Personal Summary and Reflection
วิชา 219 730 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร วันที่ 23 สิงหาคม 2551
นางสาวศุภธิดา ศรีพงษ์วิวัฒน์ รหัสประจำตัว 517050028-3
สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน ระดับปริญญาเอก โครงการพิเศษ
|
1. Understanding
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดหมายของหลักสูตร
เนื้อหาวิชาและประสบการณ์การเรียนรู้ที่คัดสรรอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน หลังจากได้ร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยและนำหลักสูตรไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน
McNeil (1981 : 80 – 81 อ้างถึงในสงัด อุทรานันท์ ,
2528 : 259 – 260) ได้จำแนกประเภทของหลักสูตรโดยพิจารณาจากตั้งแต่เริ่มร่างหลักสูตรจนถึงระดับสุดท้ายเป็น
1. หลักสูตรระดับอุดมการณ์ (Ideal
Curriculum)
หมายถึงหลักสูตรในทัศนะของคณะกรรมการผู้ยกร่างหลักสูตร
ซึ่งผู้ร่างหลักสูตรจะพยายามถ่ายทอดความคิดของตนเองไปสู่หลักสูตรที่ร่าง
เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่ผู้ร่างหลักสูตรต้องการ
2. หลักสูตรระดับเอกสาร (Formal
Curriculum)
หมายถึงหลักสูตรที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงเอกสารหลักสูตร คู่มือครู
ตำราต่างๆ สิ่งต่างๆ เหล่านนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่จะนำไปสอนนักเรียน
3. หลักสูตรระดับการรับรู้ (Perceived
Curriculum) หมายถึงหลักสูตรในสายตาของครูผู้ใช้หลักสูตร
เป็นระดับของการนำหลักสูตรไปใช้
ถ้าครูผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของผู้ร่างหลักสูตร จำสามารถนำหลักสูตรไปใช้ตรงตามอุดมการณ์ของ ผู้ร่างหลักสูตร
4. หลักสูตรระดับปฏิบัติการ (Operational
Curriculum)
หมายถึงหลักสูตรที่ครูนำไปใช้สอนจริงในห้องเรียน
เป็นหลักสูตรที่นำไปใช้ในสถานการณ์จริง
5. หลักสูตรระดับประสบการณ์ (Experiental
Curriculum)
หมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากหลักสูตรโดยตรง ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถรับรู้ได้เท่าใดก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ได้จากหลักสูตรนั้นๆ โดยตรง
ผู้เรียนแต่ละคนอาจจะรับรู้หลักสูตรเดียวกันโดยครูคนเดียวกัน
ในเวลาเดียวกันได้แตกต่างกัน ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจริงถือว่าเป็นจุดหมายปลายทางของหลักสูตร
สงัด อุทรานันท์ (2528 : 261) ได้จำแนกผู้ใช้หลักสูตรออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. หน่วยงานส่วนกลาง
เป็นหน่วยงานหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นนำไปใช้
2.
หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
หมายถึง หน่วยงานที่นำหลักสูตรที่สร้างขึ้นไปสู่การเรียนการสอน
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
ซึ่งสามารถสรุปความหมายของการนำไปหลักสูตรไปใช้ คือ
การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง
การดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ในอันที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคารสถานที่
วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย นับแต่ผู้บริหารระดับกระทรวง กรม
กอง ผู้บริหารระดับโรงเรียน ครูผู้สอน
ศึกษานิเทศก์ และบุคคลอื่น ๆ
ขอบเขตและงานของการนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็นสิ่งที่ต้องอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
โดยสามารถสรุปขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
1.
ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
3.
ขั้นติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การเตรียมการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรที่สร้างขึ้นไปใช้นับว่าเป็นการนำนวัตกรรมใหม่ๆ
ไปใช้ จึงมีความจำเป็นต้องมั่นใจได้ว่า
สิ่งที่จะนำไปใช้ต้องมีความพร้อมและสมบูรณ์เพียงพอ สามารถทำได้ดังนี้
1. การประเมินหลักสูตรแม่บทก่อนนำไปใช้/การตรวจสอบลักษณะหลักสูตรเพื่อดูความชัดเจนของหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องทบทวนองค์ประกอบของหลักสูตรทั้งหมดตั้งแต่ จุดหมาย จุดประสงค์
รูปแบบ โครงร้าง เนื้อหา ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้
สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาว่าองค์ประกอบเหล่านั้นเหมาะสมกับสภาพหรือความต้องการของท้องถิ่นที่จะนำหลักสูตรไปใช้หรือไม่
ในการตรวจสอบองค์ประกอบของหลักสูตรผู้ประเมินควรมีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารพัฒนาหลักสูตรที่ผู้ทำหลักสูตรจัดทำขึ้นเช่นรายงานการประชุม
บทความเอกสาร รายงานการประเมิน ฯลฯ
หรืออาจศึกษาหลักสูตรของประเทศใกล้เคียงเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบ
2. การประเมินผลความพร้อมของผู้เรียน
ผู้สอนและชุมชน จุดประสงค์ของการประเมินเพื่อทราบข้อมูลของผู้นำหลักสูตรไปใช้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพร้อมและเต็มใจที่จะรับ
วิธีการประเมินอาจใช้การสนทนา การสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม การทดสอบ
-
ความพร้อมผู้เรียนอาจตรวจสอบจากผลการเรียน การสนทนา สัมภาษณ์ การทดสอบ
-
ความพร้อมของครู พิจารณาจากพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์การปฏิบัติการสอนของครู
-
ความพร้อมของโรงเรียน เช่นระบบบริหาร วิธีการจัดการเรียนการสอน วัสดุ
อุปกรณ์
-
ความพร้อมของผู้ปกครอง ชุมชน เช่นความพึงพอใจของผู้ปกครอง ชุมชนต่อโรงเรียน
การยอมรับของชุมชนต่อหลักสูตร
3. การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรย่อมส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารการศึกษา
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน
ผู้ปกครอง ชุมชน เนื่องจากการหลักสูตรไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้อง
เรียนเท่านั้น
แต่ยังเกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้
อาคารสถานที่ งบประมาณ
จึงจำเป็นที่ต้องแจ้งข้อมูลให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ
โดยการประชาสัมพันธ์ควรเริ่มตั้งแต่ที่มีแผนที่จะปรับปรุงหลักสูตร
และประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นระยะๆ จนถึงเมื่อมีการใช้หลักสูตรจริง
รูปแบบการประชาสัมพันธ์หลักสูตรได้แก่ การใช้เอกสารสิ่งพิมพ์
การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนเช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
4. การเตรียมบุคลากร
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรได้แก่
4.1 การเตรียมครูผู้สอน
ครูผู้สอนถือว่าเป็นผู้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นผู้นำเอาหลักสูตรไปใช้ในห้องเรียน
โดยต้องเตรียมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร ทักษะการใช้หลักสูตร
เจตคติที่มีต่อหลักสูตร จุดหมายหลักการของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร
ทักษะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การสอน การปกครองชั้นเรียน การประเมินผลการเรียนรู้
โดยสิ่งที่สำคัญคือทักษะในการสอนของครู
โดยครูต้องทราบทักษะที่จำเป็นในการสอนและสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการสอน
4.2 การเตรียมศึกษานิเทศก์และนักแนะแนวการศึกษา
ซึ่งบุคคลทั้ง 2
กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ให้คำแนะนำครูและบุคลากรในสถานศึกษา
โดยศึกษานิเทศก์และนักแนะแนวการศึกษาต้องทราบนโยบาย จุดมุ่งหมายของการศึกษา
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรตลอดจนองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องและต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้จะมีผลต่อการนิเทศและการแนะแนวอย่างไร
จะปรับปรุงแผนการดำเนินงานอย่างไร
4.3 การเตรียมผู้บริหาร ซึ่งหมายถึง ผู้บริหารทุกระดับ
โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนจะต้องรับทราบนโยบายเป็นอย่างดี
และจะต้องสำรวจให้ทราบถึงสภาพและปัญหาของโรงเรียนและสถานศึกษาในความดูแลของตน เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้อง ผู้บริหารโรงเรียน จะเป็นผู้ที่คอยควบคุมกำกับแนะนำ และส่งเสริมครูให้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
5.
การเตรียมวัสดุ
อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่ หลักสูตรใหม่ย่อมต้องการสิ่งใหม่ ๆ
หลายอย่าง
ดังนั้นจะต้องมีการจัดหาไว้ให้พร้อมถ้าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงอาคารสถานที่ก็จะต้องมีการวางแผน และดำเนินการ
6.
การเตรียมระบบบริหารสถานศึกษา
ระบบบริหารตลอดจนระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีใช้อยู่นั้น ควรจะมีส่วนช่วยให้หลักสูตรมีความคล่องตัว ถ้าไม่คล่องตัวมีอะไรติดขัดก็ควรแก้ไขเสีย
7. การเตรียมงบประมาณ ค่าใช้จ่าย
ควรมีการวางแผนการใช้งบประมาณอย่างรอบคอบและใช้หลักวิชา ควรใช้เงินให้มีประโยชน์สูงสุด ประหยัด
และมีประสิทธิภาพ
8.
การเตรียมชุมชนและสังคม
เมื่อนำหลักสูตรมาใช้ทางโรงเรียนจะต้องร่วมมือกับชุมชนในโครงการต่าง ๆ
ดังนั้นการได้รับความร่วมมือกับชุมชนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นจึงควรมีการประชาสัมพันธ์ได้รับทราบเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของหลักสูตร
การวางแผนนำหลักสูตรใหม่เข้าแทนที่หลักสูตรเดิม มีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่ 3 ประการคือ
1.
การดำเนินการเปลี่ยนแปลงต้องให้เสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.
ต้องให้ผู้ที่เรียนหลักสูตรเดิมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
3.
ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรเดิม
จากประเด็นการนำหลักสูตรไปใช้ดังได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด
สามารถสรุปเป็นหลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้
ทั้งนี้บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์
ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อ
ให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกัน
และสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2. จะต้องมีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดีในแต่ละขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้
3.
การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ เป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้
4.
การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นก็คือ งบประมาณ
วัสดุอุปกรณ์ เอกสารหลักสูตรต่างๆ
ตลอดจนสถานที่ต่างๆ
ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์
สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการจัดเตรียม
และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
5.
ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง เริ่มตั้งแต่การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น การให้การสนับสนุนด้านปัจจัยต่าง ๆ แก่ครู
ได้แก่
การติดตามประเมินผลการปฏิบัติการสอนของครูอย่างเป็นระบบ และการพัฒนาตัวครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน
6.
การนำหลักสูตรไปใช้
ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู โดยทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
7.
หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่น
ต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถในส่วนที่รับผิดชอบ
8. การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทุกหน่วยงานจะต้องมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ
มาประเมิน วิเคราะห์ เพื่อพัฒนา
ปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงและการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
2. Reflection
จากการศึกษาเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้ ทำให้ได้ทราบว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายตั้งแต่ระดับกระทรวงถึงสถานศึกษา
แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น
หน่วยงานส่วนกลาง
เกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริการ
หลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร ผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริการหลักสูตร การจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ภายในสถานศึกษา ครูผู้สอน
เกี่ยวข้องในด้านการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรในการนำหลักสูตรไปใช้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในขั้นตอนนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลาย
ๆ ฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
บรรยากาศในห้องเรียน ผู้เรียนได้มีการอภิปรายร่วมกัน ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง และประเด็นปัญหาจากประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคน
29.ข้อสอบครู ชุดที่ 5
1. การจัดการศึกษาต้องมีคุณภาพหมายถึงข้อใด
ก.
มีกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ข.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูง
ค.
มีการนำหลักสูตรไปใช้
ง.
มีการใช้สื่อประกอบการสอน
2. การวัดและการประเมินผลมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด
ก.
การปรับปรุงการเรียนการสอน
ข. ตัดสินผลการเรียนการสอน
ค.
ตรวจสอบพัฒนาการตามจุดประสงค์
ง.
ปรับปรุงการเรียนการสอนและตัดสินผลการเรียน
3. การจะดำเนินการนิเทศการศึกษาให้ได้ผลเลิศต้องคำนึงถึงสิ่งใดเป็นที่สุด
ก.
บรรยากาศและการร่วมมือในการนิเทศ
ข.
กลุ่มบุคคลและงานที่จะนิเทศ
ค.
จุดมุ่งหมายและเป้าหมาย
ง.
เทคนิคและการจัดกิจกรรมการนิเทศ
4. สิ่งใดที่ครูผู้สอนควรยึดเป็นหลักสำคัญที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ก. หลักสูตร
ข. แผนการสอน
ค. จุดประสงค์
ง. เทคนิคการสอน
5. หลักสูตรท้องถิ่นหมายถึงข้อใด
ก.
ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน
ข. ท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดหลักสูตรแกน
ค.
ท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
ง.
ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
6. ทำไมต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา
ก.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
ข.
เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีความคล้ายคลึงกันด้านการศึกษา
ค.
เพื่อเตรียมรับการประเมินภายนอก
ง.
เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
7. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้
ก.
การจัดการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นที่ตั้ง
ข.
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา
ค.
การจัดการเรียนรู้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ง. ถูกทุกข้อ
8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
ก.
การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง
ข.
การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
ค.
การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น
ง.
การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
9. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด
เริ่มใช้ในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรตั้งแต่
ปีการศึกษาใดเป็นต้นไป
ก. 2545
ข. 2546
ค. 2547
ง. 2548
10. จัดให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กข้อความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
หลักสูตรปฐมวัย
ก. หลักการ
ข. จุดมุ่งหมาย
ค. เนื้อหาสาระ
ง.
แนวทางการจัดประสบการณ์
11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาการตามหลักสูตรปฐมวัย
ก.
ประเมินพัฒนาการให้ครบทุกด้าน
ข.
ประเมินเป็นรายบุคคลสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ค.
การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในตาราง
ง. ถูกทุกข้อ
12. ไม่ใช่กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. กลุ่ม
สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ข. กลุ่มคณิตศาสตร์
ค. กลุ่มวิทยาศาสตร์
ง. กลุ่มการงานอาชีพ
13. ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามข้อใด
ก. หลักการ
ข. จุดมุ่งหมาย
ค. โครงสร้าง
ง. สาเหตุการปรับปรุงหลักสูตร
14. ข้อใดไม่ใช่เอกสารหลักสูตร
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. คู่มือครู
ข. แผนการสอน
ค.
หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ง.
แผนปฏิบัติงานวิชาการ
15. ภาษาอังกฤษเริ่มกำหนดให้เรียนในระดับชั้นใดเป็นต้นไป
ก. ป. 1-2
ข. ป. 3-4
ค. ป. 5-6
ง. ทุกชั้นต้องเรียน
16. กระบวนการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นเรื่องใด
ก.
วัดความสามารถในการใช้ภาษา
ข.
วัดพัฒนาการทางภาษาของผู้เรียน
ค.
มีข้อทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถในการใช้ภาษา
ง. ถูกทุกข้อ
17.ไม่กล่าวไว้ในโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ช่วงชั้น
ข.
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ค. ช่วงเวลาเรียน
ง.
กิจกรรมพัฒนาผุ้เรียน
18. " สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน"
เป็นลักษณะการพัฒนาผู้เรียนตามข้อใด
ก. พัฒนาด้านปัญญา
ข.
พัฒนาด้านความรู้สึก
ค. พัฒนาด้านทัศนคติ
ง. พัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติ
19. ข้อใดเป็นหลักการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ก.
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
ข.
ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ค.
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง
ตามธรรมชาติและตามศักยภาพ
ง. ถูกทุกข้อ
20. "นักเรียนมีโอกาสกำหนดผลการเรียนรู้ร่าวมและวางแผนประเมินผลการเรียนรู้"
เป็นลักษณะของการเรียนรู้ตามข้อใด
ก.
การเรียนรู้ที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
ข.
การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
ค.
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ง.
การเรียนรู้แบบองค์รวม
21. วิธีการเรียนรู้ตามกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้
มีกี่ลักษณะ
ก. 3 ลักษณะ
ข. 4 ลักษณะ
ค. 5 ลักษณะ
ง. หลายลักษณะ
22. เป็นแหล่งรวบรวมผลงานหรือหลักฐานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนหมายถึงข้อใด
ก.
การสำรวจเด็กรายบุคคล
ข.
การเรียนรู้บูรณาการ
ค. โครงสร้าง
ง. แฟ้มสะสมงาน
23. ข้อใดไม่ใช่ตัวแปรของการวิจัย
ก. ตัวแปรต้น
ข. ตัวแปรตาม
ค. ตัวแปรซับซ้อน
ง. ตัวแปรสอดแทรก
24. ขั้นตอนแรกของการวิจัยคือข้อใด
ก. การกำหนดปัญหา
ข.
ศึกษาทฤษฎีหลักการ
ค. ตั้งสมมติฐาน
ง. สรุปผล
25. ความแตกต่างของคะแนนสูงสุดกับต่ำสุดคือข้อใด
ก. มัธยฐาน
ข. ฐานนิยม
ค. พิสัย
ง. อันตรภาคชั้น
26. ข้อใดเป็นความสำคัญของการวิจัยในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
ก. ข้อมูลตัดสินใจ
ข. พัฒนาการ
ค. แก้ปัญหาหน่วยงาน
ง. ป้องกันปัญหา
27. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของสื่อการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.
สื่อแหล่งเรียนรู้
ข. สื่อวัสดุ
ครุภัณฑ์
ค.
สื่อที่ผู้เรียนและผู้สอนจัดทำขึ้น
ง. สื่อธรรมชาติ
สื่อสิ่งพิพม์และสื่อเทคโนโลยี
28. ข้อใดสื่อประเภทวัสดุ หรือซอฟต์แวร์
ก. เครื่องฉายสไลด์
ข. เครื่องวีดีโอ
ค. เทปเสียง
ง. ไม่มีข้อถูก
29. การเลือกสื่อการเรียนการสอนตามหลักการแล้วข้อใดสำคัญที่สุด
ก. ประสิทธิภาพ
ข. ประสิทธิผล
ค. ประหยัด
ง. คุ้มค่า
30. เอกสารการประเมินผลตามหลักสูตรการศึกาาขั้นพื้นฐาน
ก. รบ. 2 ต
ข. รบ. 3 ต
ค. รบ. 4 ต
. ปพ. 9
เฉลย
สอบครูดอทคอมชุดที่ 5
1. ข 2.ง 3. ค 4. ค 5. ค 6.ข 7. ง 8.ก 9. ก 10.ง 11.ง 12.ก 13.ง 14.ง 15.ก
16. ง 17. ค 18.ก 19. ง 20.ค 21.ง 22.ง 23.ค 24.ก 25.ค 26.ก 27.ข 28.ง 29.ก 30.ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น