การพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก
5 ประการ ดังนี้
1.
การกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรการให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งประเทศจำต้องใช้หลักสูตรหลาย
ๆ หลักสูตร เช่น หลักสูตรในระดับประถม หลักสูตรในระดับมัธยม
และหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น
หลักสูตรแต่ละระดับนี้สนองความต้องการของกลุ่มเยาวชนที่มีสภาพทางจิตใจ ร่างกาย
มีความสามารถในการเรียนรู้ และมีความต้องการทางการศึกษาแตกต่างกันออกไป
ดังนั้นหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจึงต้องมีความมุ่งหมายที่แสดงถึงเอกลักษณ์และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ความมุ่งหมายของหลักสูตรแต่ละระดับควรสอดคล้องและเสริมความมุ่งหมายทางการศึกษาในระดับชาติ
กิจกรรมแรกนี้เป็นความพยายามที่จะหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า “จะให้การศึกษาไปเพื่ออะไร” ผู้พัฒนาหลักสูตรจะตอบคำถามนี้ได้อย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อได้ทำการสำรวจและวิจัยข้อมูลด้านต่าง
ๆ เกี่ยวกับปัญหาหรือความต้องการอย่างแท้จริงของสังคมเสียก่อน
2. การเลือกการจัดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์
เมื่อได้กำหนดแล้วว่าความมุ่งหมายของหลักสูตรมีอะไรบ้าง
กิจกรรมขั้นที่สองในการพัฒนาหลักสูตรคือ การเลือกสรรวิชาความรู้และประสบการณ์ต่าง
ๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เมื่อเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์มาแล้ว
ผู้พัฒนาหลักสูตรยังต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า
เนื้อหาสาระอะไรควรไปสอนก่อนหรือสอนหลัง
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาไปได้อย่างสัมฤทธิผลสูงสุด
ในขั้นที่สองนี้ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตีปัญหาสองปัญหาให้แตกคือ
1.
เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ผู้เรียนควรรู้อะไรและควรมีประสบการณ์อะไรบ้าง
2.
จะจัดลำดับของความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นอย่างไร
จึงจะเกิดผลการเรียนที่สูงสุด
การพัฒนาหลักสูตรในสองขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นนับได้ว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ได้ผลงานออกมาแล้ว
ผลที่ได้คือตังรูปเล่มของหลักสูตรที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ บรรจุความมุ่งหมาย
และรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและกิจกรรม
ลำดับก่อนหลังของการนำเสนอสิ่งเหล่านี้ให้แก่ผู้เรียน
พร้อมทั้งการกำหนดเวลาในการเรียน
ตัวอย่างของผลงานที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตรสองขั้นแรก ได้แก่ หลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ฉบับปี พ.ศ. 2503 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการพิมพ์ออกใช้
หลักสูตรในความหมายนี้ยังไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นเพียงโครงการที่อยู่บนกระดาษ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยกระบวนการอีกสามขั้นตอนคือ
การนำเอาหลักสูตรไปใช้ให้เกิดผลแก่ผู้เรียน การประเมินผลหลักสูตร
และการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลหลักสูตรไปปรับปรุงแก้ไข
3.
การนำเอาหลักสูตรไปใช้การนำเอาหลักสูตรไปใช้ หมายถึง
การที่ผู้บริหารโรงเรียนและครู
นำเอาโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มเหล่านั้นไปปฏิบัติให้เกิดผล
ขั้นตอนที่สามนี้รวมถึงการบริหารงานทางด้านวิชาการของโรงเรียน
เพื่ออำนวยให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแม้ว่าขั้นตอนที่สามนี้จะรวมกว้าง
ๆ ถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนก็ตาม
หัวใจของการนำเอาหลักสูตรไปใช้คือการสอน และบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้คือครู
4. การประเมินผลหลักสูตรการประเมินผลหลักสูตร คือ
การหาคำตอบว่า หลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายหรือไม่
มากน้อยเพียงไร และอะไรเป็นสาเหตุ การประเมินหลักสูตรเป็นงานที่ละเอียด
ต้องการผู้ที่มีความรู้ทั้งในเรื่องของหลักสูตรและการประเมินผล
ความพยายามที่จะค้นพบว่า อะไรเป็นสาเหตุ
นี้เองทำให้การประเมินผลหลักสูตรกินขอบเขตกว้างขวางมาก
หลักสูตรไม่สัมฤทธิผลอาจเป็นเพราะความมุ่งหมายสูงเกินไป
หรือเพราะความมุ่งหมายมากเกินไป
ผู้ปฏิบัติไม่สามารถจะดำเนินการตามนั้นได้ทุกประการหรืออาจเป็นเพราะเลือกเนื้อหาหรือประสบการณ์ไม่สัมพันธ์กับความมุ่งหมาย
ครูสอนไม่เป็น โรงเรียนขาดวัสดุอุปกรณ์ ไม่มีคู่มือหลักสูตร ไม่มีประมวลการสอน ฯลฯ
สรุปแล้วการประเมินผลหลักสูตรครอบคลุมไปจนถึงการพิจารณาขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรทั้งสามเพื่อหาข้อบกพร่อง
การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานใหญ่ มีขอบเขตกว้างขวาง
ผู้ประเมินจำต้องวางโครงการการประเมินผลไว้ล่วงหน้าว่าจะมีกระบวนการอย่างไร
มีวิธีการอย่างไร
ดังนั้นโครงการประเมินผลหลักสูตรดังกล่าวจำต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ
และเมื่อนำไปใช้ประเมินแล้วควรมีการประเมินผลโครงการผลของหลักสูตรนั้น ๆ ด้วยว่า
มีความสมบูรณ์รอบคอบและเชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร
5. การปรับปรุงหลักสูตร
กระบวนพัฒนาหลักสูตรมีลักษณะเป็นวัฏจักร เริ่มต้นด้วยการกำหนดความมุ่งหมาย
เลือกและจัดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความมุ่งหมาย
นำหลักสูตรไปปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหมายไว้
ประเมินผลหาข้อบกพร่องของกระบวนการนี้ และนำเอาผลที่ได้ไปปรับปรุงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรจึงเริ่มต้นด้วยกระบวนการและขั้นตอนเดิมอีกคือ
ปรับปรุงความมุ่งหมาย เมื่อความมุ่งหมายซึ่งเป็นแม่บทเปลี่ยนไป
กระบวนการที่เหลือก็ต้องถูกเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องรับกัน
จนมาถึงการประเมินผลหลักสูตร
และนำเอาข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลไปปรับปรุงหลักสูตรอีก
เป็นวัฏจักรวนเวียนต่อเนื่องกัน
แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมี 2ประเภท คือ แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น
1. แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
1.1
แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต ฯลฯ
1.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องมัลติมีเดีย เว็บไซต์ ห้องอินเทอร์เน็ต ห้องเรียนสีเขียว ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องเกียรติยศ สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมุนไพร สวนวรรณคดี สวนสุขภาพ
สวนหิน สวนหย่อม สวนผีเสื้อ บ่อเลี้ยงปลา เรือนเพาะชำ
ต้นไม้พูดได้ ฯลฯ
2. แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน
2.1 แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เช่น สภาพแวดล้อม ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ ทะเล สัตว์
ฯลฯ
2.2
แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ภูมิปัญญา
ประเพณี วัฒนธรรม สถาบัน โบราณสถาน สถานที่สำคัญ
แหล่งประกอบการ
การพัฒนาหลักสูตร
ปรัชญาคืออะไร
ปรัชญา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้
ความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติ และชีวิตอย่างลึกซึ้ง
เพื่ออธิบายเหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้หลักการของเหตุผลในวิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงหรือความรู้ที่แน่นอน
สาขาของวิชาปรัชญา
สาขาปรัชญาแบ่งเป็น
3 สาขา คือ
อภิปรัชญา
คือ วิชาที่ว่าด้วยความจริงสูงสุด
ญาณวิทยา
คือ วิชาที่ว่าด้วยวิธีการหาความรู้ หรือทฤษฎีความจริง
คุณวิทยา
คือ วิชาที่ว่าด้วย คุณค่า ความดี ความงามแยกเป็น 3 สาขา คือ
ตรรกวิทยา
เป็นเครื่องมือของวิชาปรัชญา เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักเหตุผล การใช้เหตุผล
ปรัชญามีประโยชน์อย่างไร ?
วิทยาศาสตร์สาขาต่าง
ๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ คณิตศาสตร์
ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา
แต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปรัชญากับวิทยาศาสตร์จึงต้องทำงานแยกจากกัน
เรารู้ว่า
วิทยาศาสตร์ช่วยทำให้เรามีชีวิตที่สะดวกสบายด้วยเครื่องอำนวยความสะดวก
และเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากมาย
แล้วงานของปรัชญาล่ะ ปรัชญาให้อะไรกับเราบ้าง ?
หลายคนอาจคิดว่า
ปรัชญาเป็นสิ่งที่ลึกลับ ล้าสมัย แต่ความเป็นจริงแล้ว ปรัชญานั้น
ไม่ล้าสมัยและสอดแทรกอยู่ในทุกสิ่งในโลก
หัวข้อข่าวและเหตุการณ์ต่าง
ๆ ในโลก ล้วนไม่พ้นคำถามในเชิงปรัชญา เพราะปัญหา ถ้าเราจะแก้ให้ตรงจุด เราต้องมองปัญหาอย่างละเอียด
ลึกซึ้ง รอบด้าน และรอบคอบ ตรงนี้เป็นวิธีการมองปัญหาของนักปรัชญาอยู่
แล้ว เรามาดูกันว่า
เหตุการณ์ที่ต้องตั้งคำถามขึ้นมานั้น มีอะไรบ้างที่เด่น ๆ
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
(Essentialism)
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
(Perennialism)
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม
(Progessivism)
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism)
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม
(Existentialism)
ความหมายของหลักสูตร
ในแวดวงนักศึกษาผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้มากมาย
โดยไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นพ้องกับความหมายใดเพียงความหมายเดียว
เพราะหลักสูตรเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาแต่อาจแบ่งกลุ่มความหมายของหลักสูตรได้เป็น
3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มความหมายที่เน้นถึงเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนรู้ 2)
กลุ่มความหมายที่เน้นความหมายสำคัญของจุดหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน และ 3)
กลุ่มความหมายที่เน้นกระบวนการที่จะพัฒนาผู้เรียน
กาญจนา คุณารักษ์(2535 :
1-4) ได้รวบรวมความหมายหลักสูตรไว้ดังนี้
1. หลักสูตร คือ
รายวิชาหรือรายการเนื้อหาที่สอนโรงเรียน
จากที่กล่าวมาแล้วสามารถสรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึงมวลประสบการณ์ความรู้ต่าง
ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม โครงการหรือแผน
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาและมีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
ความสำคัญของหลักสูตร
นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงทัศนะและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับความสำคัญของหลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างไรต่อการจัดการศึกษา
ซึ่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าหลักสูตรมีความสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนในแต่ละวัยแต่ละระดับการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกันหรือไม่
อย่างไร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้เรียนว่าควรเรียนรู้สาระการเรียนรู้อะไร
มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงใด
จาการศึกษาเอกสารพบว่ามีผู้ที่กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้โดยสรุป ดังนี้
สันต์ ธรรมบำรุง (2527 : 152)
สรุปความสำคัญของหลักสูตรไว้ 9 ประการ คือ
1. หลักสูตร
เป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้แนวทางปฏิบัติงานของครู
เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
2. หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน
อันเป็นส่วนรวมของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาชาติ
3.
หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เป็นบัญญัติของรัฐบาล
หรือเป็นธรรมนูญในการจักการศึกษา เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฏิบัติตาม
4.
หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับต่างๆ
และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่
วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ของการศึกษาของรัฐแก่สถานศึกษาอีกด้วย
5. หลักสูตรเป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา
ที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุม
ดูแลติดตามให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลด้วย
6.
หลักสูตรจะกำหนดแนงทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
7.
หลักสูตรจะกำหนดและลักษณะรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในรูปใด
8.
หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ
ความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม
อันเป็นการพัฒนากำลังซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบะสังคมแห่งชาติที่ได้ผล
9.
หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ
เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน
ประเทศใดจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย
มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงย่อมได้กำลังที่มีประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ความหมายของหลักสูตรสมบูรณ์และสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน
การประเมินผล และการปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการพัฒนาหลักสูตรได้
องค์ประกอบของหลักสูตร
โดยทั่วไปมี 4 องค์ประกอบ
1.
ความมุ่งหมาย (objectives)
คือ
เป็นเสมือนการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน
เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปในลักษณะต่าง
ๆที่พึงประสงค์อันก่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมนั้นการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรต้องคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานของสังคม
เพื่อประโยชน์ ในการแก้ปัญหา และสนองความต้องการของสังคมและผู้เรียน
และต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับนโยบายการจัดการศึกษาของชาติด้วย กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรส่วนนี้ เป็น 2 ลักษณะ คือ
“หลักการของหลักสูตร” หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการจัดการศึกษาซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการจัดการศึกษาระดับนั้น
ๆ จะได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ “จุดหมายของหลักสูตร” หมายถึง พฤติกรรมต่าง
ๆหรือคุณสมบัติต่าง ๆที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นแล้ว
2. เนื้อหาวิชา
(Content)
เป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร
เนื้อหาสาระที่ได้กำหนดไว้ต้องสมบูรณ์ ต้องผนวกความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม แนวคิด
และทัศนคติเข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งในด้านความรู้ ความทัศนคติ
และพฤติกรรมต่าง ๆ อันพึงประสงค์
3.
การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง
เพราะเป็นกิจกรรมที่จะแปลงหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติกิจกรรมนั้นมีหลายลักษณะ
แต่กิจกรรมที่สำคัญที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนการสอน หรือ อาจกล่าวได้ว่า
“การสอนเป็นหัวใจของการนำหลักสูตรไปใช้” ดังนั้น
ครูผู้สอนจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้จัดการเรียนรู้
การกำหนดวิธีการที่จะนำผู้เรียนไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร ประกอบด้วย
3.1
วิธีการจัดการเรียนรู้ การกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้หลักสูตรจะเน้นแบบยึดครูเป็นสำคัญหรือยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับปรัชญาการศึกษา หรือแนวความคิด
ความเชื่อในการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์
และขึ้นอยู่กับจุดหมายของหลักสูตรนั้นเป็นสำคัญ
สำหรับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรในปัจจุบันเน้นแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
หรือเน้น “การสอนคนมากกว่าการสอนหนังสือ” โดยมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ เช่น
กระบวนการเรียนหรือวิธีการเรียนสำคัญพอ ๆ
กับเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและครูเป็นผู้กำกับการแสดงชี้แนะแนวทาง
ผู้เรียนค้นหาความรู้ สรุป และ ตัดสินใจเอง
รูปแบบหลักสูตร
หลักสูตรแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
คือแนวความคิดหรือปรัชญาในการจัดการศึกษาแตกต่างกันจุดเน้นของความมุ่งหมายแตกต่างกัน
เป็นต้น จากหลักเกณฑ์ความแตกต่างของหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น อาจจำแนกรูปแบบของหลักสูตรได้
8 รูปแบบ ดังนี้
3.1
หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา
เป็นหลักสูตรแบบดั้งเดิมหรือหลักสูตรเก่าที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
ต้องการให้ผูเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาความรู้ต่างๆจะจัดไว้เพื่อถ่ายทอดอย่างมีระเบียบตามที่ผู้รู้ในแต่ละวิชาได้กำหนดไว้
3.2
หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา
เป็นหลักสูตรที่มีพื้นฐานมาจากหลักสูตรแบบรายวิชาเนื่องจากเมื่อนำหลักสูตรรายวิชาไปใช้การเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวิชาแตกแยกกันมากขึ้น
ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เพื่อแก้ปัญหานี้
จึงนำเนื้อหาวิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึง
และมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
3.3 หลักสูตรแบบหมวดวิชา
หรือสหสัมพันธ์
หลักสูตรลักษณะแบบนี้จุดมุ่งหมายจะผสมผสานเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
หรือสาขาเดียวกัน ให้มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชามากขึ้น ในลักษณะหมวดวิชา เช่น
หมวดวิชาสังคมศึกษา ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง
ศีลธรรม เป็นต้น
3.4
หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์
หลักสูตรลักษณะแบบนี้ต้องการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชา
ที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน หลักสูตรนี้จึงยึดเอากิจกรรม
ความสนใจและประสบการณ์แวดล้อมมาเป็นแนวทางในการจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
โดยยึดปรัชญาพิพัฒนาการเป็นแนวทางด้านการวัดผลให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนมากกว่าปริมาณความรู้ความจำ
โดยมีข้อดี คือ สนองความต้องการ
และความสนใจของผู้เรียนเป็นการเรียนอย่างมีความหมาย เป็นต้น
3.5 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
หลักสูตรนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ของ จอห์น ดิวอี้
ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ และประสบการณ์จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก เช่น
การมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมประเพณีของสังคมที่แวดล้อมอยู่โดยพยายามให้เนื้อหามีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
เป็นต้น
3.6 หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแบบนี้มีลักษณะผสมผสานเนื้อหาวิชาเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ส่งเสริมการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตของผู้เรียนของผู้เรียน
หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนเป็นความรู้หนึ่ง และส่วนที่ใช้เลือกส่วนหนึ่ง
หลักสำคัญอยู่ที่การจัดการเวลาเรียน
และการจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและขณะเดียวกันเน้นการเรียนรู้ทางวิชาการอย่างมีระบบ โดยมีข้อดี คือ
มีการผสมผสานทางด้านการเรียนรู้และเนื้อหาวิชา มีความเกี่ยวพันกับชีวิตและความสนใจของผู้เรียน
สนองความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
3.7 หลักสูตรแบบเอกัตภาพ
หลักสูตรแบบนี้จัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรไปตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล
การจัดหลักสูตรแบบนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของครูผู้สอนที่จะวิเคราะห์ความต้องการ
ระดับสติปริญญา และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
จัดการเรียนการสอนอยู่ในรูปของการจัดชุดการเรียนให้ผู้เรียนได้ศึกษาและพัฒนาความสามารถของตนไปตามลำดับ
มี ข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถได้เรียนได้ด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้คำแนะนำปรึกษา
ผู้เรียนยึดแนวการสอนที่จัดทำไว้ โดยไม่ต้องพบผู้สอนเป็นประจำ
ผู้เรียนที่มีความสามารถสูงสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มความสามารถ
แต่มีข้อจำกัดที่ว่าความสัมพันธ์ในการรวมกลุ่มมีน้อย ผู้เรียนที่
ขาดความรับผิดชอบและไม่มีความซื่อสัตย์อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ การแก้ปัญหาต่าง ๆ
กระทำได้น้อยและควรจะมาจากความคิดเห็นของกลุ่มมากกว่าคนเดียว
3.8
หลักสูตรบูรณาการ เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน
ไม่แยกเป็นรายวิชาโดยพยายามรวมประสบการณ์ต่าง ๆ
ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยจะคัดเลือกตัดตอนมาจากหลาย ๆ สาขา
แล้วมาจัดเป็นกลุ่มหมวดหมู่เพื่อให้นักเรียนได้ประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง
มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง การบูรณาการเนื้อหาวิขาต่าง ๆ
จะเน้นที่ตัวเด็กและปัญหาสังคมเป็นสำคัญการจัดการเรียนสอน
มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการ
การวัดผลจะเน้นพัฒนาการทุกด้านโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแก้ปัญหามีข้อดี คือ
ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ต่อเนื่อง
มีประโยชน์โดยตรงต่อการดำรงชีวิตเป็นหลักสูตรที่มีการผสมผสานกันอย่างดี
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า
การกำหนดรูปแบบของหลักสูตรเป็นการพิจารณาเลือกและจัดเนื้อหาวิชาของวิชาของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตร
โดยหลักสูตรแต่ละรูปแบบจะมีจุดมุ่งหมายโครงสร้างหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป
เนื่องจากการสร้างหลักสูตรแต่ละครั้ง ต่างยุคต่างสมัย จึงต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่ต่างกันด้วย
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
หลักสูตรที่ดีย่อมส่งผลดีต่อการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน
กล่าวคือ หลักสูตรที่ดีจะเป็นแนวทางให้ผู้บริหารโรงเรียนนำไปปฏิบัติได้ดี
มีประสิทธิภาพทางด้านครูสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลดีต่อผู้เรียน
หลักสูตรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ คือ
1.หลักสูตรควรมีความคล้องตัว
และสามารถปรับปรุงและยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
2.หลักสูตรควรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3.หลักสูตรควรได้รับการจัดทำหรือพัฒนาจากคณะบุคคลหลายฝ่าย
4.หลักสูตรจะต้องจัดได้ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ
5.หลักสูตรควรจะมีกิจกรรมกระบวนการและเนื้อหาสาระของเรื่องที่สอนบริบูรณ์เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนคิดเป็น
ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และพัฒนาการเรียนผู้เรียนในทุกๆด้าน
6.หลักสูตรควรบอกแนวทาง
ด้านสื่อการสอน การใช้สื่อ การวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
7.หลักสูตรควรจะมีลักษณะที่สนองความต้องการและความสนใจ
ทั้งของนักเรียนและสังคม
8.หลักสูตรควรส่งเสริมความเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนทุกด้าน
รวมทั้งส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9.หลักสูตรควรชี้แนะแนวทางกระบวนการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะและเจตคติได้ด้วยตนเอง
จากสื่อต่างๆที่อยู่รอบตัว
10.หลักสูตรควรจัดทำมาจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆอย่างรอบคอบ
11.เป็นหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื้อหาและกิจกรรมต้องเหมาะสมกับธรรมชาติ
12.เนื้อหาและประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับสภาพการดำรงชีวิตของผู้เรียน
ประสบการณ์ต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
สรุป
หลักสูตร หมายถึง
มวลประสบการณ์ความรู้ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียนซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม
โครงการหรือแผน ซึ่งประกอบด้วย ความมุ่งหมายของการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน
ให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการศึกษา
ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาของประเทศ
หรือกล่าวอีกในหนึ่งได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอน
ที่กำหนดแนวทางว่าจะสอนใคร เรื่องใด เพื่ออะไรฆฆ
สาเหตุที่ทำให้มีการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
เพื่อให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้น สมบูรณ์ สามารถสนองความต้องการของบุคคล
และสังคม พื้นฐานด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องนำมาพิจารณานั้นมีหลายประการ
ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ
ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้าน ดังนี้
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
2. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
3. พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4. พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
5. พื้นฐานทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (Taba)
ได้กล่าวถึง
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้
7 ขั้นตอน ดังนี้
1. วินิจฉัยความต้องการ : สำรวจสภาพปัญหา
ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย :
หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
3. คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จุดมุ่งหมายที่กำหนด
แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย
ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
4. จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้
ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ
และความสนใจของผู้เรียน
5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ :
ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง
7. กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล :
ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง
6 ขั้นดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ
ข้อมูลทางด้านความต้องการ ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ
การเมืองและการปกครอง ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา
ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม
เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
2.
การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน
โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ
มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา
ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ
ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
3. การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ
ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้
จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง
ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง
แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม
ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
4. การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ
มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน
และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร
ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ
ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร
ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
5. การประเมินผลหลักสูตร
เป็นการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรว่าเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วนั้น ผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ
ไปแล้ว มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้
การประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น
อันเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การประเมินหลักสูตรควรทำให้ครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมด
และควรจะประเมินให้ต่อเนื่องกัน ดังนั้นการประเมินหลักสูตร
จึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้ คือ
5.1
การประเมินเอกสาร หลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมดี
และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด
หากมีสิ่งใดบกพร่องก็จะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะได้นำไปประกาศใช้ในโอกาสต่อไป
5.2
การประเมินการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตร
สามารถนำไปใช้ได้ดีในสถานการณ์จริงเพียงใด
มีส่วนไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตร โดยมากหากพบข้อบกพร่องในระหว่างการใช้หลักสูตรก็มักได้รับการแก้ไขโดยทันที
เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3
การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร
โดยทั่วไปจะดำเนินการหลังจากได้มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรไปแล้ว
การประเมินหลักสูตร ในลักษณะนี้มักจะทำการติดตามความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเพียงใด
5.4 การประเมินระบบหลักสูตร
เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อนมาก กล่าวคือ
การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้
ความสัมพันธ์ของระบบหลักสูตร กับระบบบริหาร โรงเรียน ระบบการจัดการเรียนการสอน
และระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น
6. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านกระบวนการประเมินผลหลักสูตรแล้ว ซึ่งเมื่อมีการใช้หลักสูตรไประยะหนึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมและสังคม
จนทำให้หลักสูตรขาดความเหมาะสม
จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใหม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาหลักสูตรจะต้องใช้เวลาเป็นปีขึ้นไป ในการเตรียมการ
และการดำเนินงานจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณมากพอสมควร
เพื่อจะให้ได้หลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลในการพัฒนาเยาวชนของชาติต่อไป
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้
มีดังนี้
1. ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอน
ของครูตามแนวหลักสูตร
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานหน้าที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6. ผู้บริหารต่าง
ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
วิธีการการพัฒนาหลักสูตร
มี 5 วิธีการ
1. การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2. การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3. การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4.การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5.
การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
การนำหลักสูตรไปใช้ Curriculum Implementation
การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์
จุดหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา
และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
มีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนตอนใดๆทั้งหมด
เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร
ถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม
ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ถ้าหากว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ
ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้
จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้
จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุกประการ
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ความหมายของคำว่า
การนำหลักสูตรไปใช้มีแตกต่างกันออกไป
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย
คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)
ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า
การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด
คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น
พอสรุปได้ว่า
การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง
การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคาร สถานที่
วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนComments
You do not have permission to add comments.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น