเดิม)
- วิสัยทัศน์
- พันธกิจ
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
-กิจกรรมสาธารณประโยชน์
3.2
การจัดการเรียนรู้
3.3
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ซึ่งสถานศึกษาควรนำข้อมูลทั้งสามอย่างนี้มาศึกษาและวิเคราะห์ ได้แก่
สภาพและความต้องการของชุมชน, ศักยภาพของโรงเรียน
และหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นที่ 2
การร่างหลักสูตร
เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์หรือการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติตามเป้าหมายกำหนดไว้
2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
จุดประสงค์ทั่วไป
คือเป้าหมายหรือสิ่งมุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ
และต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
จุดประสงค์การเรียนรู้
คือเป้าหมายที่มุ่งหวังจำแนกเรื่องและหัวข้อ เช่น
ให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาเรียน ให้นักเรียนบอกความหมายของวิชาที่เรียนได้
เป็นต้น
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
ควรกำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.3 การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อต่างๆ
ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน เนื้อหา จุดประสงค์
และหลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการสอน
หรือกระทั่งสื่อต่างๆ
2.4 การกำหนดวิธีและประเมินผลผู้เรียน
ต้องรู้ถึงคุณภาพของหลักสูตรนั้นๆ จึงต้องมีการประเมินผลผู้เรียน
เพื่อให้ทราบผมสัมฤทธิ์ของแผนการพัฒนาหลักสูตรอันจำเป็นต่อการพัฒนาในครั้งต่อๆไป
ขั้นที่ 3
การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
เมื่อร่างหลักสูตรเสร็จ
ต้องมีการตรวจสอบก่อนนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ
ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
-จุดประสงค์
-เนื้อหาสาระ
-การจัดการเรียนการสอน
-กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
-วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
ทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะจาก
•
คณะทำงานร่างหลักสูตร
•
ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
•
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 4
การนำหลักสูตรไปใช้
คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
ต้องกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ
เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประสานงาน เพื่อให้การสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
นอกจากนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า
“การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และการเรียนรู้
หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
(ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ) มีดังนี้
1.การเรียนรู้โดยตนเอง
คือการสร้างประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม วิทยาการ และโอกาส ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ
เกิดการคิด วิเคราะห์ ฝึกทักษะ ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
คือการเรียนรู้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น
ยังต้องเรียนรู้ตนเอง
สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมอันดีงาม
และยึดมั่นในคุณธรรม
3. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
คือ การเรียนรู้ในทักษะชีวิตที่สำคัญ ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เช่นการสื่อสาร
การสร้างสัมพันธภาพ การเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมถึง ความรู้ด้านสุขศึกษา เช่น
เพศศึกษา ยาเสพติด การแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวอีกด้วย
ส่วนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ก็คือการเข้าใจในศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวในการประกอบอาชีพนั่นเอง
4. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด
ในการฝึกประสบการณ์และปฏิบัติ เพื่อผจญกับปัญหาจริง และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
5. การเรียนโดยผสมผสานความรู้
คือการเรียนความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจผู้เรียน
6. การฝึกการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นประชาธิปไตย
คือการเรียนรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น, ความเสมอภาค,
หน้าที่, และศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก
และและมีความรัก ความหวงแหน ต่อคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย
8. การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้
คือการรวบรวมข้อมูล เพื่อการแก้ไข และเป็นเครื่องมือในการวิจัย
ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการประเมินคุณภาพ
9. การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน
คือการที่ครอบครัว, ชุมชน, และสถานศึกษา
มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
10.การประเมินผู้เรียน
คือ กระบวนการพิจารณาผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ โดยใช้เครื่องมือ เช่น
การประเมินผลตามจริง แฟ้มผลงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
การใช้หลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้จึงต้องมีหลักสูตรเป็นของตนเอง
คือหลักสูตรสถานศึกษาต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้าน
หลักสูตรสถานศึกษาจึงประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลเป็นประสบการณ์อื่นๆ
ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียนซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา
เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน
สังคม และโลกอย่างมีความสุข
การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรคืออะไร การสอนคืออะไร
ทำไมจึงนำคำว่าหลักสูตรมาสัมพันธ์กับการสอนหากจะเปรียบความมุ่งหมายทางการศึกษาในระดับชาติเป็นอุดมคติ
อุดมการณ์ความใฝ่ฝันของบุคคลแล้ว
หลักสูตรก็เปรียบได้กับโครงการของการปฏิบัติเพื่อให้อุดมคตินั้นบรรลุถึงผลสำเร็จ
หากจะเปรียบความมุ่งหมายทางการศึกษาเป็นผลที่มุ่งหวังแล้ว
หลักสูตรจะนำความมุ่งหมายดังกล่าวไปสู่ความสำเร็จ
การจัดการศึกษาในประเทศใดก็ตามจะไม่สำเร็จลุล่วงไปตามที่กำหนดไว้ถ้าไม่มีหลักสูตรเป็นโครงการและเป็นแนวทางในการให้การศึกษา
การให้การศึกษาหมายถึงการให้วิชาความรู้ การถ่ายทอดวัฒนธรรม
การปลูกฝังทัศนคติและค่านิยม และการเสริมสร้างความเจริญเติบโตและสมบูรณ์ทางร่างกาย
หรืออีกนัยหนึ่งการให้การศึกษาคือการพัฒนาผู้เรียนในทุกๆด้าน
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดไว้
หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา หลักสูตรที่ดีต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ
เพื่อให้มีเนื้อหาสาระทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี
และการเมือง หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะหลักสูตรเป็นส่วนกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดที่บ่งชี้ว่า
ผู้เรียนควรเรียนรู้อะไร มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงไร
ควรได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในด้านใด และควรมีพัฒนาการทั้งในส่วนของร่างกาย จิตใจ
สังคม และสติปัญญาอย่างไร
หลักสูตรจะเป็นเสมือนกับหางเสือที่จะคอยกำหนดทิศทางให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษา
หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่งครูจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน
หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา และเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ
ถ้าประเทศใดมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ คนในประเทศนั้นก็ย่อมมีความรู้และศักยภาพในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่
หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางหรือเป็นบทบัญญัติของรัฐในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ
อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา และควบคุมการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรที่ดีนั้นเราจะต้องรู้ถึงปัญหา
สภาพของปัญหาก่อนแล้วจึงระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา
จะต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้หลักสูตรที่ผ่านการพัฒนานั้นมีคุณภาพในการพัฒนาหลักสูตรการกำหนดจุดประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง
เพราะจะบอกถึงความมุ่งหวังว่าจะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใดรวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาสาระ
กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องพิจารณากำหนดจุดประสงค์อย่างรอบคอบ
และกำหนดอย่างชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม
สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน
ตลอดจนมีความสมดุลระหว่างความรู้และทักษะหรือระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น