วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ท้องถิ่น



การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่เกี่ยวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6.หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
        - หน่วยผลิตชุดการสอน
        - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
       - หน่วยนิเทศและประสานงาน
       - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
       - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
การใช้หลักสูตรในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
 เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น  แยกได้ 4 ประเภท คือ
1. เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2. เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบเพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3. เนื้อหที่เดกียวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4. เนื้อหาที่เกียวกับนโยบายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
      1.สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น

        ตัวอย่าง : จังหวัดสมุทรปราการ
1.จุดเด่นของจังหวัดสมุทรปราการที่จะนำมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้

1)ภูมิศาสตร์   จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง

2)ประวัติศาสตร์   ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของ แม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้นและเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกากล่าวว่าออกเรือจาก เมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากดแสดงว่าที่นั่นคงมีผู้คนอาศัย อยู่มากอาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมาเมื่อ กรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกรวม 6 ป้อมและใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร
        
           3.) ศาสนา มีศาสนาที่สำคัญ คือ ศาสนาพุทธ คริสต์ ที่ทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

4.) สถานที่ท่องเที่ยว
จังหวัดสมุทรปราการ หรือที่เราเรียกกันว่า เมืองปากน้ำ .. จังหวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา มีความสำคัญเพราะเป็นเมือง ปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 29 กิโลเท่านั้น ซึ่งที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจซ่อนตัวอยู่หลายที่เลยล่ะ ทั้งธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว และอาหารการกิน มีเวลาวันเดียวก็เที่ยวได้ แถมเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
1. บางกระเจ้า


             บางกระเจ้า หรือ เกาะสีเขียว ที่มีพื้นที่มาก ถึง 11,000 ไร่ โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา จนได้รับการยกย่องให้เป็นปอดของกรุงเทพ และ Best Urban Oasis of Asia จากนิตยสารไทม์ โดยนักท่องเที่ยวสามารถข้ามเกาะไปปั่นจักรยาน ดูนก ดูป่าชายเลน และสัมผัสกับอาการบริสุทธิ์ได้

2. สถานตากอากาศบางปู



           สถานตากอากาศบางปูนั้น เป็นบริเวณที่เป็นป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ ที่มีการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และแหล่งอาศัยของนกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนกนางนวล ที่อพยพหนีหนาวจากไซบีเรียมาในช่วงต้นฤดูหนาวของทุกปี โดยมีจำนวนนกไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัวในแต่ละปี และมีจำนวนนกกว่า 200 ชนิดที่อาศัยอยู่ ณ ที่นี่

3. เมืองโบราณ สมุทรปราการ





             สถานที่ท่องเที่ยวที่จะพาเราย้อนกลับไปในอดีต ภายในมีเมืองโบราณจำลอง ได้เราได้เรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิตการเป็นอยู่ของคนในสมัยก่อน รวมไปถึงมีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำอีกมากมาย ทั้ง ตลาดน้ำ นั่งรถราง ไหว้พระ ปั่นจักรยาน เป็นต้น

4. พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (The Erawan Museum)




           พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาศิลปวัตถุมรดกทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ เพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทย เรียนรู้ศิลปะและศาสนา ที่ส่งเสริมให้คนในสังคม สมัยใหม่ได้รู้จักหลักแห่งศาสนาทั้ง ๔ ด้วยเจตนารมณ์และอุดมคติของ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ซึ่งต้องการถ่ายทอดและปลูกฝังด้วยจิตวิญญาณของนักปราชญ์ เพื่อให้มนุษย์ร่วมโลกได้ มีโอกาสเข้าถึงศิลปะและศาสนา อันเป็นรากฐานของอารยธรรม


5. บางกอก ทรี เฮ้าส์    (Bangkok Tree House)



           ที่พักแนว Eco ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม และทำให้เราได้อยู่กับบรรยากาศที่เงียบสงบและใกล้ชิดธรรมชาติสุดๆ ใครจะคิด ว่ามีที่พักแบบนี้อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ด้วย การตกแต่งของที่นี่จะมาจากธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ไผ่แทบทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ก็ออกแนวออร์แกนิค รวมไปถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยทดแทนบางส่วน
นอกจากจะเป็นที่พักแล้ว ที่ตั้งของ บางกอก ทรี เฮ้าส์ ยังอยู่ไม่ไกลจากบางกระเจ้า เราสามารถปั่นจักรยานมาทานของอร่อยๆ ที่นี่ได้ เปิดให้บริการร้านอาหาร เปิดเฉพาะวันศุกร์ วันอาทิตย์  เวลา 10.00 – 22.00 น. อาหารมีหลากหลาย รวมไปถึงมีอาหารแบบออร์แกนิคด้วย


6. ไมอามี่ บาซาร์ บางปู




           เป็นอาณาจักรความสุข ไลฟ์สไตล์มอลล์ ความสนุกครบวงจรแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในย่านบางปู บนเนื้อที่กว่า 35 ไร่ ตอบรับทุกรูปแบบการใช้ชีวิตทั้งร้านอาหาร ร้านนั่งเล่นชื่อดัง ให้คุณสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อนแบบสบายๆ พร้อมทั้งร้านค้าแฟชั่นสุดทันสมัย และซูเปอร์มาร์เก็ต 24 ชั่วโมง ให้คุณช้อปปิ้งได้อย่างเพลิดเพลินตลอดวัน


7. ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ



ภาพจาก Tatiana Morozova / Shutterstock.com 


          ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณถนนท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันถือเป็นฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2493 ภายในมีการจัดเพาะเลี้ยงจระเข้ในขนาดต่าง ๆ กว่า 6 หมื่นตัว โดยจะมีการแสดงโชว์ทุกวัน ตั้งแต่โชว์จระเข้, การแสดงวิธีจับจระเข้ด้วยมือเปล่า ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยรอบการแสดงจะมีทุก ๆ 1 ชั่วโมง ส่วนวันหยุดจะมีการเพิ่มรอบระหว่าง 12.00 น. ถึง 17.00 น.
      
 นอกจากจระเข้แล้วยังมีสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น เสือ, ลิงชิมแปนซี, ชะนี, เต่า, งู, อูฐ, ฮิปโปโปเตมัส, กวาง และปลาจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการจำลองการจัดแสดงกระดูกและหุ่นจำลองไดโนเสาร์ พร้อมการฉายวีดิทัศน์ เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ดึกดำบรรพ เป็นต้น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2703 4891, 0 2703 5144-8 หรือเว็บไซต์ worldcrocodile.com



 8. พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ




          พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ ตั้งอยู่ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ทุกประเภทที่ใช้ในกิจการกองทัพเรือ รวมถึงเรือรบจำลองของไทยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเรือดำน้ำรุ่นแรกและรุ่นเดียวของราชนาวีไทยอีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นที่รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวัตถุพิพิธภัณฑ์สมัยโบราณของกองทัพเรือไทย ยุทธนาวีการรบครั้งสำคัญ ๆ ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ที่เคยใช้ในการรบเป็นจำนวนมาก

          นอก จากนี้ยังมีเรือจำลองสมัยต่าง ๆ เช่น เรือที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 5 เรือหลวงพระร่วง เรือเหรา และเรือหลวงมัจฉานุ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำรุ่นแรกของกองทัพเรือไทย ซึ่งจัดแสดงบางส่วนถูกเก็บรักษาไว้ ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ โดยภายในแบ่งการเข้าชมสถานที่ออกเป็น 2 แบบ คือเข้าชมเป็นรายบุคคลและหมู่คณะ ซึ่งต้องทำแบบฟอร์มขอเข้าชมตามวันและเวลาที่กำหนด ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2475 3808 , 0 2394 1997 หรือ
เฟซบุ๊ก พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ สมุทรปราการ



9. วัดอโศการาม



ภาพจาก reyphoto / Shutterstock.com
          วัดอโศการาม ตั้งอยู่ภายในซอยเทศบาลบางปู 60 ถนนสุขุมวิท (กม.31) ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2503 มีสิ่งที่น่าชมภายในวัดมีสถานที่สำคัญคือ "พระธุตังคเจดีย์" (เจดีย์ 13 องค์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่ง "ธุดงควัตร 13 ข้อ" อนุสาวรีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งหลวงพ่อลีได้นำพระนามของพระองค์มาเป็นชื่อวัด โดยแต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้น ส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน

          สถาน ที่ท่องเที่ยวภายในบริเวณวัดอีกหนึ่งสถานที่คือ "ป่าชายเลน" ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของวัด ซึ่งมีนกและปลาอาศัยอยู่มาก และมีต้นไม้ที่หายากคือ "ต้นลำพู" สามารถพบเห็นได้ตามทาง บรรยากาศโดยทั่วไปร่มรื่น เหมาะที่จะพาครอบครัวไปทำบุญที่วัดและเดินเล่นชมธรรมชาติของป่าชายเลนที่ สมบูรณ์ยิ่งนัก ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2389 2299 หรือเว็บไซต์
watasokaram.org และ เฟซบุ๊ก วัดอโศการาม สมุทรปราการ

5.) สัญลักษณ์ประจำจังหวัด :
·       อักษรย่อ: จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป
·       ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta)
·       สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาสลิด (Trichopodus pectoralis)
·       คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

6.) ประเพณีประจำจังหวัด   :
·       งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 12 วัน 12 คืน
·       งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด จัดที่พระประแดงในวันอาทิตย์แรกหลังจากงานงานสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายนผ่านไปแล้ว
·       ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว
·       ประเพณีแห่หลวงปู่ปาน
2. นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น

สาระการเรียนรู้
เนื้อหาท้องถิ่น
1.ภาษาไทย
ภาษาถิ่นกลาง
2.คณิตศาสตร์
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หาด เกาะ ดินฟ้าอากาศ ที่ ทำกิน อาชีพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
3.วิทยาศาสตร์  
การทำงานโรงงานอุตสาหกรรม
4.สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม   
วัฒนธรรมของคน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจสังคม
5.สุขศึกษา พละศึกษา
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการ
งานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ
7.การงานอาชีพ และเทคโนโลยี   
เน้นอาชีพคนสมุทรปราการ การประมง อุตสาหกรรม
8.ภาษาต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ


3.นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
ก.) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เรื่องตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา
ข.) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น วัฒนธรรมของจตังหวัดสมุทรปราการมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
ค.) ใช้เป็นโครงงานให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
ง.) ใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
จ.) ใช้เป็นประเด็นให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น ประเพณีจังหวัดสมุทรปราการมีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการอนุรักษ์อย่างไร
ฉ.) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร           ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดใ...