การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร
เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ
ในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ
แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น
หน่วยงานส่วนกลาง เกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริการหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
ผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริการหลักสูตร
การจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในสถานศึกษา ครูผู้สอน
เกี่ยวข้องในด้านการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรใน การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ขั้นต่อมาคือดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ
นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร
การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้
และการดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้
นับแต่นิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผล การใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้
ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย
และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย
และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
ทำให้การให้ความหมายของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้แตกต่างกันออกไป
นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือให้คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,
1975 : 164) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า
การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญที่สุดคือ การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้พัฒนาการเรียนการสอน
สันต์ ธรรมบำรุง (2527:120)
กล่าวว่า
การนำหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติบังเกิดผล
และรวมถึงการบริหารงานด้วยวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา (Chandra,
1977 : 1)
ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน
เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอบแบบเรียนและทรัพยากรต่างๆ
ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน
โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
รายงานการประชุมทางวิชาการเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรของประเทศในภูมิภาค (APEID,
1977 : 3) กล่าวว่า
การนำหลักสูตรไปใช้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตรไปจนถึงการอบรมครูผู้สอนให้เป็นผู้มีสมรรถนะที่จำเป็น
พร้อมที่จะนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ธำรง บัวศรี (2514 : 165) กล่าวว่า
การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนสำหรับสอนเป็นประจำทุกๆ วัน
สุมิตร คุณากร (2520 : 130)
กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการที่ทำให้หลักสูตรกลายเป็นการปฏิบัติจริง
และเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและมีกิจกรรมที่จะกระทำได้ 3 ประการ
คือ
1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
2. การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆ
ภายในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร
3. การสอนของครู
จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น พอสรุปได้ว่า การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง
การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ
ในอันที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม
และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
ทำให้การให้ความหมายของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้แตกต่างกันออกไป
นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือให้คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้
ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปใช้
หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด
คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ
ธรรมบำรุง (2527.120)กล่าวว่า
การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา (Chandra,
1977:1)
ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน
เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน
โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น